Scroll Top
Gynecomastia surgery
การผ่าตัดลดขนาดเต้านมเพศชาย

ลดขนาดเต้านมเพศชาย (Gynecomastia Surgery)

ก้อนเต้านมในเพศชาย [GENECOMASTIA] มีโอกาสพบได้ในทุกวัยตั้งแต่แรกเกิด ,วัยรุ่น,ผู้ใหญ่ จนถึงวัยชรา โดยมากจะพบในวัยรุ่นมากกว่าวัยอื่นๆ โดยที่การโตของเต้านมอาจเกิดข้างเดียวหรืออาจโตทั้งสองข้างได้ ถ้ามีเต้านมเหมือนเพศหญิงสร้างปัญหาในการเข้าสังคมในเด็กวัยรุ่นทำให้ถูก เพื่อนล้อ ไม่สามารถใส่เสื้อยืดหรือเสื้อเชิ้ตรัดรูป [Body fit] ได้เพราะเห็นเต้านมและหัวนมชัดเจน ทำให้สูญเสียความมั่นใจในรูปร่างของตัวเองและขาดความเชื่อมั่นถ้าจะต้องถอด เสื้อออกบางครั้งไม่สามารถทำกิจกรรมและการออกกำลังกายบางอย่างเช่นการว่าย น้ำ ยิมนาสติก กรีฑา ส่งผลให้เด็กวัยรุ่นบางคนไม่สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติหรือถ้าจะออกกำลังกาย บางอย่างก็ต้องสวมเสื้อตลอดเวลา การผ่าตัดแก้ไขก้อนที่เต้านมเพศชาย เป็นการผ่าตัดที่ช่วยคืนความมั่นใจในรูปร่างของผู้ชายสร้างความเชื่อมั่นและ เพิ่มความมั่นใจในการทำกิจกรรมหรือเล่นกีฬาที่ต้องถอดเสื้อให้เห็นหน้าอก สามารถสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดรูปและสวมเสื้อบางๆได้

บ่อยครั้งที่อาจไม่สามารถค้นพบสาเหตุการเกิด แต่โดยทั่วไปการเกิดก้อนเต้านม อาจเกิดได้โดยภาวะดังนี้

  1. การเปลี่ยนแปลงตามปกติของร่างกาย เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามวัยโดยในระยะการเจริญเติบโต บางรายจะมีการเปลี่ยนแปลง ระดับสัดส่วนของฮอร์โมนเพศชายและฮอร์โมนเพศหญิง โดยที่อาจมีการเสียสมดุลฮอร์โมนเพศหญิงมากกว่าปกติซึ่งพบได้ในระยะเวลาดัง นี้
    • A. ระยะแรกเกิดในเด็กแรกเกิดจะได้ฮอร์โมนเอสโตรเจน มากตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ ทำให้มีเนื้อเต้านมมากตั้งแต่แรกเกิดเต้านมในเด็กจะลดขนาดและหายไปในเวลา 2-3 อาทิตย์ หลังจากคลอด
    • B. ระยะวัยรุ่นในระยะวัยรุ่นอาจเกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมนโดยมีฮอร์โมน เพศหญิงสูงกว่าฮอร์โมนเพศชายก้อนที่เต้านมในวัยนี้จะหายไปเมื่อพ้นระยะวัย รุ่นไปแล้ว
    • C. ในคนสูงอายุเกิดจากเซลล์ไขมันเปลี่ยนฮอร์โมนเพศชายเป็น ฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้มีฮอร์โมนเพศหญิงสูงขึ้น
  2. โรคตับบางชนิด หรือการดื่มเหล้าเป็นประจำจนมีภาวะตับแข็ง
  3. อ้วนมาก
  4. การใช้สารสเตียรอยด์หรือกัญชา
  5. ยาบางชนิด ยังพบว่าเป็นสาเหตุของก้อนที่เต้านมเพศชายได้บ่อย ได้แก่
    • ยาลดกรด-CIMETIDINE, LOSEC
    • ยาฆ่าเชื้อรา KETOCONAZONE หรือยาฆ่าเชื้อกลุ่ม METRONIDAZOLE
    • ยารักษาวัณโลก
    • แอมเฟตามินและเมทาโดน
    • ยาต้านการซึมเศร้า
    • ฮอร์โมนเพศหญิง
    • ยาเคมีบำบัดบางชนิด
    • สเตียรอยด์
  6. ความผิดปกติของโครโมโซม เรียกว่า KLINEFELTER SYNDROME มักมีความผิดปกติอยู่เกี่ยวบ้าง เช่น อัณฑะขนาดเล็ก, การพัฒนาช้า โดยทั่วไปการเกิดก้อนที่เต้านมในเพศชายไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงของการเกิด มะเร็งของเต้านมเมื่อเทียบกับคนปกติ ยกเว้นในภาวะโครโมโซมผิดปกติ

แนวทางการรักษาโดยไม่ผ่าตัด

จากที่ทราบแล้วว่าก้อนที่เต้านม อาจหายเองได้ในบางภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงของเต้านมตามวัย และบางครั้งจะพบว่ามีสาเหตุถ้าแก้ไขสาเหตุก็ทำให้ก้อนหายไปได้ หลักในการรักษาแบบไม่ผ่าตัด คือ

  1. ตรวจหาสาเหตุของความผิดปกติและรักษาที่สาเหตุ เช่น หยุดยาบางชนิดก้อนเต้านมจะลดลงหลังจากหยุดยา แต่ถ้าหลังจากหยุดยาหรือรักษาสาเหตุแล้ว ก้อนไม่เล็กลงอีก จึงพิจารณาผ่าตัดหลังจาก 1 ปี
  2. ในก้อนเต้านมในวัยรุ่น มีการหายได้เองแต่ถ้าไม่หายใน 2 ปี จึงพิจารณาผ่าตัด
  3. ในคนที่อ้วนมาก การลดน้ำหนักจะช่วยให้ก้อนที่เต้านมมีขนาดเล็กลง

อย่างไรก็ตาม การพิจารณาผ่าตัดอาจทำได้เร็วขึ้นบางรายที่มีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน หรือการใช้ชีวิตในสังคม เช่น ในเด็กที่ไม่สามารถเล่นกรีฬาได้ หรือถูกเพื่อนล้อจนไม่ไปโรงเรียนก็อาจพิจารณาผ่าตัดเร็วกว่าเวลาดังกล่าวได้

การรักษาโดนการผ่าตัด

ต้องตรวจดูลักษณะของก้อนว่าเป็นอย่างไร

ขนาดก้อนเต้านมเพศชาย แบ่งเป็น 3 เกรด ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกการรักษา

สำหรับเกรดที่ 1 และ 2 การรักษาไม่ยุ่งยาก แต่เกรดที่ 3 มักมีก้อนที่ใหญ่และมีผิวหนังเกิน อาจต้องพิจารณาเทคนิคการผ่าตัดที่ต้องมีการตกแต่งผิวหนังด้วยจึงจะได้ผลดี การตัดผิวหนังอาจทำตั้งแต่ครั้งแรกหรือพิจารณาทำในภายหลัง

การปรึกษาแพทย์ก่อนผ่าตัด

การปรึกษาก่อนการผ่าตัดมีความสำคัญมาก เนื่องจากก้อนที่เต้านมในเพศชายมีขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ และบางครั้งอาจมีการหย่อนยานของผิวหนังเช่นกับเต้านมหย่อนยานของเพศหญิง ดังนั้นเทคนิคการผ่าตัดอาจมีความแตกต่างได้หลายแบบ การตรวจร่างกายก่อนการผ่าตัดจะต้องตรวจดูว่าผิวหนังมีความยืดหยุ่นเพียงใด เพื่อวางแผนการผ่าตัด นอกจากนั้นยังต้องดูประวัติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คือ

  1. ประวัติการใช้ยา เนื่องจากยาบางชนิดเป็นสาเหตุของก้อนเต้านมได้
  2. ในกรณีที่สงสัยโรคเรื้อรังหรือโรคทางต่อมไร้ท่อ ควรปรึกษาอายุรกรรมก่อนมาพบแพทย์ผ่าตัดหรือในคนที่ทานเหล้าเป็นประจำควรหยุด ทานเหล้าก่อน
  3. ในคนที่อ้วนมากควรลองลดน้ำหนักก่อนนัดมาผ่าตัด
  4. ตรวจร่างกายเพื่อดูขนาดก้อน ความหย่อนยานและระดับของหัวนมและปานนม
  5. เลือกวิธีการผ่าตัดว่าจะใช้การดูดไขมัน หรือการดูดเอาก้อนออกหรือทำทั้ง 2 วิธี ต้องตัดแต่งผิวหนังด้วยหรือไม่
  6. ถ้ามีการหย่อนยานของเต้านม มีแนวททางให้เลือก 2 วิธี คือ
    1. ยังไม่ต้องตัดผิวหนังในการผ่าตัดครั้งแรก ผ่าตัดเอาเต้านมออกก่อนอย่างเดียว แล้วรอดูประมาณ 9 เดือน ว่าผิวหนังสามารถยืดหยุ่นจนตึงขึ้นได้หรือไม่ ถ้าหยืดหยุ่นได้ดีก็ไม่ต้องตัดผิวหนังเพิ่ม แต่ถ้ายังมีการหย่อนยานอยู่จึงค่อยตัดผิวหนังส่วนเกินประมาณ 9 เดือน หลังจากการผ่าตัดครั้งแรก
    2. ถ้าการหย่อนยาเกิดขึ้นชัดเจน อาจต้องพิจารณาตัดผิวหนังส่วนเกิน ตั้งแต่การผ่าตัดครั้งแรก
  7. ถ้ามีระดับหัวนมและปานนมต่ำ ต้องดูว่าต้องย้ายระดับปานนมหรือไม่ และต้องลดระดับปานนมด้วยหรือไม่ เพราะในคนที่มีเต้านมใหญ่มากปานนมมักมีขนาดใหญ่ด้วย ทำให้เหมือนปานนมผู้หญิง ในระหว่างที่ปรึกษากรณีที่คนมีปานนมและหัวนมใหญ่ ต้องดูด้วยว่าต้องการลดปานนมและหัวนมด้วยหรือไม่ หากต้องการลดลงจะลดลงเท่าใด
  8. แผลเป็นที่เกิดหลังจากการผ่าตัด เนื่องจากเทคนิคการผ่าตัดมีการทำหลายรูปแบบ อาจต้องเลือกใช้เทคนิคในการเปิดแผลเข้าไปตัดก้อนออก หรือในกรณีที่ต้องตัดผิวหนังส่วนเกินอาจต้องดูแผลเป็นที่จะเกิดมาหลังผ่าตัด
  9. เทคนิคที่ระงับความรู้สึก ในกรณีที่ก้อนไม่ใหญ่มากสามารถฉีดยาชาผ่าตัดได้ แต่ถ้าก้อนมีขนาดใหญ่และเต้านมหย่อนยานหรือต้องดูดไขมันเป็นบริเวณกว้าง อาจต้องดมยาสลบ
  10. ตรวจดูลักษณะของก้อนว่าเป็นไขมัน หรือส่วนใหญ่เป็นเนื้อนม ถ้าเป็นไขมันจำนวนมากสามารถใช้การดูดไขมันอย่างเดียวได้ แต่ถ้าเป็นก้อนเนื้อนมแล้วต้องผ่าตัดออก เพราะท่อดูดไขมันมักจะไม่สามารถดูดเนื้อนมได้มาก ในปัจจุบันมีการลองใช้อัลตร้าซาวด์ในการดูดก้อนเต้านมที่มีเนื้อนม แต่ปรากฏว่ามักได้ผลไม่น่าพอใจเพราะยังคงเหลือเนื้อนมอยู่ให้เห็นได้ชัดหลังผ่าตัด

เทคนิคการผ่าตัด

1. การผ่าตัดเอาก้อนออก [Excision]

ทำในกรณีก้อนเต้านมเป็นก้อนเนื้อนมเป็นหลักการเปิดแผลผ่าตัดและตัดก้อนออกอาจลงแผลได้หลายแบบ ดังนี้

1a. แผลใต้ปานนม [Subareolar] ลงที่รอยต่อของผิวสีเข้มและสีขาววิธีนี้แผลจะดีที่สุดเป็นวิธีที่ใช้บ่อยที่ สุดและแพทย์จะพยายามเลือกวิธีนี้เป็นวิธีหลักยกเว้นว่าจะมีปัญหาต้องตัดผิว หนังเพิ่มจึงเลือกใช้วิธีอื่น

1b. แผลเป็นกลางปานนม [Transareolar] ทำในกรณีที่ต้องการตัดปานนมบางส่วนหรือต้องการลดขนาดหัวนมร่วมด้วย

1c. แผลใต้ราวนม [Inframamary] ในบางคนที่ก้อนค่อนข้างใหญ่และเริ่มมีการคล้อยของเต้านมเล็กน้อยอาจใช้แผลนี้ได้
การผ่าตัดเอาเต้านมออกมักเหลือฐานนมเนื้อนมที่อยู่ใต้ปานนมไว้ ไม่ได้เอาออกทั้งหมดเพราะถ้าตัดเนื้อนมออกหมดจะทำให้ปานนมบุ๋มลงไปต่ำกว่า เนื้อหน้าอกที่อยู่รอบปานนมดูไม่สวยงาม

2. การดูดไขมัน [Liposuction]

ในกรณีที่เต้านมมีส่วนประกอบเป็นไขมันเป็นส่วนใหญ่ การดูดไขมันเป็นอย่างเดียวมักใช้ได้ผลดีและมี ข้อดีคือมีแผลเป็นมีขนาดเล็กมากการผ่าตัดทำโดยเปิดแผลบริเวณปานนมใต้ราวนม หรือบริเวณรักแร้แล้วแต่ตำแหน่งที่จะดูด ฉีดยาชาผสมสารละลายน้ำเกลือในตำแหน่งที่จะดูดแล้วใส่ท่อ เพื่อทำการดูดไขมัน

การดูดไขมันโดยการใช้อัลตร้าซาวด์ โดยหวังว่าใช้อัลตร้าซาวด์ละลายเนื้อเต้านมให้ดูดออกได้อาจได้ผลไม่ดีเท่า กับการผ่าตัดเอาก้อนออกโดยตรง

3. การใช้เทคนิคผสมผสานของการดูดไขมันและผ่าตัด

โดยทั่วไปแล้วคนที่มีก้อนที่เต้านมบางคนที่เป็นคนอ้วนหรืออายุมากจะมีไขมัน สะสมบริเวณหน้าอกและรอบเต้านม การผ่าตัดอย่างเดียวผลที่ได้หลังผ่าตัด อาจทำให้บริเวณก้อนบุ๋มลงไปกว่าบริเวณรอบๆ [saurcer] ในกรณีที่ตรวจพบว่ารอบๆก้อนเต้านมมีไขมันมากอาจทำการผ่าตัดดูดไขมันร่วมด้วย โดยเริ่มจากการดูดไขมันผ่านแผลใต้ปานนมบริเวณขอบนอกของเนื้อเต้านมก่อน แล้วทำการผ่าตัด เอาเนื้อนมออกหลังจากดูดไขมันแล้วโดยเอาเนื้อนมออกทางแผลเดียวกับที่ดูด ไขมัน

วิธีนี้มีข้อดีคือสามารถลดไขมันที่หน้าอกได้ด้วย ทำให้ผิวหนังหน้าอกบางลงมีไขมันสะสมลดลงเห็นลักษณะกล้ามเนื้อชัดเจนขึ้นและ เห็นโครงสร้างหน้าอกของเพศชายชัดเจนขึ้นได้พอดีในคนที่เริ่มมีน้ำหนักเพิ่ม ขึ้นและเริ่มมีไขมันสะสม

4. เทคนิคการเปิดแผลขนาดเล็กร่วมกับการดูดไขมัน [Miniincision Liposuction]

โดยทั่วไปแล้วคนที่มีก้อนที่เต้านมบางคนที่เป็นคนอ้วนหรืออายุมากจะมีไขมัน สะสมบริเวณหน้าอกและรอบเต้านม การผ่าตัดอย่างเดียวผลที่ได้หลังผ่าตัด อาจทำให้บริเวณก้อนบุ๋มลงไปกว่าบริเวณรอบๆ [saurcer] ในกรณีที่ตรวจพบว่ารอบๆก้อนเต้านมมีไขมันมากอาจทำการผ่าตัดดูดไขมันร่วมด้วย โดยเริ่มจากการดูดไขมันผ่านแผลใต้ปานนมบริเวณขอบนอกของเนื้อเต้านมก่อน แล้วทำการผ่าตัด เอาเนื้อนมออกหลังจากดูดไขมันแล้วโดยเอาเนื้อนมออกทางแผลเดียวกับที่ดูด ไขมัน

วิธีนี้มีข้อดีคือสามารถลดไขมันที่หน้าอกได้ด้วย ทำให้ผิวหนังหน้าอกบางลงมีไขมันสะสมลดลงเห็นลักษณะกล้ามเนื้อชัดเจนขึ้นและ เห็นโครงสร้างหน้าอกของเพศชายชัดเจนขึ้นได้พอดีในคนที่เริ่มมีน้ำหนักเพิ่ม ขึ้นและเริ่มมีไขมันสะสม

เทคนิคการผ่าตัด ทำโดยวิธีการดูดไขมันแบบมาตรฐาน โดยฉีดน้ำเกลือผสมอดินาลีนและยาชาผ่านแผลเปิดขนาดเล็ก ที่หนังรักแร้ที่ปานนมหรือขอบล่างของเต้านม โดยใช้เข็มฉีดน้ำเกลือขนาด 2 มม. ฉีดน้ำเกลือผสมอรีนาลีนและยาชา หลังจากนั้นใช้หัวดูดไขมันขนาดเล็ก (3 – 5 ม.ม.)ดูดไขมันบริเวณหน้าอกรอบเต้านม และเหนือเต้านมจนเหลือไขมันที่ค่อนข้างบางพอ ในระหว่างนั้นตรวจดูความหนาของไขมันเทียมกับหน้าอกอีกข้างหนึ่ง ถ้ามีการดูดไขมันด้านข้างของกล้ามเนื้อด้วยแพทย์จะดูดไขมันที่ขอบกล้ามเนื้อ มากกว่าไขมันที่กลางหน้าอก หลังจากดูดไขมันเสร็จแพทย์จะตรวจดูขนาดของก้อนที่เต้านมออกที่เหลืออยู่หลัง จากนั้นจะเปิดแผลเป็นเล็กๆที่ขอบล่างของปานนม แล้วทำการตัดเนื้อเต้านมแยกจากผิวหนังและกล้ามเนื้อหน้าอก โดยใช้กรรไกรขนาดเล็กตัดผ่านทางแผลขนาดเล็กจนก้อนเต้านมแยกออกจากผิวหนัง ทั้งหมดหลังจากเนื้อเต้านมถูกแยกจากผิวหนังและกล้ามเนื้อด้านล่างแพทย์จะแยก เต้านมออกเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อให้สามารถเอาออกผ่านแผลขนาดเล็กได้จนหมด

เนื่องจากเทคนิคที่เป็นเทคนิคที่ใช้เวลาผ่าตัด นานกว่าปกติและต้องมีขบวนการแบ่งก้อนเต้านมออกเป็นชิ้นเล็กๆดังนั้นผู้ที่จะ สามารถเลือกวิธีนี้ได้ จึงไม่ควรมีเต้านมขนาดใหญ่เกินไป ก้อนส่วนใหญ่เป็นไขมันมากกว่าก้อนเนื้อเต้านม และไม่ควรมีการหย่อนยานของเต้านม

เทคนิคนี้เหมาะในคนที่มีเต้านมขนาดเล็กโดยที่มีไขมันอยู่บ้างจะได้ผลดี เป็นวิธีที่มีแผลเป็นขนาดเล็ก ช่วยให้ไม่ต้องกังวลกับแผลเป็นขนาดใหญ่ที่จะเกิดขึ้นที่ปานนมหลังการผ่าตัด แบบอื่นนอกจากนั้นแล้วการดูดไขมันที่อยู่รอบๆก้อนเต้านมก็จะช่วยให้หน้าอก แบนราบลงด้วย

5. เทคนิคที่ต้องตัดผิวหนังเพิ่ม

ในกรณีที่หน้าอกหย่อนยานขึ้นอาจต้องพิจารณาว่าจะลองตัดก่อนออกก่อนอย่าง เดียวตามเทคนิคที่ 1 และรอเวลาประมาณ 9 เดือน ถึง 1 ปี แล้วดูว่าผิวหนังมีการหย่อนอยู่หรือไม่ถ้ายังหย่อนก็ค่อยตัดผิวหนังออก หรือจะตัดผิวหนังส่วนเกินออกเลยในการผ่าตัดครั้งแรก กรณีที่ต้องตัดผิวหนังเพิ่มอาจใช้เทคนิคต่างๆ ดังนี้

5a. ตัดผิวหนังส่วนเกินที่อยู่ใต้ปานนมเพิ่ม [Extended Subareolar] โดยแผลไม่เกินขอบของปานนม เหมาะกับผู้มีผิวหนังส่วนเกินไม่มากนัก

5b. เปิดแผลด้านข้างของปานนมเพิ่ม [Extended Semicircular] ในกรณีก่อนที่ต้องการตัดผิวหนังส่วนเกินเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

5c. แผลใต้ราวนม [Inframammary] โดยตัดผิวหนังส่วน เกินและก้อนเต้านมทางแผลใต้ราวนมวิธีนี้จะไม่มีแผลที่ปานนมแต่หลังจาก ตัดแต่งผิวหนังหัวนมและปานนมจะอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำลงกว่าเดิมเทคนิคนี้จะใช้ ในกรณีที่หัวนมและปานนมยังอยู่สูงกว่าขอบล่างของเต้านม

5d. แผลรอบปานนม [Circular]ในกรณีที่มีการหย่อนคล้อยเล็กน้อยและต้องการตัดแต่งผิวหนังน้อยๆ เทคนิคนี้แผลเป็นจะเป็นจีบรอบปานนมแต่ไม่สามารถลดขนาดของปานนมได้มาก เพราะจีบรอบๆจะใหญ่เกินไปรอยจีบจะหายไปประมาณ 2-3 เดือน

5e. แผลเป็นตามขวาง [Transverse] ในกรณีที่ต้องตัดผิวหนังมากและต้องการลดขนาดปานนมด้วย

5f. แผลใต้ราวนมและย้ายปานนม ทำโดยทำแผลใต้ราวนมโดยเก็บเส้นเลือดบางส่วนไว้แล้วย้ายปานนมและหัวนมขึ้นไป เปิดด้านบนผิวหนังที่สูงกว่าตำแหน่งเดิมวิธีนี้สามารถลดขนาดของปานนมแต่ไม่ ลดขนาดหัวนม

5g. การทำกราฟ [Nipple Graft] กรณีที่เต้านมยานมากต้องตัดเต้านมออกทั้งหมดและเอาปานนมมาปะกราฟในตำแหน่งใหม่

5h. การตัดแต่งผิวหนังรูปตัวที ในกรณีที่เต้านมใหญ่มากและยานมากแต่ไม่ต้องการตัดเนื้อเต้านมออกทั้งหมด สามารถตัดแต่งผิวหนังเดียวกับการลดขนาดหน้าอกผู้หญิงได้

5i. การตัดผิวหนังทางด้านข้าง โดยในคนที่ผิวหนังยานมากและไม่ต้องการให้มีแผลเป็นด้านหน้าสามารถตัดผิวหนัง บริเวณใต้รักแร้ลงมาถึงด้านข้างมาเต้านมได้ ข้อเสียคือหัวนมและปานนมจะออกไปด้านข้างมากกว่าวิธีอื่น

5j. การตัดผิวหนังหลังการผ่าตัดครั้งแรกจะใช้เทคนิคตัดแผลทางใต้ราวนมเป็นหลัก

การเลือกเทคนิคแบบไหนควรพิจารณาความเหมาะสมและความต้องการโดยควรตัดสินใจก่อนวันผ่าตัด

  • เกรด 1: อาจเป็นการตัดเต้านม ,ดูดไขมันหรือใช้ 2 วิธีร่วมกัน
  • เกรด 2: การผ่าตัดอาจทำโดยการตัดเต้านมด้วยแผล a b หรือ c หรือตัดผิวหนังเพิ่มโดยการใช้การขยายแผลด้านข้าง 5b. โดยอาจร่วมกับการดูดไขมันหรือใช้การดูดไขมันอย่างเดียว
  • เกรด 3: การผ่าตัดมักต้องตัดผิวหนังเพิ่มโดยในเทคนิคที่ 5 โดยอาจตัดผิวหนังตั้งแต่แรกหรือมาตัดภายหลัง [5j]โดย ทั่วไปจะพยายามพิจารณาทำผ่าตัดโดยผ่าตัดออกหรือดูดไขมันก่อนเนื่องจากแผล เป็นดีจะใช้วิธีการตัดแต่งผิวหนังในกรณีที่มีการหย่อนยานชัดเจน

หมายเหตุ

นอกจากการผ่าตัดลดขนาดปานนมแล้วบางครั้งในคนที่มีเต้านมเหมือนผู้หญิงมัก มีหัวนมที่มีขนาดใหญ่เหมือนผู้หญิงด้วย การผ่าตัดที่ต้องทำต่อเพื่อให้รูปร่างและสัดส่วนของหน้าอกดูดีขึ้น คือการลดขนาดหัวนม ถ้าลดขนาดหัวนมในกรณีนี้แตกต่างจากการลดขนาดหัวนมในผู้หญิง คือ มักต้องใช้เทคนิคที่มีการตัดท่อน้ำนมออกมากๆและเหลือเนื้อเยื่อที่จะทำเป็น หัวนมน้อยมากๆ เพราะส่วนใหญ่มักต้องการให้หัวนมเล็กมากและต่ำมาก

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด

  1. การผ่าตัดไม่ควรทำในคนที่อ้วนมากและวางแผนที่จะลดน้ำหนักต่อควรรอให้น้ำหนักลดก่อนแล้วค่อยมาผ่าตัด
  2. หยุดสูบบุหรี่ 2 อาทิตย์ ก่อนผ่าตัด
  3. เตรียมลาหยุดงานประมาณ 3 – 7 วันแล้วแต่เทคนิคการผ่าตัด
  4. งดยาต้านการอักเสบ [Nsaid] เช่นแอสไพริน บุหรี่ อาหารเสริมบางตัวที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น กระเทียม น้ำมันปลา อย่างน้อย 2 อาทิตย์ ก่อนการผ่าตัด
  5. สำหรับผู้ที่จะวางยาสลบต้องงดน้ำงดอาหารก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
  6. ผู้ที่มีความดันสูงต้องควบคุมให้ปกติก่อนผ่าตัด 2 อาทิตย์
  7. Check-up เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง เช่นโรคต่างๆหรือยา Estrogen ,ยาฆ่าเชื้อรา
  8. กรณีที่มีน้ำหนักมากควรลดน้ำหนักก่อนผ่าตัด
  9. ถ้าต้องตัดผิวหนังเพิ่มต้องวางแผลโดยวาดผิวหนังที่จะตัดในท่ายืนหรือนั่ง

ขั้นตอนการผ่าตัด

  1. ฉีดยาชาหรือวางยาสลบตามที่ต้องลงกันไว้ก่อนผ่าตัด
  2. ถ้าก้อนเต้านมประกอบด้วยไขมันเป็นส่วนใหญ่ทำการดูดไขมันเปิดแผลตำแหน่งที่จะ สอดท่อดูดไขมัน ฉีดน้ำผสมยาชาผสมอาดีนารีนและทำการดูดไขมันโดยใช้ท่อดูดไขมัน
  3. ถ้าทำการผ่าตัดเอาออกก่อนทำการฉีดยาชา ไต้ปานนมและรอบๆก้อนเต้านม ลงแผลใต้ปานนม,ตัดก้อนออกและเย็บปิดแผล
  4. กรณีที่ทำการผ่าตัดก้อนเต้านมร่วมกับการดูดไขมันจะทำการดูดไขมันก่อนแล้วจะ ตัดก้อนออกโดยผ่านแผลที่ปานนมทำการหยุดเลือดแล้วเย็บปิดแผล
  5. ในกรณีที่เต้านมคล้อยเพราะผิวหนังเกินต้องทำการผ่าตัดผิวหนังส่วนเกินออกเพื่อให้ผิวหนัง
    หน้าอกตึงขึ้นทำการตัดก้อนที่เต้านมตัดผิวหนังและเย็บปิดแผลให้ตึง
  6. ถ้ามีการตัดผิวหนังเพิ่มหลังผ่าตัดอาจต้องใส่สายระบายน้ำเหลืองก่อนการเย็บแผล
  7. หลังผ่าตัดใช้ผ้ายืดพันรอบหน้าอกเพื่อให้เลือดหยุด

การดูแลหลังการผ่าตัด

  1. ถ้าดมยาสลบต้องพักที่โรงพยาบาล 1 – 2 คืน แต่ถ้าฉีดยาชาสามารถกลับบ้านได้เลย
  2. มีอาการบวมเขียวประมาณ 2 อาทิตย์
  3. วันที่ 2 หลังผ่าตัดเปิดผ้าพันแผลออกใช้สำลีชุบน้ำเกลือเช็ดรอบแผลเช้า-เย็น ทาแผลด้วย
    ยาแก้อักเสบชนิดทา ถ้ามีสายระบายน้ำเหลืองจะเอาออกในวันที่ 2 – 3 หลังผ่าตัด
  4. แพทย์จะตัดไหมประมาณ 7 วัน
  5. เพื่อไม่ให้เลือดออกมากและลดอาการบวมอาจต้องใช้ผ้ารัดรอบหน้าอกประมาณ 1-2 อาทิตย์ และรัดเฉพาะเวลากลางคืนต่ออีก 1-2 อาทิตย์
  6. ถ้าเต้านมเดิมมีขนาดใหญ่มากอาจมีผิวหนังเกินเกิดรอยย่นรอบๆแผลผ่าตัดโดยทั่วไปรอยย่น ,จีบ จะดีขึ้นหลังผ่าตัดไปแล้ว 2 – 3 เดือน
  7. วันแรกหลังผ่าตัดสามารถเดินไปมาและทำกิจกรรมปกติได้
  8. งดการร่วมเพศ 1 – 2 อาทิตย์
  9. งดออกกำลังกายหนักๆกีฬา ที่มีการปะทะประมาณ 4 อาทิตย์
  10. วันที่ 3 สามารถทำงานตามปกติได้
  11. ระวังแผลผ่าตัดถูกแดดประมาณ 4 – 6 เดือน (อาจใช้ครีมกันแดดทาแผลขณะที่แดดออก)
  12. แผลเป็นและอาการบวมจะหายปกติในเวลา 3 เดือน
  13. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายตามปกติ หรือยกของหนักประมาณ 6 อาทิตย์
  14. ถ้ามีเลือดออกมากผิดปกติให้แจ้งให้แพทย์ทราบโดยด่วน
  15. หลังผ่าตัดเต้านม ด้านซ้ายและขวาอาจมีความแตกต่างกันได้บ้าง
Privacy Preferences
When you visit our website, it may store information through your browser from specific services, usually in form of cookies. Here you can change your privacy preferences. Please note that blocking some types of cookies may impact your experience on our website and the services we offer.