ศัลยกรรมทำตาชั้นเดียว
ในปัจจุบันตาชั้นเดียวเป็นที่นิยมกันมากขึ้น จนมีผู้ที่มีตา 2 ชั้น ต้องการผ่าตัดเป็นตาชั้นเดียวกันมากขึ้น โดยทั่วๆไปเทคนิคและวิธีการจะเป็นกลุ่มเดียวกับกลุ่มตกแต่งเปลือกตาบน แต่มีจุดมุ่งหมายที่ต่างกันคือการผ่าตัดทำตาชั้นเดียวมีจุดมุ่งหมายให้ชั้นตาเล็กที่สุด
โดยทั่วไปคนที่มีตา 2 ชั้นที่ชั้นตาโต มักมีไขมันในชั้นใต้กล้ามเนื้อและในหนังตาน้อยกว่าปกติ การผ่าตัดเพื่อให้ตามีชั้นเดียวอาจต้องเพิ่มปริมาณไขมันเหนือชั้นตา โดยอาจย้ายไขมันและผิวหนังจากรักแร้หรือหน้าท้องหรือฉีดไขมัน ก่อนการผ่าตัดแก้ไขชั้นตาโดยทั่วไปในคนที่ตาไม่ลึกมากการผ่าตัดเพื่อเป็นตาชั้นเดียว มีเทคนิคที่ต้องปรึกษาคือ
1. ลดชั้นตาลงโดยกำหนดชั้นตาใหม่ว่าเล็กแค่ไหน โดยทั่วไปอาจต้องดูเป็นรายๆไป เพราะในบางคนก็ชั้นตาโตมาก อาจลดขนาดให้เล็กมากไม่ได้
2. เพิ่มความหนาของผิวหนังเหนือชั้นตา โดยโยกย้ายไขมันและกล้ามเนื้อมาช่วยเสริม ถ้าใช้กล้ามเนื้อบริเวณรอบเปลือกตาไม่เพียงพออาจต้องใช้ผิวหนังและไขมันจากบริเวณอื่นมาเพิ่ม
3. ป้องกันการเกิดชั้นเดิมที่สูงให้หายไป
การปรึกษาก่อนการผ่าตัดมีความสำคัญที่สุดในการทำตาชั้นเดียว โดยทั่วไปจะต้องดูขนาดของตาที่ต้องการและเทคนิคการผ่าตัดว่าสามารถจะลดชั้นตาได้ตามที่ต้องการหรือไม่
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
สารบัญ
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาบางอย่างซึ่งอาจทำให้เลือดหยุดช้า เช่น แอสไพริน บรูโรเฟน พอนสแตน ถ้ากินยาควรหยุดยาประมาณ 10-14 วัน
- สมุนไพรและอาหารบางชนิด เช่น อาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรส กระเทียม หัวหอม ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง อาจทำให้เลือดออกมากผิดปกติหรือมีปัญหาระหว่างผ่าตัด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพราะอาจต้องหยุดรับประทานสมุนไพรก่อนเข้ารับการผ่าตัดประมณ 3-5 วัน และวิตามินอาหารเสริมต่างๆ เช่น วิตามินซี อีฟนิ่งพริมโรส กลูต้า คลอลาเจน และอื่นๆ ควรหยุดทานอย่างน้อย 10-14 วันก่อนการผ่าตัด
- ควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงโรคประจำตัวของคุณ เช่น เบาหวาน ความดัน โรคหัวใจ และยาที่แพ้ เช่น เพนนิซิลิน ซัลฟา
- ควรนำแว่นตากันแแดดไปด้วย เพื่อใช้อำพรางดวงตาหลังการผ่าตัด และป้องกันฝุ่นละออง ควรมีผู้ขับรถให้ เพราะหลังการผ่าตัดจะยังใช้สายตาได้ไม่สะดวกนัก จึงไม่ควรขับรถเอง
- เตรียมลาหยุดงาน 5 วัน
- ล้างหน้าก่อนมาผ่าตัด ไม่ควรแต่งหน้าในวันผ่าตัด
- ผู้ที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด ต้องการยาแอสไพริน หรือผู้ที่เป็นลิ้นหัวใจและทานยา คูมาดิน เป็นประจำ สามารถทำผ่าตัดได้ต่อเมื่อแพทย์ที่รักษายินยอมให้ทำการผ่าตัดและจะทำผ่าตัด เฉพาะในโรงพยาบาลเท่านั้น
- ผู้ที่ใช้เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ไม่ควรมารับการผ่าตัด เนื่องจากเครื่องจี้ไฟฟ้าอาจมีผลต่อการทำงานของเครื่องกระตุ้นหัวใจได้
- ถ้ามีความดันโลหิตสูง ต้องควบคุมให้ต่ำกว่า 140/90 มิลลิเมตร ปรอท ก่อนมารับการผ่าตัด
- ถ้าใส่คอนแทคเลนส์ ควรถอดออกแล้วใส่แว่นตา วันที่มาผ่าตัดควรมีคนมาเป็นเพื่อน เพื่อช่วยดูแลขณะกลับบ้าน
- ถอดวัสดุโลหะ เช่น แหวน สร้อยคอ นาฬิกา ก่อนเข้าห้องผ่าตัด
ขั้นตอนการผ่าตัด
- ฉีดยาชาบริเวณที่จะทำการผ่าตัด
- กรีดชั้นตาและเอาไขมันออก
- เย็บยึดชั้นตากับกล้ามเนื้อด้านล่าง
- เย็บปิดแผลชั้นผิวหนัง
การดูแลหลังการผ่าตัด
- นอนยกศรีษะสูง (หนุนหมอน 2 ใบ) ประคนเย็นที่ตาทั้ง 2 ข้าง วันละ 4ครั้ง ประคบประมาณ 5-7 วัน เพื่อลดอาการบวม
- ผ้าก็อสที่ปิดแผลบนตานั้นให้ปิดเพียง 1 วัน หลังจากทำผ่าตัด จากนั้นให้เปิดผ้าออกได้เลย ไม่ต้องนำมาปิดอีก
- ใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำยาสะอาดในขวดเช็ดคราบเลือด และสิ่งสกปรกออก โดยเช็ดอย่างเบามือวันละ 2-3 ครั้ง และเช็ดให้บ่อยๆเมื่อสกปรก
- รับประทานยาตามแพทย์สั่งจนหมด ถ้าเกิดอาการแพ้ยา เช่น คัน มีผื่นแดง คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก ให้หยุดรับประทานทันทีและรีบมาพบแพทย์
- หลังทำผ่าตัด 5 วัน ให้มาตัดไหม
- หลังทำผ่าตัด 2 อาทิตย์ หรือ1 เดือน ให้มาพบแพทย์เพื่อตรวจอาการอีกครั้ง (โทรนัดล่วงหน้า)
- งดสุราและบุหรี่ 2 อาทิตย์ หลังผ่าตัด
- กลับบ้านได้ แต่ต้องมีคนขับรถให้
- อาจจะมีน้ำตาไหลตลอดเวลาชั่วระยะหนึ่ง โดนเฉพาะเวลาที่โดยลม แต่จะหาไปภายในไม่กี่อาทิตย์
การดูแลหลังการตัดไหม
- หลังจากตัดไหมและตาจะยังมีอาการบวมอยู่ 2 อาทิตย์ถึง 1เดือน จากนั้นประมาณ 3 เดือนแผลจะหายเป็นปกติและดูเป็นธรรมชาติ
- หลังตัดไหมแล้วให้ใช้ EYE CREAM ทานวดที่แผลครั้งละ 30-40 ครั้ง วัลละ 2 เวลา เช้า-เย็น เพื่อป้องกันการเกิดแผลเป็นนูนแข็ง
- หลังทำการผ่าตัด 1 อาทิตย์ ในกรณที่แผลเขียวช้ำ สามารถประคนอุ่นได้ โดยประคบวันละประมาณ 2-3 ครั้ง ประมาณ 3-5 วัน
- หากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับแผล เช่น ตาแดงมาก เคืองตา แผลแยก ให้มาพบแพทย์ทันที
- ล้างหน้า รับประทานอาหาร ออกกำลังกาย โดนแสงแดดได้ตามปกติห้ามขยี้ตาแรงเป็นเวลา 3 เดือน