แผลเป็นที่มีปัญหาแยกตามลักษณะได้ดังนี้
สารบัญ
1. ปัญหาแผลนูน มักจะเกิดจาก 2 ภาวะ คือ
- แผลคีลอยด์ (Keloid) เป็นแผลที่นูนออกนอกขอบเขตของแผลเดิมมาก
มีอาการ คันมักเกิดบริเวณหน้าอกจากการเป็นสิวที่ร่องอก บริเวณหัวไหล่จากการฉีด วัคซีน ติ่งหูหลังการเจาะหู หรือเป็นที่อื่นๆ หลังการผ่าตัด
คลอดลูก เป็นต้น - แผลเป็นนูนที่เกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายเพื่อให้แผลหาย (Hypertrophic Scar) ส่วนมากจะอยู่ในขอบเขตของแผลไม่นูนยื่นแบบคีลอยด์
2. แผลเป็นหลุม (Depressed Scar)
3. แผลยืดกว้างจากรอยเย็บเดิม (Widening Scar)
4. แผลที่มีการดึงรั้ง (Scar Contracture)
การรักษาแก้ไขรอยแผลเป็น
- เทคนิค 1 (Scar 1)
ตัดแผลทั้งหมดออก แล้วทำการเย็บใหม่ (Scar Excision) โดยแผลใหม่ที่เย็บจะมีขนาดเล็กลง - เทคนิค 2 (Scar 2)
ตัดบางส่วนของแผลที่มีปัญหาออก แล้วทำการเย็บบริเวณดังกล่าว (Sereal Scar Excision) และเมื่อแผลหายดีแล้ว จึงทำการตัดส่วนที่เหลือของแผลเป็นออกอีกครั้งจนหมด มักใช้ในแผลเป็นที่มีขนาดใหญ่มาก ไม่สามารถตัดครั้งเดียวได้หมด - เทคนิค 3 (Scar 3)
ใช้การกรอ (Dermabrasion) ไม่ว่าจะเป็นการใช้สารเคมี (Chemical) เครื่องมือเฉพาะหรือเลเซอร์จะได้ผลดี นรายที่แผลมีลักษณะเป็นหลุม ร่อง หรือแผลเป็นขรุขระ - เทคนิค 4 (Scar 4)
ในกรณีที่ตัดแผลออกหมดแล้ว ไม่สามารถเย็บใหม่ได้เนื่องจากแผลมีขนาดใหญ่ หรืออยู่ในบริเวณที่มีความตึงมาก แพทย์จะเลือกใช้วิธีต่อไปนี้
– ใช้ผิวหนังบริเวณอื่นมาทดแทน (Skin Graft, Flap)
– ใช้ถุงน้ำเกลือทำการขยายเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง (Tisssue Expansion) - เทคนิค 5 (Scar 5)
การผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนแนวแผลให้เห็นชัดน้อยลง ได้แก่ การทำ z-plasty หรือ w-plasty โดยแผลเป็นจะเป็นรูปซิกแซก ทำให้เห็นชัดน้อยกว่าแผลตรงๆ - เทคนิค 6 (Scar 6)
การตัดใต้แผลเป็น Subcisim เป็นการตัดพังผืดใต้แผลเป็นพร้อมหลุมลึกให้ตื้นขึ้น มักต้องทำ 2 – 3 ครั้ง จึงจะได้ผลดี
การดูแลหลังการแก้ไขรอยแผลเป็น
เฉพาะเทคนิคที่ 1 – 3, 5 – 6
- อาบน้ำ ล้างหน้า ถูสบู่ถูกบริเวณแผลได้ทันที ในวันที่ 3
- หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลถูกแดด โดยเฉพาะในช่วง 3 สัปดาห์แรก หรือใช้โลชั่นกันแดดที่มีค่า SPF มากกว่าหรือเท่ากับ 30 ทาบริเวณแผล
- ในบางตำแหน่งที่มีการขยับเขยื่อนมาก เช่น บริเวณรอบปาก อาจจะใช้เทปปิดยึดบริเวณแผลไม่ให้แผลยืดออก
- หลังผ่าตัด 2 สัปดาห์ ใช้มือนวดที่บริเวณแผลบ่อยๆ (เช้าหรือเย็น) ช่วยให้แผลเป็นนิ่มและเข้าที่ได้เร็วขึ้น
- ระยะเวลาตัดไหม มีดังนี้
- บริเวณหน้า 5 วัน
- บริเวณแขน 7 วัน
- บริเวณลำตัวและขา 10 – 14 วัน
วิธีการอื่นๆที่ช่วยรักษาแผลเป็น
- แผ่น Plaster ปิดแผลเป็น ที่ใช้ทั่วๆไป ได้แก่ Hannaplast สามารถใช้ปิดได้ประมาณ 12 – 24 ชั่วโมง
โดยต้องเปลี่ยนพลาสเตอร์ทุกวันหรือทุก 2 วัน - แผ่นซิลิโคนเจล สามารถใช้ลดแผลเป็นนูนหรือคีลอยด์ได้
โดยแผ่นหนึ่งสามารถใช้ได้ประมาณ 1 – 2 เดือน แต่เนื่องจากบริเวณที่ปิดจะต้องมีผิวเรียบ อาจจะไม่เหมาะกับบริเวณใบหน้า โดยทั่วไปมีขายในประเทศไทย ได้แก่ ซิกาแคร์ - เจลซิลิโคน เป็นซิลิโคนที่ทำเป็นรูปแบบ gel ใช้ทาบริเวณแผลเป็นที่ใบหน้า วันละ 2 ครั้ง ได้ผลดีเท่ากับแผ่นซิลิโคน
- Contractubex หรือ Mederma เป็นส่วนผสมระหว่าง allanloin, cepae และ heparin สามารถรักษาแผลเป็นนูนแบบคีลอยด์ได้
- วิตามิน E ช่วยให้แผลเป็นนิ่มขึ้น
- สารเพิ่มความชื้นให้แผลเป็น เป็นสารที่ทำให้แผลเป็นนุ่มขึ้น ได้แก่ ฮีลูดอยด์
- การฉีดสารเติมเต็ม ได้แก่ คอลลาเจน หรือ ไฮยาลูแลน ช่วยให้แผลหลุมตื้นขึ้นได้ การฉีดสารทำได้เฉพาะในแผลหลุมที่สามารถยืดขึ้นได้
- การฉีดยารักษาแผลเป็น ยาที่ใช้รักษาแผลเป็นมี
- A สเตียรอยด์ เป็นสารที่ใช้รักษาแผลเป็นนูน ช่วยลดการอักเสบและลดความนูนของแผล โ ดยปกติจะฉีดห่างกัน 4 – 6 สัปดาห์ โดยทั่วไปจะต้องฉีดต่อเนื่อง 1 – 2 ปี เนื่องจากถ้าหยุดฉีดแล้วมักเกิดแผลเป็นใหม่ได้ ปัญหาที่พบบ่อยหลังการฉีดคือ ผิวหนังยุบตัว atrophy ซึ่งแก้ไขได้ยาก จึงแนะนำว่าควรฉีดโดยใช้ความเข้มข้นต่ำๆ ก่อนในครั้งแรก (3 – 5 mg. – 1 cc.) แล้วเพิ่มความเข้มข้นในครั้งที่ 2 – 3
- B ยารักษามะเร็ง ที่นำมาใช้ ได้แก่ 5FU และ Bleomycin ปัญหาที่อาจเกิดหลังฉีด คือแผลเป็นอาจไม่เรียบและมีการอักเสบมาก ในปัจจุบัน มักใช้ 5 FU ผสมกับสเตียรอยด์ฉีดเนื่องจากไม่สามารถฉีดได้เพียงชนิดเดียว
- โบท๊อซ ใช้กับแผลที่เป็นบริเวณรอบๆ รอยย่นของใบหน้า เช่น รอยตีนกา การฉีดโบท๊อซ ช่วยใหกล้ามเนื้อใบหน้าดึงแผลเป็นน้อยลงทำให้แผลเป็นเห็นชัดน้อยลงด้วย
- Laser มีการใช้เพื่อให้ผิวเรียบ(Co2 Laser) และลดอาการแดง (Vascular Laser) ในการรักษาแผลเป็น ต้องใช้การผสมผสานวิธีการรักษาประมาณ 2 – 3 ชนิด เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด เนื่องจากโดยทั่วไปไม่มีวิธีการรักษาแผลเป็นใดได้ผลดี 100%