Scroll Top
capsular contracture

การผ่าตัดแก้ไขพังผืดรัดหลังการเสริมหน้าอก

การผ่าตัดแก้ไขพังผืดรัดหลังการเสริมหน้าอก

ปัญหาที่เกิดได้บ่อยหลังการเสริมหน้าอกโดยใช้ถุงเต้านมเทียม คือการเกิดพังผืดแข็ง โดยทั่วไปทุกๆคนที่เสริมหน้าอกโดยใช้ถุงเต้านมเทียมจะเกิดพังผืดล้อมรอบถุงเต้านม เรียกว่าแคปซูล ถ้าพังผืดหนามากจะทำไห้เกิดรูปทรงเต้านมเปลี่ยนไปและแข็งขึ้น เวลาสัมผัส และมีภาวะแข็งมากและอาจจะมีการเจ็บปวดร่วมด้วย

การเกิดเต้านมแข็ง อาจแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับโดยการใช้การแบ่งแบบ BAKER

  • ระดับที่ 1 ไม่มีพังผืดรัด เป็นเต้านมที่นิ่มตามปกติ ถุงเต้านมคลำไม่ได้ และมองไม่เห็นการแข็งของเต้านม
  • ระดับที่ 2 มีพังผืดเล็กน้อย รู้สึกว่าถุงซิลิโคนขยับได้น้อย และตึงๆมือ แต่ยังขยับได้ ถุงมีลักษณะไม่นิ่มเหมือนปกติ
  • ระดับที่ 3 เกิดพังผืดแบบปานกลาง ถุงเต้านม มองเห็นได้ชัดเจนและมองเห็นเป็นก้อนดูไม่เป็นธรรมชาติ
  • ระดับที่ 4 เกิดพังผืดแข็งมาก เต้านมมองดูเป็นก้อนและแข็งตึง มีรูปร่างผิดปกติและอาจอยู่ในตำแหน่งที่ผิดปกติ การหดรัดของพังผืดทำให้รูปร่างของถุงซิลิโคนเปลี่ยนไปมากจนมองเห็นผิดปกติ อาจมีอาการปวดร่วมด้วย โดยอาการปวดนั้น จะเป็นๆหายๆ หรือปวดตลอดเวลา

“การเกิดพังผืดสังเกตได้ 5-8%”

สาเหตุที่เชื่อว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับการเกิดพังผืดหดรัด ได้แก่

  • 1. การเกิดภาวะเลือดออกในช่องว่าง
  • 2. การติดเชื้อในระดับต่ำ เชื่อว่ามีการติดเชื้อในชั้น BIOFILM ที่หุ้มรอบผิวซิลิโคน ทำไห้เกิดพังผืดได้
  • 3. การสูบบุหรี่มีผลให้ เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื้อต่างๆน้อยลงทำไห้มีออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์น้อย ทำไห้มีโอกาสเกิดพังผืดได้ง่าย
  • 4. การรั่วไหลของเจลจากถุงซิลิโคน  ถุงเจลในอดีตบางบริษัทมีการผลิตไม่ได้มาตรฐาน ทำไห้เจลที่เป็นของเหลวรั่วไหลออกนอกถุงได้  การใช้เจลที่ ไม่ไหลภายในและการทำเปลือกถุง แข็งเรงขึ้นในปัจจุบันช่วยให้ลดปัญหา การรั่วไหลของเจล ผ่านเปลือกถุงช่วยลดปัญหาการเกิดพังผืดรัด
  1. การใส่ถุงระดับใต้กล้ามเนื้อ การยืดหดของกล้ามเนื้อตลอดเวลาบนถุงเต้านม จะมีลักษณะเหมือนกับการนวดเต้านมโดยธรรมชาติ จึงช่วยลดอัตราการเกิดพังผืด
  2. การนวด การนวดสม่ำเสมอทุกวันในช่วงเดือนแรก ช่วยยืดแคบซูลให้มีการขยายออก และช่วยให้ถุงเต้านมนิ่ม
  3. การใช้ถุง Poly urethane ซึ่งเป็นถุงเต้านมแบบพิเศษที่มีการใช้ในอดีต และบางประเทศใช้ ในปัจจุบัน ถุง Poly urethane เป็นถุงเต้านมเทียมแบบเจล มีการผลิตทั้งแบบหยดน้ำและทรงกลม มีลักษณะภายในเหมือนถุงเต้านมเทียมแบบเจลทุกประเภท แต่ภายนอกสุดปิดด้วยแผ่นโฟมโพลียูริเทน  ถุงโพลียูรีเทน เป็นถุงที่ช่วยลดอัตราการเกิดพังผืดได้มากจาก 7-10% ลดลงเหลือน้อยกว่า 1% หลังจากใส่ถุงไป 4-5 ปี โฟมที่เคลือบจะค่อยๆสลายไปกลายเป็นถุงเจลธรรมดา

    *”ปัญหาถุงโพลียูริเทน
     คือแผ่นโฟมที่สามารถสลายได้ เปลี่ยนเป็นสารที่เรียกว่า 2-4 TDA ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง แต่ไม่ได้มีหลักฐานแน่ชัดว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ทำไห้ FDA ในอเมริกาออกกฎห้ามใช้ถุงชนิดนี้ตั้งแต่หลายปีก่อน อย่างไรก็ตาม จากสาร 2-4 TDA มีการตรวจพบในปริมาณที่น้อยมากและไม่มีหลักฐานแน่ชัด ถึงความเกี่ยวข้องกับมะเร็งในมนุษย์ ทำไห้มีการนำถุงโพลียูรีเทน มาใช้ใหม่ในยุโรปและบางประเทศ
    เป็นที่ทราบว่าถุงโพลียูรีเทน เป็นถุงที่ช่วยลดปัญหาการเกิดพังผืดได้ดี ทำไห้มีการคิดหาถุงเจลใหม่ที่มีผิวเหมือนกับแผ่นโฟมโพลียูรีเทน โดย Mentor ใช้วิธีการทำผิวทรายโดยใช้ ถุงเจลที่เป็นแผ่นทรายมาอัดทับบนแผ่นโฟมเพื่อให้ผิวเหมือนโฟม แต่อย่างไรก็ตาม อัตราการเกิดพังผืดของถุงเจลที่มีผิวทรายด้วยวิธีนี้ ยังสูงกว่าการเกิดพังผืดของถุงโพลียูริเทนอยู่มาก*”
  4. ยา การใช้ยาบางชนิด  อาจช่วยลดพังผืดเช่น
    1. สเตียร์รอย ใช้ในตำแหน่งช่องว่างที่สร้าง เพื่อใส่ถุง แต่อาจมีปัญหาเรื่องผิวหนังที่บางลง และมีการเลื่อนลงของถุงได้
    2. ยารับประทานบางชนิดอาจช่วยลดพังผืดเช่น
      1. Vitamin E ได้ผลไม่แน่นอน
      2. Papavarime
      3. Zafirlukast (Acculate) และ Singulair ยา 2 ชนิดเป็นยาที่ใช้รักษาหอบหืด  การออกฤทธิ์เป็นเรื่องของการต้านการอักเสบของยา โดยที่ Acculate  ให้ใช้ 20 mg. วันละ 2 ครั้ง อย่างไรก็ตาม Acculate เป็นยาที่ไม่มีในประเทศไทย ยาที่ใช้ทดแทนได้แก่ Singulair
  5. อัลตราซาวด์ การใช้อัลตราซาวด์อาจช่วยลดความแข็งของพังผืด โดยช่วยลดการอักเสบภายใน เพิ่มช่องทางเดินน้ำเหลือง ขบวนการทำงานของอัลตร้าซาวด์ เหมือนเป็นการนวดโดยใช้คลื่นช่วยลดอาการบวม การใช้อัลตร้าซาวด์ อาจช่วยทำลายผนังแคปซูลให้บางลง
  6. การนวดหลังผ่าตัด การนวดอาจช่วยลดการเกิดพังผืดรอบถุงได้ แต่ในถุงทรงหยดน้ำไม่แนะนำให้นวด เพื่อป้องกันการหมุนของถุง แต่ถ้าจะนวด ถุงทรงหยดน้ำ ให้รอหลังจากการผ่าตัด 3 อาทิตย์ เพราะเป็นเวลาที่พังผืดรอบๆแข็งแรงไม่เกิดการหมุน
  7. การใช้ผ้ารัดเต้านม เพื่อขยับตำแหน่งของถุงเต้านม อาจช่วยลดพังผืด โดยผ้ารัดจะออกแรงต้านกับกล้ามเนื้อหน้าอก ทำไห้กล้ามเนื้อมีแรงกดไปที่ถุงซิลิโคนมากขึ้น

การรักษาพังผืด

1. การรักษาโดยการนวดและการใช้ยา

กรณีที่เกิดพังผืดระยะแรกหรือ พังผืดไม่แข็งมาก การนวดช่วยให้พังผืดนิ่มลง วิธีการนวด ทำเพื่อให้พังผืดขยายและนิ่มขึ้น การนวดแบบรุนแรงเพื่อให้ พังผืดแยกจากกัน  หรือแตกออกที่เรียกกันว่า ป๊อปนม ไม่แนะนำให้ทำ เพราะอาจทำให้ถุงเต้านมแตกได้  หรืออาจมีการแยกของพังผืดด้านเดียว รูปร่าง รูปทรงของเต้านมมักจะไม่สวยงาม
การนวดเพื่อขยายพังผืด ควรนวดทุกวัน วันละ 2-3 ครั้งเป็นเวลา 2-3 เดือน โดยทั่วไปแนะนำให้ใช้ยา Acculate 20mg.  วันละ 2 ครั้งหรือยาในประเทศไทย อาจใช้ยา Singulair แทนได้ อนึ่งการใช้ยาและการนวดจะได้ผล ในกรณีที่มีการเกิดพังผืด ระดับที่ 2-3  ระดับที่ 4 มักไม่ค่อยได้ผล

2. การผ่าตัด

เทคนิคที่ 1 การเปลี่ยนตำแหน่งหรือย้ายระดับ
การผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนตำแหน่งของถุงเต้านมเทียม วิธีการดังกล่าว สามารถทำได้โดยเปิดถุงพังผืดแล้วเอาถุงเต้านมเทียมออก แล้วใส่ถุงกลับไปในตัวหน้าอกใหม่ในอีกระดับหนึ่ง  ซึ่งอาจเป็นตำแหน่งเหนือกล้ามเนื้อหน้าอกหรือใต้กล้ามเนื้อหน้าอกก็ได้ โดยบางครั้งอาจใช้ถุงเต้านมเดิม หรืออาจต้องใช้ถุงเต้านมใหม่ การเปลี่ยนตำแหน่งถุง อาจเปิดแผลเดิม โดยเปิดตำแหน่งใต้รักแร้  ปานนม หรือใต้ราวนม

วิธีการผ่าตัดเพื่อย้ายระดับมักทำได้  โดยแผลผ่าตัดทุกแผลยกเว้น กรณีที่พังผืดแข็งมากไม่สามารถ ขยายช่องว่างตำแหน่งอื่นได้ อาจจะต้องขยายพังผืดแทน
วิธีการย้ายระดับอาจทำได้โดย

A. ย้ายจากใต้กล้ามเนื้อมาเป็นเหนือกล้ามเนื้อ ใช้ในคนที่มีเนื้อเต้านมพอ หรือเต้านมคล้อยอยู่แล้ว  กรณีนี้ทรงของเต้านมจะดูสวยงามตั้งแต่แรก เพราะส่วนของถุงเต้านมใหม่อยู่เหนือช่องว่างเดิม

B. ย้ายจากเหนือไปใต้กล้ามเนื้อ  ได้ประโยชน์ในคนที่เต้านมบางและหย่อนยานไม่มาก หรือคลำขอบถุงได้ชัดเจน เนื่องจากวิธีนี้เป็นวิธีขยายช่องใหม่ของใต้ช่องว่างเดิม รูปทรงของเต้านมหลังผ่าตัดจะดูไม่สวยงาม และจะอยู่สูงในระยะแรก อาจคลำได้ขอบถุงเดิมที่อยู่ใต้ผิวหนัง ต้องรอประมาณ 3 เดือนถุงเต้านมในตำแหน่งใหม่ก็จะคล้อยลง และพังผืดเดิมที่อยู่ในระดับบน ก็จะนิ่มและเป็นธรรมชาติ

C. การย้ายไปในตำแหน่งช่องว่างใหม่ ที่เหนือช่องว่างเดิม ใช้หลังกรณีที่เราไม่ต้องตัดพังผืดออก การสร้างช่องว่างในตำแหน่งเดิม เหนือพังผืด ก็ช่วยให้ถุงอยู่ในตำแหน่งใหม่ที่นิ่มขึ้นได้ ตำแหน่งที่ใส่ถุงใหม่ มักใช้กับกรณีเดิมที่ผ่าตัดใต้กล้ามเนื้อ  เราเรียกว่าการสร้างช่องใต้กล้ามเนื้อใหม่ (Neosuppectoral)  แต่การใช้ถุงเดิมในคนไข้ที่เสริมเหนือกล้ามเนื้อ การสร้างช่องว่างในระดับเหนือกล้ามเนื้อใหม่ บนช่องเดิมเรียกว่าช่องใต้เนื้อเต้านมใหม่  (Neosuppectoral) เป็นวิธีแก้ปัญหาในบางรายได้เช่นกัน

เทคนิคที่ 2 การผ่าตัดแก้ไขพังผืด
การผ่าตัดเลาะถุงพังผืดออก อาจทำเพียงแค่ตัด เปิดบางส่วนของ Capsulotomy หรือตัดเอาพังผืดทั้งหมดออก Capsulotomy การผ่าตัดเลาะเอาพังผืดออก ต้องทำโดยการลงแผลที่บริเวณปานนม หรือขอบเต้านม ไม่สามารถผ่าตัดผ่านทางรักแร้ได้ ยกเว้นกรณีที่ผ่าตัดโดยใช้กล้อง วิธีนี้จะสามารถเอาพังผืดออกได้ด้วย โดยเฉพาะกลุ่มพังผืดที่มีแคลเซียมเกาะ

A. การขยายพังผืด( Capsulotomy ) ในกรณีที่ใส่ถุงไว้ใต้กล้ามเนื้อ การผ่าตัดโดยการขยายพังผืดสร้างตำแหน่งโดยไม่ต้องผ่าตัดพังผืดที่ติดกับกระดูกซี่โครงเพราะอาจเกิดการทะลุกับกล้ามเนื้อที่อยู่ระหว่างซี่โครงได้ การขยายพังผืดถ้าทำได้ดี และสร้างช่องว่างกว้างก็จะทำไห้ถุงนิ่มลงได้ ในกรณีของเหนือกล้ามเนื้อเป็นการขยายพังผืด อาจทำทุกทิศทางแต่ในรายที่ผิวหนังบางมากมักจะหลีกเหลี่ยงการขยายพังผืดบริเวณด้านหน้าส่วนที่ติดกับผิวหนัง

B. การเกิดพังผืดทั้งหมด ( Capsulotomy) ในกรณีการเกิดพังผืดระดับเหนือกล้ามเนื้อ แต่ในระดับใต้กล้ามเนื้อ จะทำเฉพาะในคนที่มีปัญหา ALCL

การปรึกษาแพทย์ก่อนผ่าตัด

  • ควรตัดสินใจว่าต้องการเปลี่ยนถุงเต้านมด้วยหรือไม่
  • เตรียมหยุดงาน ประมาณ 1-2 อาทิตย์
  • เลือกวิธีการผ่าตัด เทคนิคที่ 1 หรือ 2
  • เลือกแผลผ่าตัด ถ้าผ่าตัดพังผืดแบบแคปซูล ควรเลือกแผลปานนมหรือใต้ราวนม แผลรักแร้มักจะทำได้ ในกรณีที่ต้องย้ายระดับการใส่เท่ากัน

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด

  • งดอาหารและน้ำ 6 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
  • ถ้ามีโรคประจำตัวควรแจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้า
  • งดยาแก้ปวดกลุ่ม ทัมใจ หรือ Aspirin 10 วันก่อนผ่าตัด
  • เตรียมหยุดงานประมาณ 5-7 วันหลังผ่าตัด
  • เตรียมยกทรงขนาดใหม่ถ้าต้องการเปลี่ยนขนาดถุงให้มีขนาดเล็กลงหรือใหญ่ขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการผ่าตัดในช่วงมีประจำเดือน
  • ปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเข้าห้องผ่าตัด
  • ตรวจเลือดดูระบบโลหิต การทำงานของไต เอ็กซเรย์ปอด และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • ถ้าอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 35 ปี ควรพาเพื่อนมาด้วยในวันผ่าตัด
  • โกนขนรักแร้ในวันที่มารับการผ่าตัด
  • อุปกรณ์ ของมีค่าถ้าไม่จำเป็นควรเก็บไว้ที่บ้าน

ขั้นตอนการผ่าตัด

  • ทำโดยดมยาสลบ
  • ทำการลงแผลผ่าตัดซึ่งอาจอยู่ที่ปานนม รักแร้ หรือใต้ราวนม แพทย์จะสร้างตำแหน่งใส่ถุงเต้านมใหม่และเลาะเอาพังผืดออกตามที่ตกลงก่อนผ่าตัด
  • นำถุงเต้านมเทียมออก และใส่ถุงใหม่เข้าไป
  • เย็บปิดแผลที่ใส่ถุงเต้านมเทียม

การดูแลหลังผ่าตัด

  • วันแรกหลังการผ่าตัด  แพทย์จะเอาสายระบายน้ำเหลืองออกแล้วคลายผ้าพันแผลให้หลวม
  • วันที่ 3 หลังการผ่าตัด ให้ถอดผ้ายืดออก แล้วเปิดแผลทั้ง 2 ข้าง แล้วใส่ชุดชั้นในแบบ Sport Bra หรือไม่มีโครง
  • สามารถอาบน้ำถูสบู่ถูกแผลได้ทันที
  • ควรใส่บราทั้งกลางวันและกลางคืนในช่วงอาทิตย์แรก
  • วันที่ 5-7 จะนัดมาทำการตัดไหมและตรวจเต้านม เริ่มทำการนวดเบาๆ
  • ไม่ควรยกของหนัก หรือ ออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อหน้าอก  ประมาณ 2 อาทิตย์
  • อาทิตย์ ที่ 2 เริ่มทำการนวดเต้านม วันละ 10-15 นาที อย่างน้อย 2 หนต่อวัน ขณะอาบน้ำ
  • ถ้าจะตั้งครรภ์ควรรอ 6 เดือนจึงตั้งครรภ์ได้
  • ควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งให้ครบ โดยแพทย์จะนัดตัดไหมประมาณ 1 อาทิตย์
  • ควรนวดคลึงเต้านมบ่อยๆ อย่างน้อย 6 เดือน เพื่อป้องกันปัญหาโพรงที่ใส่ถุงนมมีการหดรัดรอบถุงขึ้นมาใหม่  ทำไห้เต้านมแข็งและหดเป็นก้อน
Privacy Preferences
When you visit our website, it may store information through your browser from specific services, usually in form of cookies. Here you can change your privacy preferences. Please note that blocking some types of cookies may impact your experience on our website and the services we offer.