Scroll Top
penis curvature correction
แก้ไขการโค้งงอของอวัยวะเพศชาย

การโค้งงอผิดปกติของอวัยวะเพศอาจเป็นตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดภายหลัง สามารถเกิดที่ตำแหน่งใดก็ได้ของลำอวัยวะเพศโดยอาจมีการโค้งงอขึ้นบน,ลง ล่าง,ในทางซ้ายหรือทางขวา การโค้งงอลงล่างเป็นภาระที่เกิดตั้งแต่กำเนิดได้น้อย เนื่องมากจากการที่มีพังพืดใต้อวัยวะเพศ [CORDEE] การงอโค้งด้านข้าง มักเกิดจากที่ส่วนของท่อในอวัยวะเพศที่ทำหน้าที่แข็งตัวข้างซ้ายและข้างขวา มีความยาวที่แตกต่างกันภาวะการโค้งงอผิดรูปจะเห็นเมื่อเวลามีการแข็งตัว ของอวัยวะเพศไม่เห็นในภาวะปกติ

โดยทั่วไปในอวัยวะเพศชาย จะประกอบด้วยท่อกระบอก 3 ท่อ ท่อด้านบน 2 ท่อทำหน้าที่ในการแข็งตัวเพื่อการสอดใส่ระหว่างท่อด้านบน 2 ท่อมีท่อด้านล่าง [ท่อที่ 3] ซึ่งทำหน้าที่หุ้มรอบท่อปัสสาวะ และเป็นทางเดินของน้ำอสุจิและตัวอสุจิ [ดูรูป 1]

เวลามีความรู้สึกหรืออารมณ์ทางเพศ เลือดจะเข้าไปในทั้งด้านบนท่อสองเหมือนการเป่าลูกโป่งที่เป็นลูกโป่งยาวจะทำ ให้ส่วนอวัยวะเพศทั้งหมดแข็งตัวขึ้นถ้ามีท่อด้านใดสั้นกว่าหรือมีแผลเป็น บริเวณท่อเหล่านี้ทำให้ขยายตัวไม่ได้ก็จะมีการงอในทางด้านนั้นๆภาวะที่มีการ โค้งงอผิดปกติอาจจะแบ่งได้ตามสาเหตุคือ

  1. เป็นตั้งแต่กำเนิด,อาจงอในทิศทางขึ้นบนลงล่าง หรือด้านข้าง ถ้าการโค้งงอเกิดเล็กน้อยถือว่าไม่ผิดปกติไม่ต้องทำการแก้ไขเพราะตามปกติ แล้วอวัยวะเพศจะมีการเฉียงไปด้านใดด้านหนึ่งเล็กน้อยได้แต่ถ้าความผิดปกติ ชัดเจนมากและมีผลให้ใช้ชีวิตในสังคมได้หรือมีผลต่อการสอดใส่ขนาดมีเพศ สัมพันธ์ ก็คงต้องผ่าตัดแก้ไข
  2. เกิดขึ้นภายหลังภาวะนี้เรียกกันโดยทั่วไปว่าโรคไพโรนีย์ [PEYRONIES DISEASE] สาเหตุของการเกิดโรคไพโรนีย์เกิดจากการที่มีแผลเป็นเกิดขึ้นด้านนอกของท่อ ด้านบน 2 ท่อ ซึ่งทำหน้าที่ทำให้เกิดการแข็งตัวของอวัยวะเพศระหว่างที่แข็งตัวแผลเป็นด้าน หนึ่งจะดึงไม่ให้ผิวด้านบนยืดออกทำให้อวัยวะเพศงอมาด้านที่มีแผลเป็นยิ่งมี การแข็งตัวขึ้นมากเท่าไหร่การงอก็จะเห็นได้ชัดมากขึ้นเท่านั้น

โรคไพโรนีย์เป็นโรคที่พบในคนสูงอายุเลยวัยกลางคนโดยมักเกิดที่อายุ 45-60 ปี พบมากในคนที่มีอายุ 55 ปี มีโอกาสเกิด 1-3 % ของคนทั่วไปโดยภาวะที่ปกติระยะแรกมีดังนี้

  1. ปวดเวลาแข็งตัวและมีเพศสัมพันธ์โดยที่การปวดเกิดจากแผลเป็นที่ผิวและ เกิดจากการปวดเมื่อยจากการตึงผิดปกติด้านใดด้านหนึ่งขณะที่ร่วมเพศโดยอวัยวะ ที่โค้งงอมากๆแล้วกดโดนผนังช่องคลอดที่ตรงทำให้กล้ามเนื้อบริเวณฐานอวัยวะ เพศต้องทำงานหนักขึ้น จึงเกิดการปวดเมื่อยมากเวลาร่วมเพศ
  2. เริ่มมีการโค้งงอของอวัยวะเพศ
  3. ขนาดของอวัยวะเพศเล็กลงจากการรัดของพังพืดและมีการลดของความยาว
  4. ถ้าคลำดูจะคลำได้ก้อนแข็งที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของอวัยวะเพศ

สาเหตุของโรคไพโรนีย์ เชื่อว่าเกิดจากการเกิดบาดแผลหลังการกระทบกระเทือนที่ผนังด้านใดด้านหนึ่ง ของท่อด้านบนที่ทำหน้าที่แข็งตัวโดยมากมักเกิดจากการร่วมเพศโดยอาจเกิดจาก การร่วมเพศอย่างรุนแรงหรือการเปลี่ยนท่าอย่างรวดเร็วโดยเมื่ออายุ 50 ปี เนื้อเยื่อเกี่ยวพันบางส่วนจะลดความยืดหยุ่นลงทำให้เกิดการฉีกขาดและเกิดแผล ได้ง่าย แผลที่เกิดขึ้นจะเกิดการอักเสบและหายเองได้ในบางราย แต่บางรายจะหายและเกิดแผลเป็นตามทำให้เกิดภาวะโรคไพโรนีย์ในภายหลัง โรคไพโรนีย์มักพบในคนที่เป็นหรือเป็นเก๊ามากกว่าในคนทั่วไป นอกจากนี้แล้วโรคไพโรนีย์ยังอาจเกิดจากอุบัติเหตุภายนอก เช่นอุบัติเหตุจราจรหรือ จากการถูกทำร้ายร่างกายได้

โรคไพโรนีย์ เป็นโรคที่หายได้เอง โดยทั่วไปจะแบ่งระยะของโรคเป็น 2 ระยะ เพื่อประโยน์ในการเลือกวิธีการรักษาดังนี้

A. ระยะแรกเป็นระยะที่มีการอักเสบของแผลภายใน

  • มีอาการปวดที่บริเวณแผลเป็นในอวัยวะเพศ
  • มีการโค้งงอมากขึ้นเรื่อยๆ
  • การแข็งตัวไม่แน่นอน บางวันทำได้ บางวันทำไม่ได้
  • ปวดมากทุกครั้งที่แข็งตัว

ระยะนี้ทั่วๆไปใช้เวลาประมาณ 12 เดือนการรักษาระยะนี้เป็นการรักษาโดยใช้ยาแก้ปวดอาจจะเป็นวิตามิน E ,สเตียร์รอย , ยาบล็อกแคลเซียม โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อลดความเจ็บปวดไม่แนะนำให้ผ่าตัดเวลานี้เพราะการ ดำเนินของโรคยังมีและมีการเปลี่ยนแปลงตลอด

B. ระยะที่ 2 เป็นระยะคงที่แผลภายในหายสนิทแล้ว

  • คลำได้ก้อนแข็ง ,ไม่เจ็บ
  • การโค้งงอไม่เป็นมากขึ้น
  • การสั้นลงของอวัยวะเพศคงที่
  • อาจมีภาวะที่ไม่แข็งตัว ในกรณีที่มีแผลรอบเส้นรอบวงของอวัยวะเพศทำให้เลือดไม่สามารถไหลไปที่ปลายอวัยวะเพศได้

ส่วนใหญ่แผลของไพโรนีย์ มักเกิดที่ด้านบนทำให้อวัยวะเพศโค้งงอออกในด้านบน การรักษาในระยะที่ 2 เป็นระยะที่ถ้ามีความผิดปกติเกิดขึ้นก็สามารถผ่าตัดได้ โดยทั่วไปส่วนใหญ่คนที่เป็นโรคนี้เมื่อหายสนิทเข้าสู่ระยะที่ 2 แล้วอาจมีความผิดปกตินิดหน่อย ก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด แต่ถ้าความผิดปกติมีชัดเจน จนไม่สามารถร่วมเพศและใช้ชีวิตคู่ได้ปกติก็ต้องทำผ่าตัดหรือการโค้งงอที่ เห็นได้ชัดเจนมาก จนไม่สามารถสอดใส่ได้หรือบางกรณีมีการโค้งงอไม่มากแต่มีความเจ็บปวดมากทุก ครั้งที่ร่วมเพศก็ไม่สามารถใช้ชีวิตคู่ตามปกติได้อย่างมีความสุข

เทคนิคการผ่าตัด

การแก้ไขการโค้งงอ ทำได้หลายวิธีดังนี้

การเย็บด้านตรงข้ามกับด้านที่โค้งงอ

เป็นเทคนิคที่ใช้ไหมชนิดไม่ละลาย เย็บด้านตรงข้ามกับด้านที่งอวิธีนี้ทำได้โดยง่าย,ความเสี่ยงน้อยเพราะไม่ ต้องเปิดผนังของท่อที่ทำหน้าที่แข็งตัวแต่มีโอกาสที่ไหมจะขาดในภายหลังทำให้ เกิดการงอใหม่ได้ เทคนิคนี้ใช้เฉพาะความผิดปกติแต่กำเนิดถ้าใช้ในโรคไพโรนีย์ มีโอกาสที่จะมีคือการโค้งงอใหม่ประมาณ25% เทคนิคนี้เหมาะจะใช้กับการแก้ไขความโค้งงอเล็กๆน้อยๆที่เหลืออยู่

การผ่าตัดและเย็บ [NESBIT]

ทำโดยการเปิดแผลอวัยวะเพศ เช่นเดียวกับการขลิบหนังแยกเส้นประสาท และเส้นเลือดออกตัดผิวของท่อทรงกระบอก 1 มม.  – ลดความงอได้ 10 % แล้วเย็บปิดโดยใช้ไหมที่ละลายช้าๆ เทคนิคนี้แนะนำให้ใช้ ในกรณีที่เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดหรือในโรคไพโรนีย์ที่ไม่ต้องการใช้กราฟ

การตัดแผลเป็นและปิดด้วยกราฟ [LUE]

การผ่าตัดนี้เป็นการผ่าตัดที่แผลเป็นอาจจะตัดแผลเป็นออกหรือไม่ก็ได้ ถ้าแผลเป็น เป็นแผลนิ่ม แต่ถ้าแผลเป็นมีแคลเซี่ยมสะสมแล้วต้องตัดออก หลังจากตัดแผลเป็นแล้วต้องทำการขยายแผลแล้วต้องใช้เนื้อเยื่อมาปิดช่องว่าง ที่เกิดขึ้นการเลือกโดยเนื้อเยื่อที่นำมาใช้ปิดขึ้นกับความถนัดของศัลยแพทย์ โดยอาจใช้ผนังเส้นเลือดดำ ,พังพืดจากที่อื่น ผิวหนังหรืออาจใช้ผนังของท่อด้านบนอย่างอวัยวะเพศด้านตรงข้าม เทคนิคนี้เป็นเทคนิคมาตรฐานสำหรับโรคไพโรนีย์ไม่แนะนำให้ใช้กับคนที่ต้อง การแก้ไขความโค้งงอเล็กน้อยเพราะต้องมีการตัดเนื้อที่อื่นๆมาทำกราฟ

สำหรับในคนที่มีปัญหาเรื่องการแข็งตัวอาจมีการใส่อุปกรณ์ช่วยในการแข็ง ตัวร่วมด้วยหรือในกรณีที่หลังผ่าตัดแล้วเล็กลงอาจต้องทำการเพิ่มขนาดร่วมด้วย

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด

  1. ยาที่ทานประจำเป็นยาความดันให้ทานปกติ เช้าวันที่ผ่าตัด
  2. งดน้ำและอาหาร 6-8 ช.ม. ก่อนผ่าตัด
  3. งดสูบบุหรี่  3 อาทิตย์ ก่อนผ่าตัด
  4. เตรียมเสื้อผ้าที่สวมใส่สบายหลังผ่าตัดแนะนำให้ใช้กางเกง boxer และ เสื้อหลวมๆ
  5. เตรียมหยุดงานประมาณ 10-14 วัน
  6. งดยาแก้ปวดกลุ่มแอสไพริน อาหารเสริมบางชนิดที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่นกระเทียม น้ำมันปลา อย่างน้อย 2 อาทิตย์ ก่อนผ่าตัด
  7. ทำความสะอาด โกนขนอวัยวะเพศก่อนมาผ่าตัด
  8. ไปถึงโรงพยาบาลก่อนผ่าตัด 4-5 ชั่วโมง

ขั้นตอนการผ่าตัด

การผ่าตัดทำโดยดมยาสลบ ยกเว้นเทคนิคที่ 1 สามารถฉีดยาชาได้ ถ้าแก้ไขเล็กน้อย

  1. ดมยาสลบ
  2. วางรูปตำแหน่งของแผลถ้าเป็นโรคไพโรนีย์
  3. ตรวจความโค้งงอในภาวะที่แข็งตัว
  4. เปิดแผลบริเวณใต้ต่อขอบของหัวอวัยวะเพศ เช่นเดียวกับการขลิบหนังหุ้มปลาย
  5. แยกเส้นเลือดและเส้นประสาทออกจากท่อทั้งสาม
  6. แก้ไขความโค้งงอตามเทคนิคที่ตกลงไว้
    6.1 สำหรับเทคนิคที่ 2
    – ตัวผิวหนังของท่อฝั่งตรงข้าม กรณีที่โค้งงอโดยดูตามความโค้ง 1 มม. แก้ความโค้ง 10องศา
    – เย็บปิดโดยไหมละลายช้า [PDS]6.2 สำหรับเทคนิคที่ 3
    – ตัดแผลเป็นที่แข็งออกหรือไม่ตัดออกถ้าแผลนิ่ม
    – เปิดแผลที่ต้นขาเพื่อเอาผิวหนังหรือเส้นเลือดดำมาเตรียมปิดแผลที่ท่อของอวัยวะเพศ
    – เย็บปิดแผลต้นขา
    – ใช้เส้นเลือดด้านบนปิดช่องว่างที่ท่ออวัยวะเพศโดยให้ด้านในสัมผัสกับด้านในของท่อ
  7. ทดสอบการแข็งตัวอีกครั้งถ้ามีการโค้งงอเล็กน้อย อาจใช้การเย็บของเทคนิคที่ 1 ช่วยแก้ไข
  8. ดึงผิวหนังเข้ามาเย็บปิดตามเดิม

การดูแลหลังการผ่าตัด

  1. อาการปวดไม่มากโดยทั่วไปทานยาแก้ปวด ก็มักจะได้ผลดี
  2. ใช้ผ้าปิดแผลไว้ 3 วัน
  3. งดร่วมเพศ 5 อาทิตย์
  4. ถ้าใช้การเย็บอาจคลำได้ปมไหมที่ผิวหนังได้
  5. งดการขับรถหรืองานที่ใช้เครื่องจักร 2 อาทิตย์
  6. งดดื่มสุรา 2 อาทิตย์
  7. สามารถอาบน้ำได้ ในวันที่ 3
  8. ระวังรักษาแผลให้แห้งอย่าให้เปียกน้ำ
  9. งดการเดินไกลๆยืนนานๆหรือยกของหนัก 2 อาทิตย์
  10. ออกกำลังกายได้เมื่อ 4 อาทิตย์
  11. อาการบวมหรือเขียวช้ำจะดีขึ้นใน 1-2 อาทิตย์
  12. ทานยาแก้ปวดและแก้อักเสบ ตามที่ให้ห้ามทานยากลุ่มแอสไพริน 2 อาทิตย์ หลังผ่าตัด
  13. งดสูบบุหรี่ อย่างน้อย 3 อาทิตย์
  14. แผลอาจมีเลือดออกบ้าง ถ้ามีเลือดออกผิดปกติมากให้ติดต่อแพทย์ทันที
  15. งดทำงานหนักหรือหยุดงานประมาณ 7-10 วัน
  16. ใช้สำลีชุบน้ำเกลือเช็ดรอบๆแผลเช้า-เย็น
Privacy Preferences
When you visit our website, it may store information through your browser from specific services, usually in form of cookies. Here you can change your privacy preferences. Please note that blocking some types of cookies may impact your experience on our website and the services we offer.