การแก้ไขร่องแก้มลึกสามารถทำได้ 2 วิธีคือ
สารบัญ
1. การเสริมร่องแก้มโดย Implantech
2. การแก้ไขร่องแก้มลึกโดย การผ่าตัดเสริมใต้ร่องแก้มและฉีดไขมันร่องแก้ม
ร่องแก้มลึกและยาวเป็นลักษณะของคนที่มีอายุ มากหรือ คนที่มีอายุไม่มาก ถ้าเริ่มมีร่องแก้ม จะทำให้รูปใบหน้าดูแก่ลง การแก้ไขร่องแก้มที่ลึกนั้นอาจทำได้โดยการดึงหน้า ในบางครั้ง อาจจะเร็วเกินไปในคนที่มีอายุยังไม่มาก
สาเหตุที่ทำให้ร่องแก้มลึกและยาว ได้แก่
- อายุ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้มีริ้วรอย ร่องแก้ม
- แสงแดด เป็นสาเหตุที่เป็นตัวกระตุ้นให้ร่องแก้มลึกได้ เพราะแสงแดดจะทำไห้ผิวหยาบกร้านและเหี่ยวย่น
- กรรมพันธุ์ คนที่มีผิวแห้งจะทำไห้มีริ้วรอยได้เร็วกว่า ลึกกว่าคนที่ผิวชุ่มชื่น
- การรักษาสุขภาพผิว ในกรณีที่เกิดร่องแก้มลึกในขณะที่อายุยังไม่มาก
- โครงหน้า สำหรับคนที่มีแก้มเยอะก็จะทำไห้มีโอกาสเกิดร่องแก้มลึกได้มากกว่าคนที่ไม่ค่อยมีแก้ม
ปัญหาร่องแก้มลึกไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะผู้ที่มีอายุมาก ผู้ที่มีอายุน้อยพบปัญหาร่องแก้มลึก ส่วนใหญ่มักจะเติมสารที่เรียกว่า ฟิลเลอร์ หรือซิลิโคนเหลว แต่สารเหล่านี้อาจจะอยู่ได้ไม่นาน และไม่มีความเป็นธรรมชาติ
การรักษาร่องแก้มลึกยาว มีวิธีการรักษาได้หลายวิธีได้แก่
- เติม Filler วิธีนี้จะฉีดสารฟิลเลอร์เข้าไปในร่องแก้ม ทำได้เร็วและไม่ต้องผ่าตัด แต่จะอยู่ได้ประมาณ 8-12 เดือน วิธีนี้จะได้รับความนิยมมาก
- ผ่าตัดยกกระชับ เป็นวิธีการผ่าตัดดึงหน้าทำไห้ร่องแก้มหายได้ เหมาะสำหรับคนอายุมากที่ร่องแก้มลึกและหน้าเหี่ยวมากๆ
- เลเซอร์ เหมาะสำหรับคนที่ร่องแก้มลึกและยาว จะยิงเลเซอร์เข้าไปบริเวณร่องแก้มเพื่อให้พลัดเซลล์ผิวใหม่
- การใช้ซิลิโคนแท่งเสริม ใต้ร่องแก้มจะช่วยให้ร่องแก้มส่วนนั้นนูนขึ้น วิธีนี้ใช้ได้กับคนที่มีฟันบนยื่น
- การฉีดไขมัน ไขมันเป็นสารธรรมชาติของร่างกาย ตำแหน่งในการฉีดร่องแก้ม เป็นการฉีดในตำแหน่งตื้น และมักจะไม่มีช่องว่างให้ฉีด การใช้เทคนิคปกติในการฉีดไขมันมักจะฉีดไขมันที่ร่องไม่ได้ การฉีดต้องใช้เทคนิคพิเศษ ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะเทคนิคหลักๆ ในดารแก้ไขร่องแก้มลึก คือการเสริมด้วยซิลิโคนและการฉีดไขมัน
A. การเสริมใต้ร่องแก้มโดย Silicone หรือ กอร์เท็กซ์
ร่องแก้มเป็นร่อง ที่อยู่ระหว่างริมฝีปากและแก้มออกจากกันโดยส่วนนี้ของร่องมักจะอยู่ที่ด้านข้างของปีกจมูก ส่วนล่างอยู่ที่ด้านข้างของมุมปาก ส่วนบนที่อยู่ด้านข้างของจมูกจะเป็นส่วนที่ลึกและกว้าง และจะบางลง เมื่อร่องอยู่ไกลจากจมูกมากขึ้น การเสริมใต้ร่องแก้มทำได้โดยใช้วัสดุชนิดเฉพาะ เช่นซิลิโคน กอร์เท็ก หรือ Medpore เสริมเข้าไปใต้ร่องแก้มส่วนที่ติดกับปีกจมูก เสริมผ่านแผลในปาก โดยใช้วิธีนี้เป็นที่ได้ผลดี ใช้ร่องที่กว้างและลึกบริเวณด้านข้างของจมูก แต่จะไม่ช่วยในร่องที่ตื้นๆ การผ่าตัดแบบนี้ยังช่วยแก้ไขปัญหากระดูกที่ทรุดใต้ปีกจมูก และผู้ที่ปากยื่นให้ดูดีขึ้น
B. การฉีดไขมันเพื่อแก้ไขร่องแก้ม
โดยปกติการแก้ไขร่องแก้มนิยมทำโดยฉีด filler เพราะ ฉีดได้ง่าย อย่างไรก็ตาม การฉีด filler ในบางคนอาจจะทำได้ไม่ดี โดยเฉพาะคนที่มีร่องแก้มลึกและแคบ โดยทั่วไปการฉีด filler จะเติมได้ดีในหลุมกว้างและลึก เช่น หลุมใหญ่ใต้ผิวหนัง บริเวณแก้ม หรือขมับ แต่บริเวณร่องแก้มเนื่องจากร่องอยู่ในชั้นตื้นในชั้นผิวหนัง การฉีดเติมในชั้นตื้นบางครั้งตื้นเกินไปก็คลำได้ชัด บางคนลึกเกินไปก็ใช้เติมในบริเวณด้านข้างของร่องแก้ม ทำไห้ร่องแก้มยังดูลึกขึ้น จะเห็นได้ว่า การฉีดร่องแก้มดูเหมือนจะเป็นเทคนิคที่ง่ายและปลอดภัย แต่ในทางปฏิบัติจริงอาจทำได้ไม่ดีเท่าไหร่
การฉีดไขมันร่องแก้ม เป็นวิธีที่ยากกว่าการฉีด filler เพราะโดยทั่วไปไขมันไม่สามารถนำมาฉีดในชั้นผิวหนังได้ เพราะเป็นตำแหน่งที่ตื้นเกินไป การฉีดไขมันใช้เข็มทู่ขนาดใหญ่ ไม่สามารถฉีดในตำแหน่งร่องแก้มได้ดี เพราะตื้นและแคบ ไม่สามารถฉีดหลายระดับได้ การนำเซลล์ไขมันมาฉีดร่องแก้ม จะต้องใช้เทคนิคพิเศษ แตกต่างจากการฉีดไขมันทั่วไป คือ
- ใช้หัวฉีดชนิดพิเศษ (รูปหัวฉีด) ที่มีปลายตัดพังผืดของร่องแก้ม พร้อมกับการฉีด การตัดพังผืดทำไห้เกิดช่องว่างในชั้นไขมัน และด้านหน้าของรูเข็มที่ปล่อยไขมันทำไห้มีช่องว่างที่กว้างขึ้นเพื่อรองรับเซลล์ไขมัน
- การทำ Subciseon ก่อนการฉีดในเข็มขนาดเล็กตัดพังผืดในร่องแก้มกับการฉีดไขมัน การทำ Subciseon ทำไห้ปัญหาร่องที่กว้างกว่านี้ทำไห้ฉีดไขมันง่ายขึ้น
การเลือกเทคนิคการผ่าตัด อาจเลือกเทคนิค A หรือ B อย่างเดียวหรือทั้ง 2 เทคนิคก็ได้ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของร่องแก้มอยู่ที่ไหน คงต้องให้แพทย์เป็นผู้ประเมินก่อนทำการผ่าตัด
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
- ถ้ามีแผลหรือสิวที่บริเวณร่องแก้มหรือด้านข้างของจมูก ควรรอให้สิวหรือแผลหายก่อนจึงจะทำการผ่าตัดได้
- งดยาต้านการอักเสบ (NSAID) เช่นแอสไพริน บุหรี่ อาหารเสริมบางตัวที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น กระเทียม น้ำมันปลา อย่างน้อย 2 อาทิตย์ ก่อนการผ่าตัด
- หยุดรับประทานสมุนไพรก่อนเข้ารับการผ่าตัดประมาณ 3 – 5 วัน
- ควรมีเพื่อนมาด้วยในวันผ่าตัด
- ลาหยุดงาน ประมาณ 3 – 5 วัน
- ควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงโรคประจำตัวของคุณ เช่น เบาหวาน,โรคหัวใจ, โรคหลดเลือดสมอง และยาที่แพ้ เช่น เพนนิซิลิน,ซัลฟา ฯลฯ
- ล้างหน้าก่อนได้รับผ่าตัด
- การใช้เทคนิคการฉีดไขมัน เตรียมความสะอาดหรือโกนขนบริเวณที่จะทำการดูดไขมัน
ขั้นตอนการผ่าตัด
เทคนิค A เสริมซิลิโคนใต้ร่องแก้ม
- ให้ยานอนหลับที่มีฤทธิ์สั้นๆ ลดอาการวิตก และฉีดยาชารอบจมูก และปากบน
- แผลที่ผ่าตัดจะมีความยาวประมาณ 1 ซม. รอบเหงือกบน
- ผ่าตัดสร้างช่องว่าง (Pocket) ด้านข้างของจมูก
- ใส่แท่งซิลิโคนที่เตรียมไว้และตรวจสอบความเรียบร้อย
- เย็บปิดแผลโดยใช้ไหมละลาย
- ปิดพลาสเตอร์ เพื่อช่วยป้องกันการขยับของซิลิโคน ทั้งนี้การใช้วัสดุเย็บแผลหรือชนิดพลาสเตอร์ขึ้นอยู่ กับการพิจารณาของแพทย์
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 45 นาที ไม่ต้องนอนพักที่โรงพยาบาล
- นอนพักประมาณ 15-20 นาที เมื่อฤทธ์ยาชาลดลงจึงกลับบ้านได้
เทคนิค B
- ฉีดยาชาบริเวณที่จะทำการดูดไขมัน อาจจะเป็นหน้าท้องหรือต้นขาเป็นตำแหน่งที่ใช้ไขมันบ่อยๆ
- ดูดไขมันโดยใช้เข็มดูดขนาด 2-3 mm.
- นำไขมันมาเตรียมเพื่อทำการฉีด
- วาดรูปตำแหน่งร่องแก้ม ที่จะฉีดไขมันและฉีดยาชา
- ใช้เข็มฉีดไขมันแบบพิเศษ ฉีดไขมัน 1-2 ซีซี
- ถ้าไม่ใช้วิธีในข้อ 5 อาจใช้เข็มปลายแหลมทำการ Subcision ก่อนจะฉีดไขมันโดยใช้เข็มฉีดไขมันแบบปกติ
- เย็บแผลบริเวนที่ดูดไขมัน และบริเวนที่ฉีดไขมันโดยใช้ไหมขนาดเล็ก
การดูแลหลังผ่าตัด
เทคนิค A
- ประคบน้ำเย็นที่บริเวณร่องแก้ม ในระยะเวลา 2 วันแรกหลังการผ่าตัด โดยใช้เจลประคบเย็น/หรือใช้ก้อนน้ำแข็งนำมาประคบเพื่อบรรเทาอาการบวมและช่วยห้ามเลือด
- ควรนอนยกศีรษะสูงไว้ ประมาณ 1 อาทิตย์
- รับประทานยาแก้อักเสบและยาลดบวมตามที่แพทย์สั่งจนหมด หากมีอาการปวด สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้
- รับประทานอาหารได้ทุกอย่าง ยกเว้น อาหารที่มีรสเผ็ดจัดเป็นระยะเวลา 7 วันหลังผ่าตัดเพราะจะทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น อาจทำให้มีเลือดออกจากแผลได้
- ควรงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 7 วัน เพราะจะทำให้เส้นเลือดขยาย และจะทำให้แผลยุบบวมช้าลง
- ควรงดสูบบุหรี่ 2 อาทิตย์เพราะจะทำไห้แผลหายช้า
- สามารถทำงานได้ตามปกติ แต่ควรงดการทำงานหรือการออกกำลังกายรุนแรง 7 วันหลังผ่าตัด
- บ้วนปากบ่อยๆด้วยน้ำเกลือ หรือน้ำยาบ้วนปากที่จัดให้
- ไหมผ่าตัดเป็นไหมที่ละลาย ไม่ต้องทำการตัดไหม
- แพทย์จะนัดตรวจแผลประมาณ 7 วัน
- ตรวจครั้งที่ 2 ประมาณ 3 อาทิตย์หลังยุบบวม
- ผลการผ่าตัดจะเข้าที่และเปลี่ยนแปลงประมาณ 3 อาทิตย์
เทคนิค B
- ทานยา ลดบวมและยาทานแก้อักเสบตามแพทย์สั่ง
- ถ้ามีอาการผิดปกติหรือแดงมากให้กลับมาพบแพทย์
- ใช้น้ำเกลือเช็ดแผลที่ผ่าตัดและแก้ม ทายาฆ่าเชื้อ เช้าเย็น
- นัดตัดไหมเมื่อครบ 5 วัน
- อาการบวม จะบวมมากประมาณ 1 อาทิตย์ และจะลดลงในช่วง อาทิตย์ที่ 2
- จะคลำได้ก้อนตรงบริเวณแก้มประมาณ 2-3 เดือนหลังจากนั้นจะคลำได้ยากขึ้น