การผ่าตัดเสริมกล้ามเนื้อน่อง เป็นการผ่าตัดเพื่อเพิ่มขนาดของรูปร่างของกล้ามเนื้อน่องให้ดูสมส่วนมากขึ้น ในคนที่ไม่พอใจกับขนาดและรูปร่างของขา 2 ข้าง น่องเป็นส่วนของร่างกายที่มีผลต่อความสวยงามของส่วนขา ในผู้ชายที่ออกกำลังกายกล้ามเนื้อน่องเป็นส่วนของร่างกายที่สามารถพัฒนา เพิ่มขนาดได้ค่อนข้างยาก เพราะเป็นกล้ามเนื้อที่มีขนาดเล็กและยาว บางครั้งแม้จะใช้ความพยายามมากแต่ก็ไม่สามารถพัฒนาให้มีขนาดใหญ่ตามที่ต้อง การได้ การผ่าตัดเสริมน่องช่วยให้รูปร่างของน่องดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับส่วนของ ต้นขา ในผู้หญิงที่มีขาเล็กมากๆบางครั้งการที่ขาเล็กเกินไปก็จะดูไม่สวยงามโดย เฉพาะบริเวณใต้หัวเข่าลงมา จุดมุ่งหมายในการผ่าตัดเสริมกล้ามเนื้อน่องจะมีความแตกต่างกันไป ในผู้ชายจะมีความต้องการให้กล้ามเนื้อน่องมีขนาดใหญ่ แต่ในผู้หญิงจะต้องการให้เกิดความสมดุลของขนาดของน่องและขนาดของต้นขา
การผ่าตัดเสริมน่องเป็นการผ่าตัดที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อ
สารบัญ
1. เพิ่มความสวยงามของน่อง ทำให้เกิดความมั่นใจในการแต่งตัวโดยเฉพาะการใส่ชุดว่ายน้ำหรือกางเกงขาสั้น
2. แก้ไขความผิดปกติที่เกิดจากโรคของระบบประสาทและกล้ามเนื้อที่ทำให้กล้ามเนื้อมีขนาดที่ผิดปกติ ได้แก่
- โปลิโอเป็นโรคที่ทำให้กล้ามเนื้อชาเป็นอัมพาตบางส่วนหรือทั้งหมด
- SPINA BIFIDA เกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทไขสันหลัง
- เท้าปุก [CLUB FOOT] บางครั้งมีความผิดปกติของกล้ามเนื้อขาด้วย
การปรึกษาแพทย์ก่อนการผ่าตัดเสริมน่อง
ในการผ่าตัดเสริมน่อง การปรึกษาก่อนการผ่าตัดมีความสำคัญมากเพราะมีรายละเอียดเล็กน้อยเรื่องเทคนิคการผ่าตัดและวัสดุที่ใช้ค่อนข้างมาก
1. ชนิดของซิลิโคน
ซิลิโคนที่ใช้เสริมน่องมีใช้กัน 2 แบบคือซิลิโคนแท่งและถุงซิลิโคน
A. ถุงซิลิโคนภายในถุงซิลิโคนบรรจุเจลชนิดที่ไม่ไหล [COHESIVE GEL]
ซึ่งเวลามีการรั่วหลังผ่าตัดจะไม่มีการไหลของเจลออกภายนอก
B. ซิลิโคนแท่ง
มีทั้งแบบแข็งและแบบนิ่มมีการทำทั้งทรงสม่ำเสมอและทรงธรรมชาติซิลิโคนแท่งสามารถนำมาเหลาให้ได้รูปทรงที่ต้องการเข้ากับขาแต่ละคนได้
2. รูปร่างของถุงซิลิโคน
- รูปทรงสม่ำเสมอหรือไปร์ซิการ์ [SYMMETRY] เป็นแผ่นที่มีขนาดกว้างตรงกลางส่วนปลายสองข้างแคบลงเท่าๆกันมีการใช้มากกว่า แบบทรงหยดน้ำเพราะการที่ขาด้านบนแคบจะให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติและเข้าได้ กับสัดส่วนของต้นขา
- ทรงธรรมชาติ [ASYMMETRY] เป็นทรงที่ส่วนบนมีขนาดใหญ่กว่าส่วนล่างมีลักษณะรูปร่างเป็นหยดน้ำเหมาะกับ นักเพาะกายโดยใส่ไว้บนส่วนกล้ามเนื้อมัดใน
3. จำนวนถุงหรือแผ่นซิลิโคนที่จะใส่ในแต่ละข้าง
ขา 1 ข้างจะมีกล้ามเนื้อ 2 มัด การผ่าตัดอาจใส่ถุงซิลิโคน 1 หรือ 2 ถุงในแต่ละข้าง โดยทั่วไปถ้าทำให้เกิดความสวยงามและสมดุลจะใช้ 2 ถุง แต่ถ้าไม่ต้องการเพิ่มขนาดมากอาจใช้ 1 ถุงขา ต่อ 1 ข้างได้
4. ความยาวของถุงหรือแผ่นซิลิโคน
ถุงซิลิโคนจะมีขนาดต่างๆกัน การปรึกษาก่อนผ่าตัด จะต้องเลือกถุงซิลิโคนที่มีขนาดพอดีกับกล้ามเนื้อมัดนี้ โดยทั่วไปก่อนการผ่าตัดแพทย์จะทำการวัดความยาวของกล้ามเนื้อ ควรเลือกซิลิโคนที่มีความยาวเท่ากับกล้ามเนื้อ อย่างไรก็ตามบางกรณีกล้ามเนื้อมีความสั้นมากอาจต้องใช้ถุงซิลิโคนที่มีความ ยาวเกินกว่าความยาวกล้ามเนื้อได้ โดยส่วนใหญ่แล้วถุงซิลิโคนมักจะใช้ขนาดที่ยาวกว่ากล้ามเนื้อเล็กน้อย
5. พิจารณาความต้องการของคนไข้
เนื่องจากซิลิโคนแต่ละบริษัทมีการออกแบบรูป ร่าง ,ความหนา และความยาวที่แตกต่างกัน อาจต้องพิจารณาเลือกดูความต้องการของคนไข้ด้วย โดยทั่วไปผู้ชายจะเน้นความแข็งแรงและรูปร่างของกล้ามเนื้อ ขณะที่ผู้หญิงจะชอบความสม่ำเสมอและเป็นธรรมชาติ
6. ระดับของการใช้ถุงซิลิโคน แยกเป็น
1. ใต้พังพืด [SUB FASCIAL]
เป็นการใส่ถุงซิลิโคนใต้พังพืดของกล้ามเนื้อแต่อยู่เหนือกล้ามเนื้อ
ข้อดี
- สามารถเปิดช่องว่างได้ง่ายมีการบอบช้ำของเนื้อเยื่อน้อยทำให้มีความเจ็บปวดน้อยและฟื้นตัวได้เร็วหลังการผ่าตัด
ข้อเสีย
- บางครั้งจะมองเห็นการเคลื่อนของถุงซิลิโคนได้
- อาจคลำได้ขอบของแผ่นหรือถุงซิลิโคน เพราะมีความแข็งมากกว่ากล้ามเนื้อที่อยู่ด้านข้าง
- ถ้าเลือกถุงชนิดไม่เหมาะสม จะเห็นรูปร่างขาไม่สวยงาม
- การใส่ระดับล่างๆ(ใกล้ข้อเท้า)มีความยากใช้การใส่ถุงซิลิโคน
2. ใต้กล้ามเนื้อ [SUBMUSCULAR] เป็นวิธีที่ยุ่งยากกว่าวิธีที่ 1
ข้อดี
- ได้รูปร่างที่สวยงามกว่าวิธีที่ 1 เพราะใส่ถุงซิลิโคนในระดับใต้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ทั้ง 4 มัด
- ได้รูปร่างเป็นธรรมชาติเพราะถุงซิลิโคนถูกปิดโดยกล้ามเนื้อทั้งหมด
ข้อเสีย
- เจ็บปวดมากกว่า
- ใช้เวลาพักฟื้นนานกว่า
จากที่กล่าวมาแล้ว การผ่าตัดต้องตัดสินใจเลือก
- ชนิดของซิลิโคน
- รูปร่างของซิลิโคน
- ขนาดของซิลิโคน ไม่ได้มีให้เลือกมากเท่ากับเต้านม แต่ละแบบจะมีประมาณ 3 – 7 ขนาดเท่านั้น
- ใต้หรือเหนือกล้ามเนื้อ
- ดูลักษณะของแผลเป็นที่หลังหัวเข่า
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเสริมน่อง
- งดอาหารและน้ำ 6 – 8 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด
- ถ้าแพ้ยาหรืออาหารควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนการผ่าตัด
- หยุดงานประมาณ 1 อาทิตย์
- แจ้งแพทย์ให้ทราบถ้ามีปัญหาเรื่องการเกิดแผลเป็นได้ง่าย
- งดยาแก้ปวดกลุ่มแอสไพริน 2 อาทิตย์ ก่อนการผ่าตัด\
- เตรียมกางเกงหลวมๆใส่หลังผ่าตัด
- ในกรณีที่เลือกซิลิโคนแท่งแพทย์จะวัดขนาดแล้วเหลาเตรียมไว้ก่อนผ่าตัด
- เตรียมถุงน่องสำหรับใส่หลังผ่าตัด
การดูแลหลังการผ่าตัดเสริมน่อง
- พักที่โรงพยาบาล 1 – 2 วันในช่วงที่พักที่โรงพยาบาลควรยกขาสูงตลอดเวลาที่นอน
เพื่อลดอาการบวม - วันที่ 1 – 2ใช้แผ่นประคบเย็นที่น่องทั้ง 2 ข้างเพื่อลดอาการปวดและบวม
- ใส่ถุงน่องหรือถุงเท้าที่สวมถุงน่อง อย่างน้อย 2 – 3 อาทิตย์
- สวมรองเท้านิ่มๆที่ส้นไม่สูงมาก ช่วยให้กล้ามหย่อนลงและลดอาการบวม
- สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตั้งแต่อาทิตย์แรก เดินไปมาได้แต่ถ้านอนหรือนั่ง
ควรยกขาสูงเพื่อลดอาการบวม - วันที่ 2 – 3 สามารถเดินไปมาได้ตามปกติ
- งดอาหารงดออกกำลังกายหนักๆ 6 อาทิตย์
- อาการปวดจะมีมากใน 48 ชั่วโมงแรกหลังจากนั้นอาการปวดจะลดลงมาก
- ทานยาแก้ปวด, ยาแก้อักเสบยาคลายกล้ามเนื้อหรือตามที่แพทย์สั่ง
- จะนัดตรวจประมาณ 2 วันหลังผ่าตัด และ 1 อาทิตย์ หลังผ่าตัด
- ตัดไหมประมาณ วันที่ 7 – 10
หมายเหตุ:
- ผลข้างเคียงมักเกิดในคนที่ออกกำลังกายเร็วกว่าที่แพทย์สั่งไว้ ทำให้เกิดปัญหาเลือดออกมากหรือบวมมาก
- แผลเป็นที่รอยพับหลังหัวเข่าจะเห็นชัดในช่วงแรกและค่อยๆ จางลงใน 3 เดือน
- หลังจากแผลหายแล้วถุงซิลิโคนมีโอกาสที่จะเลื่อนเปลี่ยนตำแหน่งได้น้อยยกเว้นกรณีที่
ได้รับอุบัติเหตุรุนแรงมากซึ่งมักจะทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาดหรือกระดูกหักด้วย- การผ่าตัดทำเฉพาะในคนที่มีสุขภาพแข็งแรงเท่านั้น
- การผ่าตัดไม่ควรทำในคนที่มีปัญหาโรคของเส้นเลือดอยู่แล้ว