Scroll Top
Congeniltal ptosis

หนังตาตกตั้งแต่กำเนิด

หนังตาตั้งแต่กำเนิดเกิดจากความพิการของกล้ามเนื้อที่ใช้ยกหนังตา ซึ่งเป็นหนังตาเปิดได้ไม่เต็มที่ อาจเกิดจากสาเหตุหลายอย่าง เช่น ความพิการแต่กำเนิดหรือเป็นภายหลังจากอุบัติเหตุ กล้ามเนื้อหรือเส้นประสาทผิดปกติ ภาวะหนังตาพิการแต่กำเนิดได้บ่อยที่สุด เป็นความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเปิดหนังตาฝ่อแต่เกิดทำให้ไม่ สามารถเปิดหนังตาได้ปกติ ซึ่งอาจเป็นข้างเดียวหรือ 2 ข้างเดียวก็ได้

โดยทั่วไปขณะที่มาทำการปรึกษา แพทย์จะทำการตรวจดูการทำงานของกล้ามเนื้อและความรุนแรงของโรคเพื่อประเมิน วิธีการผ่าตัด ถ้ากล้ามเนื้อยังทำงานได้บางส่วน อาจจะต้องผ่าตัดโดยเย็บกล้ามเนื้อให้มีความสั้นลง แต่ถ้ากล้ามเนื้อทำงานได้น้อยมาก การผ่าตัดต้องใช้กล้ามเนื้อหน้าผากมาดึงหนังตา

ก่อนการผ่าตัดมาทำความรู้จักกับกล้ามเนื้อตากกก่อน ในกรณีที่กล้ามเนื้อตาเกิดตกจากสาเหตุบางชนิดที่เกิดจากสารในกล้ามเนื้อ ซึ่งมักไม่ได้ เป็นตลอดเวลาสามารถใช้ยาช่วยทำให้ลืมตาดีขึ้นได้ ในกรณีที่กล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ แพทย์จะทำการผ่าตัดกล้ามเนื้อทำงานได้น้อยนั้นให้เปิดตาได้ใกล้เคียงกับปกติ แต่เมื่อหลับตาจะปิดตาไม่สนิทเนื่องจากกล้ามเนื้อทำงานได้น้อย กล้ามเนื้อที่ผิดปกติอาจทำให้ตาตกมากหรือน้อยและส่งผลทำให้ตาเปิดได้มากหรือ น้อยตามกำลังของกล้ามเนื้อ

  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาบางอย่างซึ่งอาจทำให้เลือดหยุดช้า เช่น แอสไพริน บรูโรเฟน พอนสแตน ฯลฯ ถ้ากินยาควรหยุดยาประมาณ 10 – 14 วัน
  • สมุนไพรและอาหารบางชนิดเช่น อาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรส กระเทียม หัวหอม ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง อาจทำให้เลือดออกมากผิดปกติหรือมีปัญหาระหว่างผ่าตัด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพราะอาจต้องหยุดรับประทานสมุนไพรก่อนเข้ารับการผ่าตัด ประมาณ3 – 5 วัน
  • วิตามิน และอาหารเสริมต่างๆ เช่น วิตตามินซี อีฟนิ่งพริมโรส กลูต้า คลอลาเจน และอื่นๆ ควรหยุดทานอย่างน้อย 10-14 วันก่อนการผ่าตัด
  • ควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงโรคประจำตัวของคุณ เช่น เบาหวาน ความดัน โรคหัวใจ และยาที่แพ้ เช่น เพนนิซิลินซัลฟา ฯลฯ
  • ควรเตรียมนำแว่นกันแดดไปด้วย เพื่อใช้อำพรางดวงตาหลังการผ่าตัด และป้องกันฝุ่นละอองควรมีผู้ขับรถให้ เพราะหลังการผ่าตัดจะยังใช้สายตาได้ไม่สะดวกนัก จึงไม่ควรขับรถเอง
  • เตรียมลาหยุดงาน 5 วัน
  • ล้างหน้าก่อนมาผ่าตัด ไม่ควรแต่งหน้าในวันผ่าตัด
  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด ต้องการยา aspirin หรือ ผู้ที่เป็นโรคลิ้นหัวใจและทานยา Cumadinเป็นประจำ สามารถทำผ่าตัดได้ต่อเมื่อแพทย์ที่รักษายินยอมให้ทำการผ่าตัดและจะทำผ่าตัด เฉพาะในโรงพยาบาลเท่านั้น
  • ผู้ที่ใช้เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ไม่ควรมารับการผ่าตัด เนื่องจากเครื่องจี้ไฟฟ้าอาจมีผลต่อการทำงานของเครื่องกระตุ้นหัวใจได้
  • ถ้ามีความดันโลหิตสูง ต้องควบคุมให้ต่ำกว่า 140/90 mm Hg (มิลลิเมตร ปรอท)ก่อนมารับการผ่าตัด
  • ถ้าใส่คอนแทคเลนส์ ควรถอดออกแล้วใส่แว่นตา วันที่มาผ่าตัดควรมีคนมาเป็นเพื่อน เพื่อช่วยดูแลขณะกลับบ้าน
  • ถอดวัสดุโลหะ เช่น แหวน, สร้อยคอ, นาฬิกา ฯลฯ ก่อนเข้าห้องผ่าตัด

การรักษา

  • ในกรณีที่กล้ามเนื้อตาเกิดตกจากสาเหตุบางชนิดที่เกิดจากสารในกล้ามเนื้อ ซึ่งมักไม่ได้
    เป็นตลอดเวลาสามารถใช้ยาช่วยทำให้ลืมตาดีขึ้นได้
  • ในกรณีที่กล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ แพทย์จะทำการผ่าตัดกล้ามเนื้อทำงานได้น้อยนั้นให้เปิดตาได้ใกล้เคียงกับปกติ แต่เมื่อหลับตาจะปิดตาไม่สนิทเนื่องจากกล้ามเนื้อทำงานได้น้อย กล้ามเนื้อที่ผิดปกติอาจทำให้ตาตกมากหรือน้อยและส่งผลทำให้ตาเปิดได้มากหรือ น้อยตามกำลังของกล้ามเนื้อ

เทคนิคการผ่าตัด

การผ่าตัดมี 2 วิธี คือ

  1. เย็บกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเปิดตาให้สั้นลง ใช้ในกรณีเป็นน้อยหรือปานกลาง
  2. ใช้กล้ามเนื้อหน้าผากและคิ้วในการช่วยเปิดตา ใช้ในกรณีเป็นมาก

ขั้นตอนการผ่าตัด

  1. แพทย์จะทำการวัดความรุนแรงของหนังตาตก และการตรวจการทำงานของที่ใช้ยกหนังตาเพื่อเลือก   กล้ามเนื้อ วิธีการผ่าตัดว่าจะใช้วิธีการเย็บกล้ามเนื้อ (Levator Plication) หรือการใช้กล้ามเนื้อหน้าผากมาดึงหนังตา (Frontalis Sling)
  2. ฉีดยาชาที่เปลือกตา
  3. ทำการเย็บยกกล้ามเนื้อตา
  4. เย็บปิดแผล

การดูแลหลังการผ่าตัด

  1. นอนยกศีรษะสูง (หนุนหมอน 2 ใบ) ประคบเย็นที่ตาทั้ง 2 ข้าง วันละ 4 ครั้ง ประคบประมาณ 5 – 7 วัน เพื่อลดอาการบวม
  2. ผ้าก็อส (GAUZE) ที่ปิดแผลบนตานั้นให้ปิดเพียง 1 วัน หลังจากทำผ่าตัด จากนั้นให้เปิดผ้าออกได้เลย ไม่ต้องนำมาปิดอีก
  3. ใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำยาสะอาดในขวดเช็ดคราบเลือดและสิ่งสกปรกออก โดยเช็ดอย่างเบามือวันละ 2 – 3 ครั้ง และเช็ดได้บ่อย ๆ เมื่อสกปรก
  4. รับประทานยาตามแพทย์สั่งจนหมด ถ้าเกิดการแพ้ยา เช่น คัน มีผื่นแดง คลื่นไส้ – อาเจียนแน่นหน้าอกให้หยุดรับประทานทันที และรีบมาพบแพทย์
  5. หลังทำผ่าตัด 5 วัน ให้มาตัดไหม
  6. หลังทำผ่าตัด 2 อาทิตย์ หรือ 1 เดือน ให้มาพบแพทย์เพื่อตรวจอาการอีกครั้ง (โทรนัดล่วงหน้า)
  7. งดสุราหรือบุหรี่ 2 อาทิตย์ หลังผ่าตัด
  8. กลับบ้านได้ แต่ควรหาโชเฟอร์มาขับรถให้
  9. อาจจะมีน้ำตาไหลตลอดเวลาชั่วระยะหนึ่ง โดยเฉพาะเวลาที่โดนลม แต่จะหายไปภายในไม่กี่อาทิตย์

การดูแลหลังการตัดไหม

  1. หลังจากตัดไหมแล้วตาจะยังมีอาการบวมอยู่ประมาณ 2 อาทิตย์ถึง 1 เดือน จากนั้นประมาณ 3 เดือน แผลจะหายเป็นปกติ และดูเป็นธรรมชาติ
  2. หลังตัดไหมแล้ว ให้ใช้ EYE CREAM ทานวดที่แผลครั้งละ 30 – 40 ครั้ง วันละ 2 เวลา (เช้า-เย็น) เพื่อป้องกันการเกิดแผลเป็นนูนแข็ง
  3. หลังทำผ่าตัดแล้ว 1 อาทิตย์ ในกรณีที่แผลเขียวช้ำ สามารถประคบอุ่นได้ โดยประคบวันละประมาณ 2-3 ครั้ง ประมาณ 3-5 วัน
  4. หากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับแผล เช่น ตาแดงมาก เคืองตา แผลแยก ให้มาพบแพทย์ทันที
  5. ล้างหน้า รับประทานอาหาร ออกกำลังกาย โดนแสงแดดได้ตามปกติห้ามขยี้ตาแรงเป็นเวลา 2 เดือน
Privacy Preferences
When you visit our website, it may store information through your browser from specific services, usually in form of cookies. Here you can change your privacy preferences. Please note that blocking some types of cookies may impact your experience on our website and the services we offer.