Scroll Top

brow lift

การดึงคิ้ว

ดึงคิ้ว

การดึงคิ้วเป็นวิธีการผ่าตัด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดึงหน้าผากและการดึงขมับ แต่ เนื่องจาก มีวิธีการผ่าตัด หลายวิธี จึงนำมาเขียนแยกในเรื่องนี้ เมื่อเรามีอายุมากขึ้น คิ้ว จะเลื่อน ตำแหน่งลงมาใกล้ตามากขึ้น โดยที่เราไม่รู้สึกตัว เนื่องจากขบวนการดังกล่าว เกิดขึ้นโดยเวลาเป็น 10 ปี การตกของคิ้วมีผลให้หนังตาทั้ง 2 ข้างหย่อนลงปิดชั้นตา ในคนไข้บางรายที่มีปัญหา เรื่องหางตาตก อาจเกิดจากคิ้วตกร่วมด้วย โดยทั่วไปการตกของคิ้วมักเกิดร่วมกับรอยตีนกาที่ชัดเจน และ รอยย่นหน้าผากที่ชัดเจนขึ้น  บางรายการ ผ่าตัด ชั้นตาบนอาจไม่แก้ปัญหาในผู้ป่วยบางราย อาจต้องผ่าตัดยกคิ้ว เพื่อให้ชั้นตาดูดีขึ้นมากกว่าการทำชั้นตาบนอย่างเดียว

เทคนิคที่ 1

การผ่าตัดดึงหน้าผากโดยทั่วไป อาจทำโดยการฉีดยาชาหรือวางยาสลบ การผ่าตัดดึงหน้าผาก นอกจากจะช่วยยกคิ้วแล้วยัง ช่วยลดรอยย่นบริเวณหน้าผากด้วย ในปัจจุบัน วิธีการดึงคิ้ว มี 2 วิธี คือ

A การผ่าตัดปกติ  จะมีแผลเป็นรอบศีรษะ  สามารถเข้าไปตัดกล้ามเนื้อที่ใช้ขมวดคิ้วได้ ช่วยให้รอยย่นบริเวณหัวคิ้วดีขึ้นมาก

B การผ่าตัดโดยใช้กล้อง (endoscopic forehead lift) มีข้อดีคือมีอาการบวมค่อนข้างน้อย และปัญหาเรื่องการชาบริเวณศีรษะน้อยกว่าวิธีที่ 1 เพราะมีแผลเป็นขนาดเล็ก เนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่ต้องมีอุปกรณ์ช่วย ทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่มีแผลเป็นน้อยกว่าวิธี A

เทคนิคที่ 2

การผ่าตัดดึงขมับ (temporal lift) ใช้กับผู้ที่ต้องการยกคิ้วทางด้านข้าง โดยที่มีรอยย่นที่หน้าผากน้อย และการผ่าตัดช่วยยกคิ้วทางด้านข้างขึ้น ช่วยทำให้ชั้นตาสูงขึ้นในผู้ที่มีคิ้วตกบางราย เทคนิคการดึงขมับมีแผลเป็นได้ 2 บริเวณ คือ

A บริเวณไรผม

B ในไรผม

โดยการผ่าตัดที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการดึงคิ้ว อาจมีแผลเป็นเล็กกว่าการดึงขมับโดยทั่วไป

เทคนิคที่ 3

เป็นการดึงคิ้วโดยใช้การสอดไหม เป็นวิธีการผ่าตัดที่มีแผลบริเวณศีรษะ ขนาด 1.5 cm. และบริเวณคิ้วประมาณ 0.5 cm. สามารถผ่าตัดที่คลินิกได้ มีข้อดีคือมี แผลเป็นเล็กและสามารถฉีดยาชาที่คลินิกได้้ แต่สามารถยกคิ้วได้น้อย และทำให้รอยย่นที่หน้าผากเห็นชัดขึ้น เป็นการดึงยกคิ้วขึ้น โดยที่ผิวหนังบริเวณหน้าผากไม่มีการเปลี่ยนตำแหน่ง

เทคนิคที่ 4

เป็นเทคนิคที่เป็นการตัดผิวหนังที่อยู่เหนือคิ้วออก (Direct browlift of Lewis) วิธีนี้ช่วยให้ดึงคิ้วได้มากกว่าวิธีที่ 2 และ 3 เนื่องจากเป็นการผ่าตัดแก้ไขตำแหน่งคิ้วโดยตรง  แต่เนื่องจากในการตัดผิวหนังที่บริเวณคิ้วโดยตรง ทำให้เห็นแผลเป็นชัดในคนไข้บางราย ผู้ที่เหมาะกับวิธีดังกล่าว คือ

1) ผู้ที่ทำคิ้ว ถาวรอยู่แล้ว หรือต้องการทำคิ้วถาวร โดยแผลเป็นที่เกิดจากการดึงคิ้วสามารถซ่อนในคิ้วได้

2) ผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศในแถบหนาว เนื่องจากแผลเป็นมักเห็นไม่ชัดเจน เนื่องจากรายละเอียดการดึงหน้าผาก ได้กล่าวแล้ว ในหัวข้อการดึงหน้าผาก ในที่นี้ จะกล่าวถึงการยก เฉพาะเทคนิคที่ 2, 3, 4

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดดึงคิ้ว

  1. งดยาต้านการอักเสบ (NSAID) เช่นแอสไพริน บุหรี่ อาหารเสริมบางตัวที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น กระเทียม  น้ำมันปลา อย่างน้อย 2 อาทิตย์ ก่อนการผ่าตัด
  2. สมุนไพรบางชนิดเช่นอีฟนิ่งพริมโรส ยาวิตามินอีปริมาณสูง ๆ อาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรส กระเทียม หัวหอม ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง อาจทำให้เลือดออกมากผิดปกติหรือมีปัญหาระหว่างผ่าตัด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพราะอาจต้องหยุดรับประทานสมุนไพรก่อนเข้ารับการผ่าตัดประมาณ 3 – 5 วัน
  3. สำหรับผู้ที่จะวางยาสลบต้องงดน้ำ งดอาหาร ก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 6  ชั่วโมง
  4. สระผมตอนเช้าก่อนผ่าตัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  5. ผู้ที่มีความดันสูงต้องควบคุมให้เป็นปกติก่อนผ่าตัด  2 อาทิตย์
  6. เตรียมลาหยุดงานประมาณ 5 วัน
  7. ในผู้ที่เตรียมทำ เทคนิคที่ 4 อาจต้องเตรียมทำคิ้วถาวรประมาณ 3 -4 อาทิตย์ หลังผ่าตัด
  8. ควรเตรียมแว่นตามาในวันผ่าตัด เพื่อปกปิดรอยแผลเป็นหลังผ่าตัด (กรณีที่ใช้เทคนิคที่ 3 และ 4)
  9. ถ้ามีโรคประจำตัว ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน
  10. ผู้ที่เป็นโรคหัวใจบางชนิด ต้องกินยาต้านเกล็ดเลือด เช่น ยา aspirin ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนผ่าตัด
  11. ผู้ที่กินยา Cunadin เพื่อป้องกันภาวะการแข็งตัวของเส้นเลือดดำที่ขาหรือในผู้ที่เป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวและหยุดยาก่อนมารับการผ่าตัด
  12. ผู้ที่ใช้เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ( Pacemaker) ไม่ควรทำการผ่าตัด
  13. เครื่องประดับที่เป็นโลหะควรถอดเก็บไว้ที่บ้าน เพื่อป้องกันการสูญหาย เนื่องจากไม่สามารถใส่ระหว่างผ่าตัดได้

ขั้นตอนการผ่าตัดดึงคิ้ว

  1. การผ่าตัด เทคนิคที่ 2 , 3 , 4 สามารถทำโดยฉีดยาชาที่คลินิก
  2. เทคนิคที่ 2 จะมีแผลที่ บริเวณ ไรผม โดยที่มีการ ตัดผิวหนังศีรษะบางส่วนออก แล้วเย็บเพื่อย้ายตำแหน่งใหม่ให้คิ้วสูงขึ้น หลังจากนั้นจะเย็บปิดแผลที่ศีรษะ
  3. สำหรับเทคนิคที่ 3 จะลงบริเวณที่ขอบคิ้ว 0.5 cm. และหนังศีรษะ 1.5 cm. , ยกคิ้วถึงตำแหน่งที่ต้องการ และเย็บปิดแผลบริเวณคิ้วและหนังศีรษะ
  4. เทคนิคที่ 4 จะมีแผล เฉพาะที่ขอบคิ้ว โดยลงแผลที่ขอบคิ้ว ยกคิ้วถึงตำแหน่งที่ต้องการ แล้วเย็บปิดแผล
  5. การผ่าตัดทั้งแบบที่ 2 – 4 ใช้เวลาประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง

การดูแลหลังการผ่าตัดดึงคิ้ว

  1. ประคบเย็นที่ใบหน้า (บริเวณหน้าผากและคิ้วทั้ง 2 ข้าง) วันละ 4 ครั้ง  เพื่อลดอาการบวม ประมาณ  7 – 10 วัน
  2. นอนยกศีรษะสูง (หนุนหมอน  2 ใบ) เพื่อลดอาการบวม
  3. แผลบริเวณคิ้วจะตัดไหมประมาณ 5 วัน
  4. แผลที่ศีรษะโดยปกติจะนัดคลายปมไหม 7 วัน และตัดไหม 10 วัน
  5. หลังจากคลายไหมแล้ว ใช้ “Vitamin E” ทานวดที่แผล เพื่อป้องกันการเกิดแผลเป็นนูนแข็ง (ทานวดประมาณ 3  เดือน) วันละ 2 ครั้ง ทุกๆ วัน
  6. รับประทานยาตามแพทย์สั่งจนหมด ถ้าเกิดอาการแพ้ยา  เช่น  มีผื่นแดง, คัน, คลื่นไส้อาเจียน, แน่นหน้าอก ให้มาพบแพทย์ทันที

หมายเหตุ

  • ล้างหน้า, สระผมได้ตามปกติ (1 เดือนหลังทำผ่าตัดสามารถทำสีผมได้)
  • 2  อาทิตย์หลังทำผ่าตัดนั้น หากที่บริเวณแผลมีรอยเขียวช้ำสามารถประคบน้ำร้อนได้  วันละประมาณ 2  ครั้ง (รอยฟกช้ำนั้นสามารถหายได้ตามธรรมชาติ)
  • หลังตัดไหมแล้ว หากพบไหมยังหลงเหลืออยู่  ให้ดึงหรือตัดออกเอง
  • นวดบริเวณคิ้วและหน้าผาก วันละ  2 ครั้ง  เพื่อลดอาการตึงของแผลเป็น,  อาการแข็งบริเวณแผล และให้โลหิตไหลเวียนสะดวก
  • รับประทานอาหาร, ออกกำลังกายได้ตามปกติ
  • ห้ามถูกแสงแดด ประมาณ 1 เดือน

Privacy Preferences
When you visit our website, it may store information through your browser from specific services, usually in form of cookies. Here you can change your privacy preferences. Please note that blocking some types of cookies may impact your experience on our website and the services we offer.