Scroll Top
liposuction
ผ่าตัดดูดไขมัน

เป็นการผ่าตัดที่ช่วยกำจัดไขมันส่วนเกินตรงบริเวณที่ไม่ต้องการ เช่น ท้องน้อย ต้นขา สะโพก เข่า แขน คาง แก้ม และคอ ฯลฯ การดูดไขมันเป็นการลดสัดส่วนเฉพาะที่ ไม่ใช่การลดน้ำหนัก เพื่อให้รูปร่างแต่ละส่วนนั้นๆ ดูดีขึ้น หลายคนคิดว่าถ้าดูดไขมันแล้วจะผอมลงมากคงต้องบอกว่าดูดไขมันครั้งเดียว แล้วจะผอมไม่เป็นความจริง วิธีนี้จึงไม่เหมาะสำหรับคนอ้วนหรือถ้าคนอ้วนก็จะต้องลดน้ำหนักลงเสียก่อน กระทั่งสามารถรักษาน้ำหนักตัวคงที่เป็นเวลาประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี จนเหลือไขมันส่วนเกินเฉพาะที่

นอกจากนี้คุณยังควรมีผิวหนังที่ยืดหยุ่น ไม่ลายหรือหย่อนยานเพื่อว่าหลังจากดูดไขมันแล้วผิวหนังคุณจะได้หดตามได้ เพราะถ้าผิวหนังยืดหยุ่นได้ไม่ดี หลังการดูดไขมัน ผิวหนังก็จะหย่อนยานมากขึ้น ดังนั้น การดูดไขมันควรที่จะทำในคนที่อายุไม่มากเกินไป อย่างไรก็ตามถ้ายอมรับได้ในบางตำแหน่ง ว่าสามารถยอมรับการหย่อนยานเล็กน้อยเช่นด้านข้างๆ หน้าท้องก็สามารถทำผ่าตัดได้

การผ่าตัดดูดไขมันเป็นการผ่าตัดที่เกิดขึ้นไม่นานในโลก มีการผ่าตัดโดยการใช้ท่อดูดไขมันแบบปัจจุบันในปี 1978 หรือประมาณ 35 ปีเท่านั้นเองหลังจากการผ่าตัดครั้งแรกยังไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ จึงมีการพัฒนาเทคนิคการผ่าตัดร่วมถึงการพัฒนาหัวดูดไขมันและเทคนิคที่ทำร่วม กับการดูดไขมันให้ปลอดภัย จึงทำให้เทคนิคในปัจจุบันมีความหลากหลายมากกว่าเดิมมาก ในระยะแรกการพัฒนาเรื่องเทคนิคการดูดไขมันแต่ในระยะหลังจะเป็นการพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ดูดมากกว่าสำหรับเทคนิคการดูดไขมัน มีดังนี้

1. เทคนิคดั้งเดิม [CLASSICAL TECHNIQUE] 

เป็นการดูดไขมันระยะแรกที่ทำกันก่อนที่จะมีการคิดค้นเรื่องการฉีดน้ำเกลือโดยแยกเป็น 2 วิธี คือ

DRY TECHNIQUE

เป็น เทคนิคที่ใช้หัวดูดไขมันโดยตรงไม่ต้องฉีดสารใดเข้าไปก่อน เทคนิคนี้มักใช้ร่วมกับการผ่าตัดอื่นๆเช่นการตัดไขมันหน้าท้อง ข้อเสีย ของเทคนิคนี้คือมีโอกาสเสียเลือดและเกิดความไม่สม่ำเสมอได้มากจึงไม่นิยมทำ กัน

WET TECHNIQUE

แพทย์จะฉีดยาชาผสมกับสารที่ทำให้เลือดหยุดก่อนใส่สายดูดไขมันออกมา

2. เทคนิคแบบใหม่ [MODERN TECHNIQUE] แบ่งเป็น

เครื่องดูดไขมันที่มีการสั่นได้ [POWER ASSITIED LIPOSUCTION VIBROLIPO]

เป็น เครื่องดูดไขมันที่มีการเลื่อนเข้าออกได้ในตัวเองโดยการสั่น เครื่องสั่นจะทำงานโดยใช้ปั๊มลมหรือไฟฟ้า ช่วยทุ่นแรงในการดูดไขมันลดเวลาผ่าตัดและลดการเกิดคลื่นที่ผิวหนัง

เทคนิคที่มีการฉีดน้ำเกลือ [TUMESCENT /SUPER WET TECHNIOUE / CLASSIC TUMESCENT]

ทำ โดยการฉีดน้ำเกลือผสมกับยาชาและอดินาลีน ฉีดเข้าไปในบริเวณที่จะดูดไขมันก่อนเทคนิคนี้ สามารถใช้หัวดูดขนาดเล็กๆ (1-3 mm) ได้ช่วยลดอาการเสียเลือด และลดการเกิดคลื่นหลังผ่าตัดได้มากขึ้น เทคนิคนี้เป็นเทคนิคมาตรฐานในปัจจุบัน

เครื่องดูดไขมันร่วมกับเลเซอร์ [Laser Assisted liposuction ,Smart lipo]

เป็นการใช้เลเซอร์ละลายไขมัน เลเซอร์ที่ใช้เป็น NDYAG โดยหัวเลเซอร์ติดอยู่ที่ปลายท่อเช่นเดียวกับอัลตร้าซาวด์ โดยทั่วไปอาจใช้เลเซอร์ละลายไขมันและดูดออกแต่ใช้บริเวณเล็กๆสามารถใช้ เลเซอร์เข้าไปละลายโดยไม่ดูดไขมัน เนื่องจากไขมันที่ละลายจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้เอง ถ้าใช้เลเซอร์เข้าไปกระตุ้นคอลลาเจนใต้ผิวหนังและช่วยให้ผิวหน้าตึงมาก

การดูดไขมันร่วมกับการฉีดน้ำ [WATE R ASSISTED LIPOSUCTION WATER JET]

เป็นการดูดที่ใช้หัวดูดซึ่งเป็นท่อที่มี 2 รู รูด้านในเป็นรูทำหน้าที่ปล่อยน้ำเกลือผสมยาชารูด้านนอกเป็นรูสำหรับดูดไขมัน การฉีดน้ำช่วยแยกเซลล์ไขมันออกจากเซลล์ใต้ผิวหนังและ
ถูกดูดผ่านท่อดูดไขมันทันที อย่างไรก็ตามการใช้แบบฉีดน้ำเพิ่งเริ่มมีการใช้ประมาณ 4-5 ปี ผลของการดูดยังไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าดีกว่าแบบเดิมหรือไม่

การใช้อัลตร้าซาวด์ [ULTRASOUND ASSISTED LIPOSUCTION /UAL]

หรือเครื่องที่นำมาใช้ได้แก่เมื่อ 10 ปีก่อน มีการใช้อัลตราซาวน์ภายนอกโดยใช้หัวอัลตราซาวด์วางที่ผิวหนังที่จะดูดก่อนที่จะเริ่มทำการดูดเพื่อทำให้ไขมันแตกตัวแล้วจะค่อยทำ การดูด ในปัจจุบันมีการทำหัวอัลตราซาวด์ตัดที่ปลายท่อที่ทำเหมือนกับท่อดูดไขมันโดย การผ่าตัดจะมีการฉีดน้ำเกลือเหมือนกับเทคนิค A ก่อนแล้วสอดท่ออัลตราซาวด์ไปเป็นส่งผ่านพลังงานในการละลายไขมันแล้วจึงทำการ ดูดไขมัน ข้อดีของ การใช้อัลตราซาวด์ช่วยลดอาการบวมและอาการปวดหลังผ่าตัดอย่างไรก็ตามเนื่อง จากอัลตราซาวด์มีการส่งผ่านความร้อนเข้าไปในช่องผิวหนังต้องระมัดระวังไม่ ควรใช้เวลานานเกินไปและต้องระวังการใช้ในส่วนที่มีเส้นประสาทสำคัญเช่นคอและ ใบหน้า เทคนิคการใช้อัลตราซาวด์ยังเป็นเทคนิคที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่หลาย บริษัทจึงมีความหลากหลายในเรื่องเครื่องมือและยังไม่มีข้อสรุปในเรื่องความ ปลอดภัยของการผ่าตัดและข้อจำกัดของเทคนิค ในกรณีที่ต้องการดูดไขมันมากๆ อาจไม่เหมาะจะใช้อัลตราซาวน์เพราะมีความร้อนในร่างกายมากจะทำให้มีการสูญ เสียน้ำและเกลือแร่หลังการผ่าตัดมีผลต่อระบบไหลเวียนเลือดได้

เทคนิคการผ่าตัด

เทคนิคการดูดไขมันที่ใช้ที่คลินิคมีดังนี้้

1. WET TECHNIQUE

ในกรณีที่ดุดไขมันในพื้นที่ขนาดเล็กอาจทำโดยการฉีดยาชาผสมอดีนาริน ในบริเวณนั้นๆ แล้วทำการดูดไขมันออกได้เลย

2. เทคนิคที่ใช้การฉีดน้ำเกลือ [TUMESCENT TECHNIQUE]

เป็น เทคนิคมาตรฐานที่ใช้บ่อยที่สุด อาจไม่ต้องวางยาสลบ ถ้าดูดไม่มาก แต่ถ้าต้องการดูดหลายตำแหน่งต้องดมยาสลบ การผ่าตัดทำโดยการเปิดแผลที่รอบพับที่ซ่อนแผลเป็นได้ ฉีดน้ำเกลือผสมอดีนารินแล้วรอระยะหนึ่งแล้วจะดูดไขมันโดยใช้เครื่องดูดไขมัน ข้อดีของวิธีนี้คือลดความเจ็บปวด ลดการสูญเสียเลือด, ลดปัญหาการที่ผิวหนัง ไม่สม่ำเสมอ

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด

  1. ไปพบศัลยแพทย์เพื่อตรวจเช็คสุขภาพ ลักษณะผิวหนังและไขมันสะสม
  2. แจ้งให้แพทย์ทราบถึงโรคประจำตัว เช่นความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, หอบหืด
  3. งดยาที่ทำให้เลือดหยุดช้า เช่น แอสไพริน บูรา บวดหาย ทัมใจ ฯลฯ
  4. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดก่อนมาพบแพทย์
  5. งดอาหารอย่างน้อย 6 ชม.
  6. ควรหลีกเลี่ยงการผ่าตัดช่วงที่มีประจำเดือน
  7. ถ้าความดันสูงควรควบคุมความดัน ให้อยู่ต่ำกว่า 140/90 mm Hg (มิลลิเมตร ปรอท)
    เนื่องจากการผ่าตัดทำให้เสียเลือดบางส่วน
  8. ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ไม่ควรดูดไขมันปริมาณมากๆ เนื่องจากการผ่าตัด
    ทำให้เสียเลือดมาก ทำให้มีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตได้
  9. เตรียมตัวหยุดงานประมาณ 2 วัน
  10. ในกรณีที่ดูดไขมันออก (1-2 จุด) อาจทำโดยการฉีดยาชา สามารถกลับบ้านได้ แต่ถ้าต้องการดูดไขมันมาก อาจต้องทำที่โรงพยาบาล หลังผ่าตัดต้องพักที่ ร.พ. 1 วัน
  11. งดสูบบุหรี่ ประมาณ 1 – 2 อาทิตย์ ก่อนผ่าตัด

การปรึกษาแพทย์ก่อนผ่าตัด

  1. ปริมาณไขมันที่ต้องการดูด
  2. ตำแหน่งที่ต้องการดูดไขมัน โดยทั่วๆไปจะซ่อนไว้ตามรอยพับที่ต่างๆ
  3. เทคนิคที่จะใช้ในการดูดไขมัน
  4. ศึกษาถึงแผลเป็นที่เกิดจากการดูดไขมันในแต่ละตำแหน่ง เช่น บริเวณหน้าท้อง แผลทางเข้าจะอยู่ทางสะดือหรือขาหนีบถ้าต้องการดูดไขมันบริเวณที่ต้นขา แผลจะอยู่ที่ขาหนีบ

ขั้นตอนการผ่าตัด

  1. วางยาสลบหรือใช้ยาชาเฉพาะที่
  2. เปิดช่องผิวหนังเป็นรอยยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร
  3. ฉีดยาเพื่อทำให้ไขมันอ่อนตัว และผสมยาห้ามเลือดลงในตำแหน่งที่ดูดไขมัน
  4. สอดท่อเข้าไปในรอยแผลที่เปิดไว้ และดูดเอาไขมันส่วนเกินออก
  5. เย็บแผลด้วยไหมขนาดเล็กประมาณ 1 – 2 เข็ม เพื่อปิดปากแผล
  6. พันบริเวณที่ดูดไขมันด้วยผ้ายืด
  7. ใช้เวลา 30 นาทีถึง 5 ชม. ขึ้นอยู่กับปริมาณไขมันที่ดูด

การดูแลหลังการผ่าตัด

  1. หลังผ่าตัด พักที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 2 – 3 วัน ถ้าดมยาสลบ ควรพักที่โรงพยาบาล 1 วัน
  2. หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ท้องผูกควรรับประทานผัก,ผลไม้และดื่มน้ำมากๆ เพื่อไม่ให้ท้องผูก
  3. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3 อาทิตย์หลังผ่าตัดเพราะจะทำให้เกิดน้ำเหลืองค้างในแผลผ่าตัดได้
  4. งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 2 อาทิตย์หลังผ่าตัดเพราะบุหรี่ทำให้แผลหายช้า
  5. ถ้ามีอาการบวมแดงบริเวณแผลผ่าตัดมากกว่าปกติควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
  6. ควรใส่ชุดชั้นในรัดรูปประมาณ 1 เดือนเพื่อให้ได้รูปร่างที่ดีและลดบวม
  7. รัดผ้ายืดรัดหน้าท้องให้แน่นและจัดอย่าให้มีรอยย่นบนผ้ารัดหน้าท้อง
  8. รับประทานยาตามแพทย์สั่งไม่ควรทานยาแก้ปวดกลุ่มแอสไพริน
  9. ถ้าหายปวดควรเริ่มเดินช้าๆเพื่อลดอาการบวม
  10. งดการออกกำลังกายที่เกรงกล้ามเนื้อหน้าท้อง เช่น การซิดอับ, ควรงดออกกำลังกายหนักๆ ประมาณ 2 อาทิตย์
  11. งดการแช่ตัวในอ่างอาบน้ำถ้ายังไม่ได้ตัดไหม
  12. ช่วง 3 วันแรกจะบวมสุดๆแต่จะยุบภายใน 2 – 4 อาทิตย์และยุบเต็มที่ภายใน 3 เดือน
  13. แผลผ่าตัดจะเห็นชัดในช่วงแรก และจะดีขึ้นตามลำดับภายใน1 – 2 ปี
  14. ควรใส่ชุดชั้นในรัดรูปประมาณ 1 เดือน เพื่อให้ได้รูปร่างที่ดีและลดบวม
  15. หลีกเลี่ยงการทำงานหนักหรือออกกำลังกายรุนแรง4 อาทิตย์
  16. วันที่ 3 สามารถอาบน้ำได้ แล้วซับแผลให้แห้ง
  17. ถ้าคันตัวสามารถทาแป้งแก้คันได้ แต่ห้ามทาที่แผล
  18. รับประทานอาหารได้ตามปกติ งดดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสม
    ของแอลกอฮอล์ 1 – 2 อาทิตย์
  19. แพทย์จะนัดตัดไหมเมื่อครบ 5 – 7 วัน
  20. ถ้าดูดไขมันจำนวนน้อยสามารถกลับบ้านได้ จำนวนมากต้องค้างคืน
  21. เป็นรอยช้ำประมาณ 1 – 2 อาทิตย์

หมายเหตุ

  • จะบวมประมาณ 2 – 4 อาทิตย์ และหลังจากบริเวณที่ดูดไขมันหายบวมแล้ว อาการบวมจะเลื่อนลงไปที่อวัยวะล่าง
  • ต้องพันผ้ากระชับบริเวณที่ดูดไขมันไว้ตลอด 2 – 6 อาทิตย์ จะถอดออกก็ต่อเมื่ออาบน้ำ
  • กลับไปทำงานได้ภายใน 5 – 7 วัน
  • ขับรถได้ทันทีที่หยุดทานยาแก้ปวดแล้ว
  • ออกกำลังกายได้ภายใน 2 – 4 อาทิตย์
  • จะเข้าที่ภายใน 4 – 8 อาทิตย์

Privacy Preferences
When you visit our website, it may store information through your browser from specific services, usually in form of cookies. Here you can change your privacy preferences. Please note that blocking some types of cookies may impact your experience on our website and the services we offer.