Scroll Top
ABdominal
ตกแต่งไขมันหน้าท้อง แก้ปัญหาหน้าท้องลาย

การผ่าตัดเอาไขมันหน้าท้องออกจะช่วยให้ทรวดทรงกระชับ และแก้ปัญหาหน้าท้องลายหรือผิวแตกลายหรือหน้าท้องหย่อนยาน การตัดไขมันหน้าท้องเหมาะกับผู้ที่มีหน้าท้องส่วนล่างหย่อนมาก โดยที่การสะสมของไขมันไม่มากนัก ผู้ที่เหมาะจะทำการผ่าตัดนี้ ได้แก่

  1. ผู้ที่เคยตั้งครรภ์
  2. ผู้ที่มีหน้าท้องยื่น หย่อนยาน หรือห้อยย้อย
  3. ผู้ที่มีแผลเป็นจากการผ่าตัดเดิมที่อยู่ต่ำกว่าสะดือ
  4. ผู้ที่ผ่านการลดความอ้วนและมีปัญหาหน้าท้องหย่อนมากๆ
  5. ไม่มีแผนที่จะตั้งครรภ์ในอนาคต

เทคนิคที่ 1 การผ่าตัดแบบย่อ (Mini Lipectomy)

แก้ปัญหาหน้าท้องลาย เป็นการผ่าตัดเน้นกระชับเฉพาะส่วนล่าง ต่ำกว่าสะดือ ใช้ได้ดีในผู้ที่ไม่เคยตั้งครรภ์มาก่อน หรือหย่อนเนื่องจากการลดความอ้วน มีเฉพาะผิวหนังและไขมันที่ต้องตัดออก รอยแผลผ่าตัดจะสั้นกว่าแบบเต็ม ไม่ต้องตกแต่งสะดือให้ใหม่ ใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง วิธีนี้ถ้าใช้กับผู้ที่มีพังผืดระหว่างกล้ามเนื้อหน้าท้องยืดยานจะทำให้ กระชับได้เฉพาะส่วนล่างของท้อง ส่วนบนบริเวณลิ้นปี่จะยังป่องๆ อยู่ ทำให้ได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร สำหรับผู้ที่มีหน้าท้องส่วนบนหย่อนด้วย การผ่าตัดแบบนี้อาจทำโดยการดมยาสลบหรือฉีดยาชาได้

เทคนิคที่ 2 การผ่าตัดแบบเต็ม (Full Lipectomy)

เป็นการแก้ปัญหาหน้าท้องหย่อนหรือลายทั้งหมด ผู้ที่เคยตั้งครรภ์มักต้องใช้วิธีนี้จึงจะได้ผลดี รอยแผลผ่าตัดเหนือหัวเหน่าจะยาวกว่าแบบย่อ และต้องตกแต่งสะดือให้ โดยการย้ายตำแหน่งสะดือใหม่ เนื่องจากผิวหนังเดิมที่อยู่เหนือสะดือจะถูกดึงข้ามสะดือมาที่หัวเหน่า โดยที่ผิวหนังระหว่างสะดือถึงหัวหน่าวจะถูกตัดออกทั้งหมด ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 2 – 4 ชั่วโมง โดยเทคนิคนี้ รูปร่างของหน้าท้องจะดีขึ้นมาก เนื่องจากสามารถตัดผิวหนังออกได้มาก

เทคนิคที่ 3 การผ่าตัดแบบกลาง ( Modified Lipectomy)

เป็นวิธีการผ่าตัดในผู้ที่ไม่สามารถทำการผ่าตัดไขมันแบบเติม (Full Lipectomy) ได้ เหมาะกับผู้ที่มีผิวหนังหย่อนไม่มาก และผิวหนังที่อยู่เหนือสะดือเริ่มมีการหย่อนบ้างและกล้ามเนื้อบริเวณเหนือ สะดือเริ่มหย่อนมากขึ้น ควรต้องเย็บให้กล้ามเนื้อตึงมากขึ้น หรือมีแผลเป็นบริเวณหน้าท้องที่ไม่ สามารถทำให้ดึงหน้าท้องตึงมากได้

วิธีนี้จะทำการผ่าตัดโดยตัดผิวหนังมากกว่า การผ่าตัดไขมันแบบย่อ โดยที่สามารถเย็บกระชับกล้ามเย็บส่วนบนและ มีการย้ายสะดือลงล่างเล็กน้อยโดยที่จะไม่มีแผลเป็นรอบๆ สะดือ แต่สามารถตัดผิวหนังใต้สะดือได้มากขึ้น

เทคนิคที่ 4 การตัดไขมันหน้าท้องร่วมกับการดูดไขมัน (Suction Assisted Lipectomy and Full Lipectomy)

การผ่าตัดไขมัน ร่วมกับการดูดไขมัน อาจทำได้ทั้งการตัดไขมันแบบย่อหรือการตัดไขมันแบบเต็ม โดยก่อนการเย็บปิดแผลอาจทำการดูดไขมัน บริเวณด้านข้างเพิ่ม

เหมาะสำหรับคนที่มีไขมันด้านข้างอยู่มาก โดยการดูดไขมัน บางส่วนพร้อมกับการตัดไขมันจะไม่มีแผลเป็นเพิ่ม เนื่องจากดูดผ่านแผลผ่าตัดได้เลย

เทคนิคที่ 5 การตัดไขมันร่วมกับการเสริมหน้าอก (Lipectomy with Augmentation Mammo Plasty)

ในผู้ที่ต้องการเสริมหน้าอกร่วมกับการตัดไขมัน สามารถทำการเสริมหน้าอกโดยผ่านแผลผ่าตัดไขมันได้ เทคนิคดังกล่าว ไม่แนะนำให้ทำในผู้ที่มีไขมันหน้าท้องหนามาก

การตรวจก่อนการผ่าตัด

ในวันที่ทำการปรึกษาแพทย์ มักต้องทำการตรวจร่างกายโดยตรวจต้องทำในท่ายืนดูความหนาของชั้นไขมันที่หน้า ท้องและทดสอบความตึงของผิวหนัง โดยทั่วไปผู้ที่เหมาะสมมากกับการผ่าตัดคือคนที่มีการหย่อนยานหรือมีการแตก ลายของหน้าท้องส่วนล่างโดยที่ไม่มีชั้นไขมันหนามาก เพราะการผ่าตัดไขมันหน้าท้องจะช่วยให้หน้าท้องตึงมากและมีเอวเล็กลงทำให้สัด ส่วนดีขึ้นมากแต่ไม่ช่วยลดชั้นไขมันลงมาก การตรวจก่อนการผ่าตัด มักต้องดูรายละเอียดดังนี้

  1. การหย่อนยานของผนังหน้าท้องส่วนล่าง

    ถ้ามีผิวหนังมากและมีการหย่อนยานมาก การผ่าตัดจะช่วยให้ตึงได้มาก การวัดดูความตึงต้องลองกำหนดว่าสามารถจะตัดผิวหนังได้โดยปลอดภัยหรือไม่โดย การลองดึงผิวหนังเข้าหากันในท่างอตัว ถ้าไม่สามารถดึงได้ถึงกันอาจต้องระมัดระวังไม่ตัดมากเกินไป
    การลองดึงผิวหนังแบบนี้จะสามารถกำหนดความตึงได้ เฉพาะคนไข้ปกติ แต่ในรายที่

    1. มีไขมันหนามาก
    2. เป็นเบาหวาน
    3. สูบบุหรี่

    คงต้องระมัดระวังไม่ควรดึงผิวหนังให้ตึงเกินไป เพราะในกลุ่มที่ A – C นี้ ความเสี่ยงของการหายของแผล คือมีโอกาสที่แผลแยกหรือติดเชื้อได้ง่าย

  2. การหย่อนยานของด้านบนของท้อง

    หลังการผ่าตัดผิวหนังที่อยู่เหนือสะดือจะถูกดึงมา ไว้ที่หัวเหน่า ถ้าผิวหนังบริเวณเหนือสะดือมีลายแตก ส่วนที่แตกลายก็จะถูกย้ายมาไว้ที่เหนือหัวเหน่า ในกรณีที่ผ่าตัดแบบเต็มถ้าผิวหนัง ด้านบนหย่อนยานมากและมีกล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อนมาก อาจต้องตัดผิวหนังที่อยู่เหนือสะดือออกมากกว่าปกติด้วย

  3. ความหย่อนยานของกล้ามเนื้อหน้าท้อง

    ในบางคนผิวหนังไม่ได้หย่อนยานมากแต่การที่ผนังท้องโต เกิดจากการหย่อนมากของกล้ามเนื้อ การผ่าตัดไขมันหน้าท้องจะมีการเย็บกระชับกล้ามเนื้อหน้าท้องด้วย ช่วยให้ลดการหย่อนของผนังกล้ามเนื้อในกรณีที่มีการหย่อนมากจะต้องเย็บให้ ผนังหน้าท้องตึงมากอย่างไรก็ตามการกระชับผนังกล้ามเนื้อหน้าท้องจะต้องระมัด ระวังในคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบการหายใจ

  4. การดูดไขมัน

    โดยทั่วไปในคนที่มีไขมันหนามากมักมีรอยนูนด้านข้างลำตัวหลังการตัดไขมันซึ่ง เกิดจากไขมันด้านข้างที่ยังหนาอาจต้องทำการดูดไขมันร่วมด้วยเพื่อช่วยให้รูป ร่างดูดีขึ้น สำหรับไขมันบริเวณด้านบนของ หน้าท้อง ถ้าจะดูดไขมันเพื่อลดความหนาของผิวหนังอาจต้องระมัดระวังในบางคนเพราะเป็น ทางที่เส้นเลือดมาเลี้ยงผิวหนังด้านล่าง

  5. แผลผ่าตัดเดิม

    แผลหน้าท้องทั้งหมดต้องพิจารณาประกอบกับเทคนิคการผ่าตัดอาจทำให้แผลย้ำตัดมี ปัญหาถ้าดูดมาก แผลผ่าตัดเดิมมีผลมากๆ ต้องการตัดสินใจตัดไขมันหน้าท้องโดยทั่วไปแผลที่หน้าท้องที่เกี่ยวข้องกับ การตัดไขมันได้แก่

1. แผลผ่าตัดไส้ติ่งหรือไส้เลื่อน ไม่มีผลต่อการผ่าตัดเพราะแผลอยู่ต่ำและมักต้องตัดออกเวลาตัดไขมัน

2. แผลแนวตั้งด้านล่าง ไม่มีผลต่อการผ่าตัดแบบเต็มแต่มีผลต่อการผ่าตัดแบบย่อ ทำให้ไม่สามารถดึงผิวหนังหน้าท้องลงไปได้มากอาจตัดได้น้อยกว่าคนที่ไม่มีแผล หน้าท้อง

3. แผลแนวนอนด้านล่าง มัก เป็นแผลตัดมดลูกหรือผ่าท้องคลอดลูก โดยทั่วไปเรา มักจะลงแผลตัดไขมันหน้าท้องให้เป็นแผลเดียวกันกับแผลเดิมแต่สูตินารีแพทย์ มักลงแผลในตำแหน่งที่ต่ำมากในบางคนที่หน้าท้องไม่ได้หย่อนยานมากต้องระมัด ระวังถ้าผ่าตัดผิวหนังออกมากอาจจะตึงเกินไปทำให้แผลแยกได้ ในกรณีที่แผลผ่าตัดตึงมากอาจต้องลงแผลตัดไขมันเหนือแผลเดิมเล็กน้อยเพื่อให้ ไม่เกิดปัญหาเรื่องแผลแยกหลังผ่าตัดทำให้หลังผ่าตัดมีแผล 2 แผลโดยแผลทั้งสองสามารถเย็บเป็นแผลเดียวได้ในภายหลัง (6 – 9 เดือน) ถ้ารูปร่างแผลดูไม่สวยงาม

4. แผลแนวตั้งตลอดความยาวของหน้าท้อง คน ที่มีแผลนี้มักมีปัญหาเพราะแผลเป็นไม่มีความยืดหยุ่นทำให้ดึงหน้าท้องให้ตึง ไม่ได้เพราะติดแผลเป็นทำให้ผ่าตัดแบบเต็มได้ยากอาจต้องเปลี่ยนเป็นผ่าตัดแบบ ย่อ อย่างไรก็ตามในคนที่มีผิวหนังที่อยู่เหนือสะดือหย่อนมากและหน้าท้องส่วนล่าง หย่อนมากในเวลาที่ตรวจในท่ายืน สามารถดึงผิวหนังได้สบายๆไม่ตึงมากก็สามารถผ่าตัดได้

5. แผลเป็นแนวตั้งด้านบน จาก การผ่าตัดกระเพาะอาหารหรือถุงน้ำดีไม่มีปัญหาในการตัดไขมันแบบย่อแต่ถ้าผ่า ตัดแบบเต็มอาจดึงผิวหนังหน้าท้องไม่ได้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะถ้าแผล เป็นไม่ยืดหยุ่นหรือหน้าท้องไม่หย่อนยานมากคงจะผ่าตัดไม่ได้เพราะเย็บปิดแผล ไม่ได้

6. แผลเป็นตามแนวของด้านขวาจากการตัดถุงน้ำดี แผล นี้ไม่มีผลต่อการดึงผิวหนังหน้าท้องให้ตึงแต่ต้องระมัดระวังเพราะถ้าผิวหนัง ที่ดึงตึงมาก ผิวหนังอยู่ใต้แผลเป็นอาจตายได้ตลอดแนวเพราะเลือดมาเลี้ยงไม่เพียงพอดังนั้น ถ้าทำการตัดไขมัน ไม่ควรตัดผิวหนังออกมากเกินไป

7. แผลเป็นจากการผ่าตัดโดยใช้กล้อง ปัจจุบัน มีการผ่าตัดโดยใช้กล้องเพื่อตัดถุงน้ำดี,ไส้ติ่งหรือมดลูกมาก โดยทั่วไปแผลจากการใช้กล้องจะเป็นแผลเล็กๆ ไม่ค่อยผลต่อการตัดไขมัน สามารถดึงผิวหนังให้ตึงได้แต่จะมีปัญหา 2 ส่วนคืออาจมีปัญหาเลือดมาเลี้ยงไม่พอหรือแผลเป็นที่ใหญ่ๆหรือสำหรับตำแหน่ง ที่ใส่กล้องมักอยู่ใกล้สะดือทำให้มีปัญหาการตกแต่งสะดือในบางราย

การปรึกษาก่อนผ่าตัด

  1. ปริมาณไขมันที่ต้องการตัด
  2. ต้องการดูดไขมันด้วยหรือไม่
  3. เลือกเทคนิคที่จะใช้ในการผ่าตัด ความเหมาะสม
  4. ลักษณะของสะดือที่ต้องการ
  5. ปรึกษาแพทย์ถึงขนาดและความยาวของแผลเป็น

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด

  1. งด ยาต้านการอักเสบ (NSAID) เช่นแอสไพริน บุหรี่ อาหารเสริมบางตัวที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น กระเทียม น้ำมันปลา อย่างน้อย 2 อาทิตย์ ก่อนการผ่าตัด
  2. เตรียมลาหยุดงานประมาณ 10 – 14 วัน
  3. ตรวจเช็คโรคประจำตัวก่อนผ่าตัด
  4. งดน้ำ งดอาหารก่อนผ่าตัดประมาณ 6 ชั่วโมง
  5. เตรียมโกนขน หรือหน้าท้องหรือหัวเหน่า ก่อนมาโรงพยาบาล
  6. ก่อนวันผ่าตัดควรทานอาหาร อ่อน ๆ เนื่องจากหลังผ่าตัดไม่สามารถเดินเข้าห้องน้ำ
    เพื่อถ่ายอุจจาระได้
  7. อาบน้ำชำระร่างกายก่อนผ่าตัด
  8. ควรมีเพื่อนมาด้วยในวันผ่าตัด
  9. ไม่ควรนำสิ่งของมีค่าติดตัวมาในวันผ่าตัด
  10. ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ หรือความดันควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนว่าสามารถผ่าตัดได้หรือไม่
  11. เตรียมเสื้อผ้าหลวมๆ เพื่อใส่กลับบ้าน

ขั้นตอนการผ่าตัด

  1. จะมีแผลผ่าตัดยาวทอดตัวตามแนวขวางซ่อนอยู่บริเวณเหนือหัวเหน่า
  2. แพทย์จะเลาะแยกชั้นไขมันออกจากกล้ามเนื้อหน้าท้อง เลาะสูงขึ้นไปถึงลิ้นปี่
  3. เย็บกล้ามเนื้อหน้าท้องเข้าหากันเพื่อกระชับสัดส่วนบริเวณเอว
  4. ดึงผิวหนังหน้าท้องให้ตึงพอประมาณ แล้วจึงตัดส่วนเกินนั้นทิ้งไป
  5. การย้ายสะดืออาจเป็นสิ่งจำเป็นในรายที่ต้องดึงผิวหนังหน้าท้องลงมาได้จำนวนมาก
  6. เย็บปิดแผลทีผิวหนัง หลังจากนั้นใส่สายระบายน้ำเหลือง

การดูแลหลังการผ่าตัด

  1. หลังผ่าตัด พักที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 2 – 3 วัน
  2. หลังผ่าตัดวันที่ 1 – 2 วันให้นอนในท่างอตัวและปัสสาวะโดยผ่านสายสวนบนเตียงโดยแพทย์จะเอาสายสวนปัสสาวะออกประมาณวันที่ 2 หลังผ่าตัด
  3. วันที่ 2 ให้เดินงอตัวได้รอบๆเตียงอาจต้องเดินงอตัวประมาณ 1 – 2 อาทิตย์จึงจะยืดตัวตรงได้
  4. วันที่ 3 แพทย์จะดึงสายระบายน้ำเหลืองออกสามารถอาบน้ำได้แล้วซับแผลให้แห้ง
  5. ในวันที่ 4 ถ้าสามารถเดินได้ก็สามารถกลับบ้านได้
  6. เอาผ้าพันแผลออกได้ภายใน 1 – 4 วันและต่อสายดูดเลือดกับน้ำเหลืองทางด้านข้างลำตัวรวมทั้งท่อสวนปัสสาวะและจะเอาออกได้ภายใน 2 – 4 วัน
  7. แผลผ่าตัดจะเห็นชัดในช่วงแรกและจะดีขึ้นตามลำดับภายใน 1 – 2 ปี
  8. ระวังอย่าให้แผลเปียกน้ำหลังจากกลับบ้านถ้ายังมีผ้าก๊อสปิดแผลอยู่อย่าดึงผ้าก๊อสออกเอง ยกเว้นแพทย์จะสั่งให้ดึงออกเอง
  9. หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ท้องผูกควรรับประทานผัก,ผลไม้และดื่มน้ำมากๆ เพื่อไม่ให้ท้องผูก
  10. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3 อาทิตย์หลังผ่าตัดเพราะจะทำให้เกิดน้ำเหลืองค้างในแผลผ่าตัดได้
  11. งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 2 อาทิตย์หลังผ่าตัดเพราะบุหรี่ทำให้แผลหายช้า
  12. ถ้ามีอาการบวมแดงบริเวณแผลผ่าตัดมากกว่าปกติควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
  13. นอนในท่าที่ศรีษะสูงและหัวเข่าสูงโดยวางหมอน 2 ใบที่ศรีษะและวางอีก1 ใบไว้ใต้หัวเข่า
  14. แผลเป็นอาจนูนได้ อาจช่วยนวดบริเวณแผลผ่าตัด เช้า – เย็นครั้งละประมาณ 10 นาที
  15. ควรใส่ชุดชั้นในรัดรูปประมาณ 1 เดือนเพื่อให้ได้รูปร่างที่ดีและลดบวม
  16. หลีกเลี่ยงการทำงานหนักหรือออกกำลังรุนแรง 6 อาทิตย์
  17. ถ้าคันตัวสามารถทาแป้งแก้คันได้แต่ห้ามทาที่แผล
  18. รัดผ้ายืดรัดหน้าท้องให้แน่นและจัดอย่าให้มีรอยย่นบนผ้ารัดหน้าท้อง
  19. ควรรัดผ้ายืดรัดหน้าท้องไว้อย่างน้อย 6 อาทิตย์
  20. รับประทานยาตามแพทย์สั่งไม่ควรทานยาแก้ปวดกลุ่มแอสไพริน
  21. ถ้าหายปวดควรเริ่มเดินช้าๆเพื่อลดอาการบวม
  22. งดยกของหนักเกิน 2 – 5 กิโลเป็นเวลา 6 อาทิตย์
  23. งดการออกกำลังกายที่เกรงกล้ามเนื้อหน้าท้อง เช่น การซิดอับ, ควรงดออกกำลังกายหนักๆ ประมาณ 6 อาทิตย์
  24. สามารถอาบน้ำได้หลังจากเอาสายระบายน้ำเหลืองออก 2 วัน
  25. ก่อนการอาบแดดควรทาครีมกันแดดที่มีแพกเตอร์มากกว่า 30
  26. งดการแช่ตัวในอ่างอาบน้ำถ้ายังไม่ได้ตัดไหม
  27. รับประทานอาหารได้ตามปกติควรงดอาหารนมทุกชนิด
  28. แพทย์จะนัดตัดไหมเมื่อครบกำหนด 10 วันและ 14 วันและให้ปิดแผ่นปิดแผลเป็นประมาณ
    4 อาทิตย์
  29. หลังการผ่าตัดจะนัดดูแผลที่หน้าท้องทุก 1 เดือนถ้ามีปัญหาเรื่องแผลเป็นนูนในบางครั้งอาจต้องฉีดยารักษาแผลเป็นช่วยได้บางครั้ง
  30. ช่วง 3 วันแรกจะบวมสุดๆแต่จะยุบภายใน 2 – 4 อาทิตย์และยุบเต็มที่ภายใน 3 เดือน
  31. แผลผ่าตัดจะเห็นชัดในช่วงแรก และจะดีขึ้นตามลำดับภายใน 1 – 2 ปี

หมายเหตุ

  • จะรู้สึกชาบริเวณหน้าท้องประมาณ 6 เดือนหรือนานกว่านั้น แต่ไม่ใช่เรื่องน่าห่วง เนื่องจากความรู้สึกจะดีขึ้นตามลำดับ
  • ต้องสวมแผ่นรัดหน้าท้องตลอดเวลานาน 2 – 6 อาทิตย์ เพื่อช่วงพยุงหน้าท้องเอาไว้
  • ขับรถและทำงาน(เบาๆ) ได้ภายใน 7 – 14 วัน
  • ออกกำลังได้ภายใน 4 อาทิตย์
  • เข้าที่ภายใน 1 ปี
  • ระหว่างที่พักพื้น หากคุณต้องไอ จาม หัวเราะหรือถ่ายท้อง ก็ให้กดหมอนกับหน้าท้องไว้แน่น ๆ เพื่อลดการเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณนั้น
  • ในช่วงอาทิตย์แรกอย่าอาบน้ำขณะอยู่บ้านคนเดียว เพราะคุณอาจเวียนศีรษะเป็นลมในห้องน้ำได้
  • ถ้าหากคุณคิดจะมีลูกอีกสักคน ไม่ควรเข้ารับการผ่าตัดไขมันหน้าท้อง เพราะหน้าท้องคุณจะหย่อนและลายอีกครั้ง หลังจากคลอดลูก

Privacy Preferences
When you visit our website, it may store information through your browser from specific services, usually in form of cookies. Here you can change your privacy preferences. Please note that blocking some types of cookies may impact your experience on our website and the services we offer.