ซิลิโคนเหลวในสารเติมเต็มก็นิยมกันในคนไทยและคนต่างประเทศทุกประเทศเนื่องจากหลังการฉีดแล้ว ซิลิโคนเหลวระยะแรกมักมีใบหน้าหรือ,สะโพกตึงและนูนไป ทำให้ดูอ่อนเยาว์ นอกจากนี้ซิลิโคนเหลวยังราคาถูกทำให้ สามารถฉีดได้ในปริมาณมาก ๆ ได้ให้รูปหน้าเต่งตึงและสวยงามมากในระยะแรก อย่างไรก็ตามซิลิโคนเหลวมักมีปัญหาการไหลย้อนไปที่ต่าง ๆ และมีปฎิกริยาต่อเซลล์ของร่างกายทำให้มีการห้อยย้อย, แข็งตึงและมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของผิวหนังทำให้มีรูปร่างขรุขระ ดูไม่สวยงาม
โดยทั่วไปปัญหาหลักของการฉีดซิลิโคนเหลวคือจะไหลลงตามแรงโน้มถ่วงของโลกไม่ค่อยอยู่ในที่ทำและไม่สลายไปตามเวลา และจะซึมไปทั่วเนื้อเยื่อปกติทำให้การผ่าตัดไม่สามารถเอาออกได้ทั้งหมด จะสามารถเอาออกได้เฉพาะบางส่วน
โดยปกติการฉีดซิลิโคนเหลวจะมีการฉีดตามที่ต่างๆ ในร่างกาย ดังนี้
สารบัญ
- หน้าผาก
เป็นบริเวณที่ฉีดให้หน้าผากโหนกนูนปัญหาที่เกิดคือซิลิโคนเหลวมักจะไหลมาที่บริเวณตาบน - จมูก
หลังจากฉีดปริมาณ 1 ปี จะไหลออกมาด้านข้างของจมูก ทำให้จมูกดูบวมใหญ่ แต่จะไม่มีสันจมูกตามธรรมชาติ - แก้ม
โดยทั่วไปจะฉีดบริเวณโหนกแก้ม แต่หลังจากฉีด เวลาผ่านไปจะไหลลงมาที่กระพุงแก้มทำให้ดูเหมือนคนมีอายุมาก เนื่องจากมีการห้อยย้อยของกระพุ้งแก้ม เหมือนกับแก้มของผู้สูงอายุ - คาง
คางมักมีปัญหาเรื่องการไหลย้อย ทำให้คางยาวขึ้่นเกินไปและการไหลลงไปที่จุดต่ำสุดของคาง ผิวหนังบริเวณที่ต่ำสุดจะแดงและแข็งทำให้ดูไม่สวยงาม - หน้าอก
หน้าอกมักเกิดเป็นก้อนแข็งและตะปุ่มตะป่ำ ทำให้คล้ำดูไม่เป็นธรรมชาติ นอกจากนี้แล้วการคลำได้ก้อนซิลิโคนที่เต้านม ทำให้การตรวจมะเร็งเต้านมทำได้ยาก บางครั้งถ้าเกิดเป็นมะเร็งก็จะไม่รู้ตัวในระยะแรก - อวัยวะเพศ
ซิลิโคนเหลวมีการนำมาฉีดทำอวัยวะเพศชายและหญิง ทำให้มีอวัยวะเพศแข็งแต่ช้ำ เมื่อมีการเสียดสีก็จะเกิดเป็นแผลได้ง่าย - สะโพก
ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ซิลิโคนจะมีการไหลจากสะโพกมาที่ต้นขา โดยทั่วไปคนไข้มักมีการฉีดซิลิโคนเหลวจำนวนมาก ทำให้มักเป็นไตแข็งและอักเสบได้บ่อยๆ
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
1. สำหรับการตัดซิลิโคนตาบน,จมูกและคาง สามารถทำโดยฉีดยาชา ไม่ต้องงดอาหารก่อนมาผ่าตัด
2. ผู้ที่จะผ่าตัดตาบนควรเตรียมนำแว่นกันแดดไปด้วย เพื่อใช้อำพรางดวงตาหลังการผ่าตัด และป้องกันฝุ่นละออง ควรมีผู้ขับรถให้ เพราะหลังการผ่าตัดจะยังใช้สายตาได้ไม่สะดวกนัก จึงไม่ควรขับรถเอง
3. การผ่าตัดซิลิโคนที่แก้ม, หน้าอก, สะโพก, อวัยวะเพศ ต้องดมยาสลบให้งดอาหารและน้ำ 6 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด
4. หลีกเลี่ยงการใช้ยาบางอย่างซึ่งอาจทำให้เลือดหยุดช้า เช่น แอสไพริน ทัมใจ บวดหาย ฯลฯ ถ้ากินยาควรหยุดยาประมาณ 10 – 14 วัน
5. ควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงโรคประจำตัวของคุณ เช่น เบาหวาน,โรคหัวใจ และยาที่แพ้ เช่น เพนนิซิลิน,ซัลฟา ฯลฯ
6. ควรหลีกเลี่ยงการผ่าตัดช่วงที่มีประจำเดือน
7. ถ้าความดันสูงควรควบคุมความดัน ให้อยู่ต่ำกว่า 140/90 mm Hg (มิลลิเมตร ปรอท) เนื่องจากการผ่าตัดทำให้เสียเลือดบางส่วน
8. เตรียมตัวหยุดงานประมาณ 5 วัน
เทคนิคการผ่าตัด
- เปลือกตาบน
การผ่าตัดเหมือนการตกแต่งหนังตาบน โดยตัดผิวหนังออกบางส่วนและตัดก้อนซิลิโคนเหลวที่อยู่ในชั้นใต้ผิวหนังทำการปิดชั้นตาและเย็บปิดแผล - จมูก
โดยเปิดแผลข้างในของจมูกมองไม่เห็นแผลเป็นและเอาซิลิโคนเหลวบริเวณสันจมูกออก โดยมากมักจะมีซิลิโคนบริเวณสันจมูกที่อยู่ลึก ๆ เหลืออยู่ - คาง
การผ่าตัดทำได้ 2 อย่าง คือเป็นแผลในปากหรือผิวหนังใต้คางเพื่อซ่อนแผลเป็นและตัดก้อนซิลิโคนออก การเปิดแผลในปากเพื่อซ่อนแผลเป็นได้ดี - แก้ม โดยทั่วไป จะมีการผ่าตัด 2 แบบ คือ
4.1 เปิดผ่าตัดเหมือนกับการดึงหน้าไปตัดก้อนโดยตรง วิธีนี้มีแผลผ่าตัดใหญ่แต่มีแผลที่สามารถหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนต่อเส้นประสาท
4.2 สามารถเลือกที่มุมปากหรือใต้คางและเข้าไปตัดก้อน โดยช่องทางเล็กๆ วิธีนี้จะมีแผลเล็กแต่โอกาสต่อการกระทบกระเทือนเส้นประสาทได้ - หน้าอก
ต้องทำโดยดมยาสลบตัดเอาออกเฉพาะบางส่วนไม่ให้เสียรูปร่างของหน้าอกไปมาก - อวัยวะเพศ
โดยทั่วไปต้องตัดลดขนาดของอวัยวะเพศร่วมกับตัดก้อนในอวัยวะเพศไปด้วย สำหรับในอวัยวะเพศชายอาจต้องตัดผิวหนังออกแล้วใช้หนังบริเวณอื่น เช่น หนังหุ้มอวัยวะเพศมาปิด - สะโพก
ทำโดยตัดผิวหนังออกบางส่วนและตัดเนื้อเยื่อซิลิโคนออกไป เป็นวิธีที่ต้องใช้เวลานานในการรักษาหลังผ่าตัดนาน เนื่องจากแผลหายช้า
การรักษาอื่นๆ
การรักษาของซิลิโคนโดยวิธีอื่นๆ มี 2 วิธี
1) การฉีดยา ยาที่ใช้เป็นสาร สเตียรอย หรือ 5-FU
2) การผ่าตัด โดย เปิดแผลเป็นรูเล็ก ๆ แล้วตัดซิลิโคนบางส่วนออก
ราคาการผ่าตัดซิลิโคนออก | ราคา (บาท) |
---|---|
ผ่าตัดซิลิโคนออก | ขึ้นอยู่กับดุลพินิจย์แพทย์ |