การเสริมสะโพก เป็นการเพิ่มส่วนของแก้มก้นหรือส่วนของสะโพกให้โตขึ้น ช่วยให้รูปร่างดีขึ้น ผู้ที่มีสะโพกสวยงาม สามารถเลือกเสื้อผ้าที่ใช้ได้หลากหลายกว่าผู้ที่ไม่มีสะโพก สามารถเพิ่มความมั่นใจในการแต่งตัว ดังนั้น จะมีผู้ที่ต้องการเสริมสะโพกมากขึ้น ปัจจุบันในประเทศไทย ผู้ที่ต้องการมีสะโพกใหญ่ขึ้น มักจะไปรับบริการฉีกสะโพกด้วยซิลิโคนเหลว ตามสถานบริการที่ผิดกฎหมาย ผลของการฉีดทำให้มีสะโพกกลมกลึงและสวยงามในระยะแรก แต่เมื่อผ่านไป 6 เดือนถึง 1 ปี ซิลิโคนเหลวก็จะไหลย้อยไปที่บริเวณต้นขาและทำให้เกิดพังผืดภายในต้นขา ทำให้ผิวหนังแข็งกระด้างดูไม่สวยงาม การไหลของซิลิโคนเหลวทำให้ก้นที่เคยสวยงามหลังการฉีดระยะแรกมีขนาดเล็กลงและ ย้อยลงเหมือนก้นคนแก่ ในขณะที่ซิลิโคนที่ไหลไปยังต้นขา 2 ข้าง มีขนาดโตขึ้น การที่ต้นขาใหญ่ก็ทำให้รูปร่างไม่สวยงามในคนที่มีปัญหา ซิลิโคนเหลวจะไหลไปที่ต้นขา การแก้ไขทำได้ยาก เนื่องจากหลังการผ่าตัดมักมีปัญหาแผลหายช้า และมักมีน้ำเหลืองไหลอยู่นาน ในปัจจุบัน ได้มีเทคนิคการผ่าตัดเสริมสะโพกแบบใช้ถุงหรือแผ่นซิลิโคนเข้าไปซึ่งการผ่า ตัดนิยมทำกันมากในประเทศบราซิลและอเมริกา
เทคนิคการผ่าตัดได้มีการปรับเปลี่ยนพัฒนาให้มีความปลอดภัยและได้รูปร่าง สะโพกที่ สวยงามขึ้นเรื่อยๆ จนในปัจจุบัน การผ่าตัดเสริมสะโพกถือว่ามีความปลอดภัยมากกว่า และมีปัญหาน้อยกว่าการฉีดสารแปลกปลอมเข้าสะโพก
เทคนิคที่ใช้ในการเสริมสะโพก
สารบัญ
การเสริมสะโพกแบ่งตามเทคนิคออกเป็น 3 เทคนิค
เทคนิคที่ 1 เสริมโดยการใช้ไขมันฉีดให้เพิ่มขึ้น
วิธีนี้ทำโดยการดูดไขมันจากบริเวณอื่นมาเสริมที่สะโพก มีข้อเสียคือต้องมีแผลที่บริเวณอื่นที่ดูดไขมันออกมา แต่มีข้อดี คือไม่มีสารแปลกปลอมมากหลังจากหายแล้วจะดูเป็นธรรมชาติ แต่ไม่สามารถที่จะเสริมให้มีขนาดใหญ่มากๆได้ในครั้งเดียว วิธีนี้จะเสริมสะโพกในทุกๆตำแหน่งของสะโพกโดยสามารถที่จะเลือกได้ว่าต้องการ เสริมที่บริเวณใดมาก บริเวณใดน้อย
เทคนิคที่ 2 เสริมโดยการผ่าตัด ใส่แผ่นซิลิโคนหรือถุงซิลิโคน
วิธีนี้มีแผลยาวประมาณ 7 เซนติเมตร บริเวณร่องก้นหรือตรงกลางบริเวณกระดูกสันหลังแล้วเสริมโดยใช้ถุงซิลิโคน ชนิดที่ทำเพื่อเสริมสะโพกใส่ไว้ภายในกล้ามเนื้อวิธีนี้ช่วยให้รูปทรงของ สะโพกดี โดยการผ่าตัดเพียงครั้งเดียวและสามารถเลือกขนาดสะโพกใหญ่เท่าไหร่ก็ได้แต่จะ เสริมได้เฉพาะสะโพกด้านบน บริเวณกลางๆเท่านั้นไม่สามารถเสริมสะโพกส่วนล่างได้ เพราะจะกดเส้นประสาท ถุงซิลิโคนที่ใช้เสริมสะโพกจะมีรูปร่าง 2 แบบ คือ แบบเป็นแผ่นและแบบถุงสำหรับรายละเอียด ของวิธีนี้จะกล่าวในหัวข้อต่อไป
เทคนิคที่ 3 การเสริมสะโพกร่วมกับการดูดและฉีดไขมัน
การตกแต่งสะโพกให้สวยงามโดยใช้การเสริมสะโพกร่วมกับการดูดและฉีดไขมันเป็น การผ่าตัดโดยมีการผ่าตัดเพื่อใส่ถุงหรือแผ่นซิลิโคนพร้อมกับการดูดไขมันและ ฉีดไขมันในคราวเดียวกัน เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการผ่าตัด เสริมสะโพกโดยใช้ถุงซิลิโคน ในปัจจุบันแนะนำให้เสริมใต้กล้ามเนื้อเป็นหลัก การเสริมใต้กล้ามเนื้อทำให้สะโพกหลังการเสริมมีการนูนเด่นบริเวณกลางๆ แก้มก้นไม่สามารถเสริมด้านข้างมากๆ ได้ ถึงแม้จะใช้ถุงเสริมสะโพกทรงหยดน้ำก็ตามเนื่องจากบริเวณด้านข้างไม่มีกล้าม เนื้อรองรับในบางคนที่ต้องการเสริมด้านข้างมากๆ อาจทำการดูดไขมันจากบริเวณเหนือสะโพกหรือใต้สะโพกแล้วฉีดบริเวณด้านข้างก็จะ ช่วยทำให้รูปร่างสะโพกตรงกลางนูนขึ้นจากถุงซิลิโคนขณะที่ด้านข้างนูนขึ้นจาก ไขมันที่ฉีดพร้อมทั้งส่วนเหนือและใต้สะโพกแบนราบลง มีผลทำให้สะโพกดูเด่นขึ้นมากกว่าทั้ง 2 วิธีแรก
ในที่นี้จะกล่าวถึงการเสริมสะโพกโดยใช้วัสดุที่เป็นซิลิโคนแบบแผ่นหรือแบบ ถุงซึ่งเป็นวิธีที่นิยมทำกันมากในปัจจุบัน
การเสริมสะโพกด้วยซิลิโคนจะต้องพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
- ชนิดของซิลิโคน
- รูปร่างของซิลิโคน
- ระดับการวางของถุงซิลิโคน
- แผลทางเข้า
- ผิวของถุงสะโพกเทียม
ชนิดของถุงที่ใช้เสริมสะโพก
วัสดุที่มีการนำมาเสริมสะโพกมี 2 แบบ คือ
A. ซิลิโคนชนิดแผ่น เป็นซิลิโคนแท่งที่มีการทำขึ้นมาเพื่อเสริมสะโพกโดยมีลักษณะเช่นเดียวกับซิ ลิโคนแท่ง สำหรับการเสริมจมูก แต่มีการผลิตมาเป็นแผ่นใหญ่ และมีรูปร่างโค้งงอตามรูปแบบของสะโพก ซิลิโคนแบบนี้มีการผลิตโดยบริษัทในประเทศอเมริกาก่อนทำการผ่าตัดต้องวัดขนาด ของแผ่นซิลิโคนที่ต้องการก่อนโดยทำก่อนผ่าตัด ประมาณ 1 – 2 เดือน เนื่องจากเราไม่มีการนำเข้ามาเพื่อจำหน่ายในประเทศไทย จะต้องวัดขนาดที่แน่นอน เพราะไม่สามารถเปลี่ยนขนาดได้ ในระหว่างผ่าตัดและในบางคนที่ต้องการสะโพกใหญ่มาก อาจต้องสั่งทำพิเศษ ก่อนการผ่าตัด ซิลิโคนแบบเสริมสะโพกนิยมใช้ในประเทศอเมริกา เพราะมีการห้ามใช้ถุงซิลิโคนเจล อยู่ระยะหนึ่งทำให้แพทย์ที่ผ่าตัดในประเทศอเมริกา ไม่สามารถเลือกใช้ถุงซิลิโคนเจลได้
B. ถุงเสริมสะโพกเทียม เป็นถุงที่ทำด้วยซิลิโคน ภายในบรรจุ ซิลิโคนเจล เช่นเดียวกับถุงซิลิโคนที่ทำการเสริมหน้าอกแต่มีรูปร่างและรายละเอียดแตก ต่างกัน ถุงซิลิโคน สำหรับเสริมสะโพกภายในจะบรรจุด้วยซิลิโคนเจลเท่านั้น ไม่มีการผลิตถุงน้ำเกลือ เนื่องจากอัตราการรั่วของน้ำเกลือจะมีได้มากกว่าถุงเจล เพราะกรเสริมสะโพกเป็นการใส่ถุงในกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่มีการเครื่อนไหว ทำให้มีแรงกดบริเวณถุงสะโพกมากกว่าถุงเต้านม จะมีปัญหารั่วซึมได้มากกว่า ซิลิโคนเจลที่บรรจุในถุงสะโพกจะมีการใช้เฉพาะเจลที่มีความหนาแน่นมาก (High Cohesive gel) เท่านั้น เพราะเท่าที่ทราบแล้วว่า ถุงสะโพก จะมีการรับแรงกดมากกว่าถุงเต้านม เจลจะต้องเป็นชนิดที่แข็งและเหนียวกว่าถุงเต้านม สำหรับรูปร่างของถุงสะโพกก็จะแบนกว่าและกว้างกว่าถุงเต้านม ถุงสะโพกเทียมเป็นวัสดุที่เสริมสะโพกที่ทำกันในประเทศยุโรปและอเมริกาใต้ใน ประเทศไทย การเสริมสะโพกก็จะใช้วัสดุชนิดนี้เป็นส่วนใหญ่ เพราะมีบริษัทนำวัสดุเข้ามา แต่ซิลิโคนชนิดแผ่นยังไม่มีการนำเข้ามาขายในประเทศไทย
รูปแบบของถุงซิลิโคน
ถุงสะโพกมีการทำออกมาเป็น 2 แบบ คือ แบบกลมและแบบหยดน้ำ (หรือวงรีหรืออาจจะเรียกว่าทรงธรรมชาติ)
ระดับการวางของถุงซิลิโคน
ถุงซิลิโคนหรือซิลิโคนแผ่นสามารถวางลงตำแหน่งต่างๆได้ 3 ระดับคือ
- ใต้ผิวหนัง เป็นการวางถุงหรือแผ่นสะโพกไว้เหนือกล้ามเนื้อมีข้อดีคือความนูนเด่นของ สะโพกเห็นได้ชัดเจน และไม่มีโอกาสเกิดอันตรายกับเส้นประสาทใหญ่ได้ แต่มีข้อเสียคือ อาจเห็นรูปร่างของถุงแผ่นซิลิโคนชัดเจนหลังจากยุบบวมแล้วและมีโอกาสเกิดการ ทะลุของถุงหรือแผ่นซิลิโคนในบางรายได้
- ใต้กล้ามเนื้อหรือระหว่างกล้ามเนื้อ โดยทั่วไปขึ้นกับกล้ามเนื้อของสะโพก กล้ามเนื้อสะโพกมัดบนและมัดล่างอาจไม่สามารถแบ่งออกได้ชัดเจน ดังนั้นการใส่ถุงหรือแผ่นซิลิโคนระหว่างกล้ามเนื้อสะโพก 2 มัด สามารถทำได้ในบางคนแต่ในบางคนไม่สามารถทำได้โดยทั่วไป การจะเปิดช่องในกล้ามเนื้อสะโพก ระหว่างกล้ามเนื้อสะโพก 2 มัด และการใส่ถุงใต้กล้ามเนื้อสะโพกมัดใหญ่ก็มักได้ผลเช่นเดียวกับ การเปิดโพรงใต้กล้ามเนื้อ จะมีการเจ็บปวดหลังผ่าตัดมากกว่าการผ่าตัดใต้ผิวหนัง แต่มีปัญหาในระยะยาวน้อยกว่าคือโอกาสที่จะมองเห็นขอบของถุงหรือแผ่นซิลิโคน มีน้อยและโอกาสที่จะทะลุมีน้อย การเปิดโพรงใต้กล้ามเนื้อต้องใช้ความชำนาญ และต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดอันตรายต่อเส้นประสาทใหญ่ทั่วไปที่ขา
- ระดับใต้พังพืดกล้ามเนื้อ เนื่องจากการเสริมใต้กล้ามเนื้อบางครั้งทำให้รูปร่างและสะโพกไม่เด่นชัด การที่เสริมในระดับใต้ผิวหนังก็มีปัญหาเรื่องการมองเห็นขอบเขตและถุงและเกิด การทะลุได้มีศัลยแพทย์ บางท่านเริ่มผ่าตัดโดยการเปิดช่องใต้พังพืดกล้ามเนื้อคืออยู่บนกล้ามเนื้อ แต่อยู่ใต้พังพืดกล้ามเนื้อ วิธีนี้มีข้อดีคือไม่มีโอกาสเกิดอันตรายกับเส้นประสาทและสามารถเห็นส่วนนูน ของสะโพกได้ชัด สามารถเสริมด้านข้างได้แต่มีปัญหาในเรื่องเทคนิค การผ่าตัดอาจไม่สามารถเปิดช่องนี้ได้ง่ายปัจจุบันยังไม่มีวิธีมาตรฐาน
ในปัจจุบันเทคนิคที่ถือเป็นเทคนิคมาตรฐานคือ เทคนิคการเสริมใต้กล้ามเนื้อ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการทะลุและการคลำขอบเขตของถุงได้น้อยกว่า เทคนิคที่ 1
แผลผ่าตัด
การผ่าตัดมีการเลือกใช้แผลที่แตกต่างกัน ดังนี้
A. บริเวณขอบบนของสะโพก 2 ข้าง
B. แผลที่ขอบล่างของสะโพก
เป็นการเปิดแผลตำแหน่งรอยต่อของสะโพกกับต้นขา มีข้อดีคือผ่าตัดง่ายโดยเฉพาะการใส่ถุงเหนือกล้ามเนื้อแต่มีข้อเสียคือแผลเป็นเห็นได้ชัด
C. การเปิดแผลกลางกระดูกก้นกบ
ผิวของถุงซิลิโคน
ถุงซิลิโคนมีการออกแบบเป็นทั้งผิวเรียบและผิวขรุขระหรือผิวทรายภายในมีการบรรจุ เจลชนิดพิเศษที่มีความแข็งมากและยืดหยุ่นน้อยกว่าถุงเต้านมเทียม ทำให้ทนต่อแรงกดดันได้มากกว่า ในปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่าถุงผิวเรียบและผิวทรายมีผลดีผลเสียต่าง กันอย่างไร การเลือกใช้มักขึ้นอยู่กับความถนัดของศัลยแพทย์เป็นส่วนใหญ่
การปรึกษาแพทย์ก่อนผ่าตัดเสริมสะโพก
การปรึกษาแพทย์ก่อนการผ่าตัดมีความสำคัญมากในการผ่าตัดเสริมสะโพก เพราะสะโพกแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ซึ่งรายละเอียดบางอย่างการพิจารณาก่อนการผ่าตัด นอกจากนั้นแล้วความต้องการของคนไข้แต่ละคนก็มีความแตกต่างกันมาก ดังนั้นการประเมินพื้นฐานของกายภาค และเลือกเทคนิควิธีการที่จะใช้ก่อนการผ่าตัดก็เป็นส่วนสำคัญต่อผลของการผ่า ตัดเสริมสะโพก
1. ประเมินรูปร่างของสะโพก
โดยสร้างพื้นฐานของสะโพกที่ต้องประเมินได้แก่ ขนาด ,รูปร่าง และความยืดหยุ่นของผิวหนัง เป็นตัวที่กำหนดถึงว่าควรจะเลือกเทคนิคการผ่าตัดใดถึงจะเหมาะสม
A. ขนาดของสะโพกส่วนข้างความกว้างของก้นเป็นตัวกำหนดขนาดของถุงหรือแผ่นซิลิโคนที่จะได้
B. รูปร่างสะโพกจะมีการแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนบน ส่วนกลาง และส่วนล่างในแต่ละส่วนจะต้องมีขนาดและรูปร่างได้สัดส่วนกับรูปร่างจะทำให้ สะโพกมีความสวยงามโดยถ้ามองในท่าหันหน้าตรงเราอาจแบ่งรูปร่างของสะโพกได้ เป็น 4 แบบ
- แบบ A ด้านบนแคบและด้านล่างกว้างในบางคนอาจต้องทำการดูดไขมันบริเวณด้านล่างร่วมด้วย
- แบบ V คือสะโพกแคบด้านล่างแต่กว้างด้านบนอาจแก้ไขโดยเสริมสะโพกร่วมกับการดูดไขมันบริเวณเอว
- แบบกลม สะโพกเป็นรูปกลมเป็นแบบที่มีไขมันส่วนเกินที่บริเวณส่วนล่างมาก
- แบบสี่เหลี่ยม การเสริมสะโพกช่วยให้รูปร่างดีขึ้นแต่ในบางรายอาจต้องดูดไขมันบริเวณส่วนบน หรือส่วนล่างของสะโพกร่วมด้วย
การเสริมสะโพกโดยใช้ถุงหรือแผ่นซิลิโคนจะเสริมได้เฉพาะ ส่วนกลางและ ส่วนบนของสะโพกไม่สามารถเสริมบริเวณส่วนอื่นของสะโพกได้ ดังนั้นในการผ่าตัดเสริมสะโพกบางแบบอาจต้องการผ่าตัดเสริมบางอย่างร่วมด้วย เช่นการดูดไขมัน ,การฉีดไขมัน ,การตกแต่งผิวหนัง ส่วนที่ย้อยเกินผิดปกติ
C. ความยืดหยุ่นของผิวหนังในกรณีที่สะโพกอาจไม่เพียงพอที่จะทำให้สวยงาม อาจต้องมีการตกแต่งผิวหนังเพื่อให้รูปร่างสะโพกดูสวยงามมากขึ้น หลังจากประเมิน สภาพพื้นฐานของสะโพกแล้วจึงพิจารณาข้อ 2 – 6 ต่อ
2. การเลือกถุงและแผ่นซิลิโคน
การเลือกต้องพิจารณาตามข้อต่อไปนี้
- รูปร่างกลมหรือเป็นวงรี
- ถุงเสริมสะโพกจะมีระดับความสูงแบบเดียวไม่มีแบบนูนหรือแบบราบเหมือนกับถุงเสริมเต้านม
- ขนาดของถุง ถุงจะมีขนาดตั้งแต่ 200-370 ซีซี การเลือกขนาดไม่ควรเลือกขนาดที่ใหญ่เกินไปเพราะถุงที่ใหญ่เกินไปอาจจะมีปัญหาหลังผ่าตัด
- ผิวเรียบหรือผิวทราย
- เลือกถุงซิลิโคนหรือแผ่นซิลิโคน
การเลือกชนิดของซิลิโคนนอกจากจะขึ้นกับคนไข้แล้วยังขึ้นกับประสบการณ์และ ความ คุ้นเคยของศัลยแพทย์ด้วย โดยทั่วไปในปัจจุบัน ถุงซิลิโคนเจล ผิวเรียบกลมเป็นถุงซิลิโคนที่มีการใช้มากที่สุด โดยถุงรูปวงรีจะมีการเลือกใช้ เฉพาะในรายที่ต้องการเสริมด้านข้างมากๆ
3. แผลผ่าตัด
แผลผ่าตัดมีให้เลือกได้ 3 แบบ
- ขอบด้านบนของสะโพก
- ขอบล่างของสะโพก
- แผล แบบกึ่งกลางระหว่างสะโพก 2 ข้าง แบบนี้เป็นแบบที่นิยมใช้มากที่สุดเพราะแผลเป็นเห็นไม่ชัดและเปิดแผลเพียงแผล เดียวสามารถทำได้ทั้ง 2 ข้าง แต่มีข้อเสียคือแผลมีโอกาสติดเชื้อได้มากกว่า 2 วิธีแรก เพราะแผลใกล้ทวารหนัก
ปัจจุบันแผลผ่าตัดแบบ 3 เป็นแบบที่มีการเลือกใช้มากที่สุด
4. ระดับของการเสริม
ระดับการใส่อาจแบ่งเป็น
4.1 ใต้ผิวหนัง
ข้อดี
- ไม่มีอันตรายกับเส้นประสาท
- เจ็บปวดน้อย
- สามารถเสริมด้านข้างได้
- รูปร่างสะโพกนูนขึ้นชัดเจน
ข้อเสีย
- อาจมองเห็นรูปร่างของถุงซิลิโคนได้ชัด
- อาจเกิดการทะลุภายหลังได้
4.2 ใต้กล้ามเนื้อ
ข้อดี
- โอกาสเกิดการมองเห็นรูปร่างมีน้อย
- การทะลุของถุงซิลิโคนผ่านผิวหนังพบได้น้อย
- ในระยะยาวมีปัญหาในการดูแลน้อยกว่า
- การมีกล้ามเนื้อรองอีกชั้นหนึ่ง ช่วยให้รูปร่างสะโพกสวยงามและเวลาสัมผัสจะมีความรู้สึกเหมือนสัมผัสสะโพกธรรมชาติ
- ป้องกันปัญหาเรื่องถุงซิลิโคนเคลื่อนเพราะถุงซิลิโคนอยู่ภายในกล้ามเนื้อ ไม่สามารถเคลื่อนลงล่างได้
- ลดปัญหาการติดเชื้อเพราะมีชั้นกล้ามเนื้อขวางไว้อีกชั้นหนึ่ง
ข้อเสีย
- เสริมได้เพาะส่วนบนหรือกลางๆด้านในสะโพก
- เจ็บปวดมากกว่า
- รูปร่างนูนของสะโพกไม่ชัดเจน
4.3 ใต้พังผืดกล้ามเนื้อ
ข้อดี
- สามารถเสริมด้านข้างได้ด้วย
- มีความนูนของสะโพกมากกว่าการเสริมใต้กล้ามเนื้อ
ข้อเสีย
- เป็นเทคนิคใหม่ยังไม่รู้ปัญหาระยะยาว
- อาจมีการคลำขอบของถุงซิลิโคนได้ในภายหลัง
5. ต้องดูดไขมันร่วมด้วยหรือไม่
ใน บางรายที่มีรูปร่างผิดปกติมากๆหรือมีไขมันบริเวณหลังและหน้าท้องเหนือสะโพก มากๆ การผ่าตัดเสริมสะโพกอาจต้องการทำร่วมกับการดูดไขมันบริเวณเอวหรือหลังเพื่อ ให้รูปร่างของสะโพกสวยงามมากขึ้น
หมายเหตุ โดยทั่วไปในผู้หญิงอาจทำการดูดไขมันร่วมด้วยแต่ในผู้ชายมักทำการเสริมสะโพก อย่างเดียว หรือในบางรายที่มีไขมันบริเวณด้านล่างของสะโพกมากอาจต้องดูดไขมันบริเวณด้าน ล่างของสะโพกร่วมด้วย
6. ต้องฉีดไขมันร่วมด้วยหรือไม่
ในบางรายที่ต้องการเสริมด้านข้างร่วมด้วยการใส่ถุงซิลิโคนไม่สามารถเสริม ด้านข้างได้มาก อาจต้องพิจารณากับฉีดไขมันในระดับกลางสะโพกร่วมกับการผ่าตัดเสริมสะโพก
7. การผ่าตัดยกกระชับสะโพก
ในกรณีที่สะโพกมีการห้อยย้อยมากๆเนื่องจากมีผิวหนังเกินมากอาจต้องผ่าตัด ตกแต่งพร้อมกับยกสะโพกร่วมด้วย เพื่อให้ผิวหนังบริเวณสะโพกตึงและดูสวยงาม การผ่าตัดยกสะโพกอาจตัดบริเวณขอบบนของสะโพกหรือตัดบริเวณขอบล่างของแก้มก้น
หมายเหตุ
- ใน บางกรณีถ้าไม่แน่ใจการผ่าตัดยกสะโพกอาจทำหลังจากผ่าตัดเสริมสะโพกไปแล้วซึ่ง มีข้อดีคือสามารถกะปริมาณผิวหนังที่ต้องตัดได้ถูกต้องแม่นยำกว่าการทำพร้อม กับการเสริมสะโพก
- การผ่าตัดยกกระชับสะโพกจะทำให้เกิดแผลเป็นบริเวณขอบบนหรือขอบล่างของสะโพกแต่แผลเป็นสามารถซ่อนในกางเกงชั้นในได้
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเสริมสะโพก
- งดน้ำงดอาหาร 6 ชม. ก่อนการผ่าตัด
- ควรเตรียมหยุดงาน 10 – 15 วัน
- ถ้ามีโรคประจำตัวหรือกินยาประจำกรุณาแจ้งให้แพทย์ทราบ
- งดยาต้านอักเสบ ( NSAID ) เช่น แอสไพริน บุหรี่ อาหารเสริมบางตัวที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น กระเทียม น้ำมันปลา อย่างน้อย 2 อาทิตย์ ก่อนการผ่าตัด
- ปรึกษาแพทย์โดยเลือกจากขนาดของถุงซิลิโคนที่ใส่ และรูปร่างของซิลิโคนที่จะใส่ประมาณ 2 อาทิตย์ก่อนการผ่าตัด
- ควรมีเพื่อนมาด้วยในวันผ่าตัด
- เก็บสิ่งของมีค่าไว้ที่บ้านไม่ควรนำของมีค่ามาที่โรงพยาบาล
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือโรคความดันสูง ไม่ควรผ่าตัด
- ถ้ามีบาดแผลบริเวณแขน ,ข้อศอก ,หัวเข่า หรือบริเวณส่วนหน้าของร่างกายเช่นหน้าอก,หน้าท้อง ควรงดผ่าตัดไปก่อน
- ในกรณีที่วันผ่าตัดมีอาการท้องเสีย ควรงดผ่าตัดไปก่อน เพราะหลังผ่าตัดการนั่งถ่ายทำได้ยากนอกจากนั้นแล้วอาจมีปัญหาการติดเชื้อของ แผลได้
- เตรียมคนที่ขับรถรับ-ส่ง ถ้าต้องไปทำงานประมาณ10 -14 วันเพราะในช่วงระยะแรกอาจนั่งขับรถไม่ถนัด
- หลังผ่าตัดมักต้องนอนคว่ำดังนั้นการเสริมสะโพก ควรทำหลังการผ่าตัดอื่นๆเช่น การเสริมหน้าอก การแปลงเพศ ประมาณ 2 อาทิตย์ขึ้นไป
- การ ผ่าตัดร่วม การผ่าตัดเสริมสะโพกไม่ควรทำร่วมกับการผ่าตัดอื่นที่ผ่าตัดส่วนหน้าของร่าง กาย เช่นการตัดไขมันหน้าท้องหรือการเสริมหน้าอกไม่ควรทำพร้อมกับการเสริมสะโพก เพราะมีปัญหาในการดูแลหลังผ่าตัด ยกเว้น การดูดไขมันเล็กน้อยอาจทำร่วมกันได้ สำหรับการผ่าตัดด้านหลังของร่างกายสามารถทำได้ร่วมกับการผ่าตัดเสริมสะโพก เช่นการดูดไขมันหรือการผ่าตัดยกสะโพกหรือการฉีดไขมันที่สะโพก
- ควรมีผู้ดูแลที่บ้านหลังการผ่าตัด
- งดสูบบุหรี่ 2 อาทิตย์ก่อนผ่าตัด
ขั้นตอนการผ่าตัดเสริมสะโพก
การผ่าตัดต้องทำโดยการดมยาสลบเท่านั้น เนื่องจากการผ่าตัด ต้องทำขณะที่กล้ามเนื้อคลายตัว จึงสามารถผ่าตัดได้ง่าย
เทคนิคที่ 1 การฉีดไขมัน-ทำเฉพาะในคนไข้บางคนที่ต้องการเสริมสะโพก เพียงเล็กน้อย
- ทำโดยดมยาสลบในท่านอนหงาย
- แพทย์จะเปิดแผลที่สะดือหรือขาหนีบสอดสายดูดไขมัน ดูดไขมันบริเวณหน้าท้องและต้นขา
- พลิกตัวในท่านอนคว่ำ
- ฉีดไขมันที่สะโพกในปริมาณที่ต้องการ
เทคนิคที่ 2 – 3
- ทำโดยดมยาสลบแล้วนอนคว่ำ
- แพทย์จะเปิดแผลที่กึ่งกลางสะโพกบริเวณด้านหลังประมาณ 5 – 7 ชม.
- เปิดช่องว่างในกล้ามเนื้อสะโพกให้มีขนาดใหญ่เพียงพอสำหรับถุงซิลิโคน
- ใส่ ถุงซิลิโคนเจล หรือแผ่นซิลิโคนโดยจะใส่ใน 2 ระดับคือใต้กล้ามเนื้อ สะโพก หรือใต้ผิวหนัง การเสริมสะโพกเดิมทำโดยใส่ใต้ผิวหนัง ซึ่งมักมีปัญหาเรื่องแข้งและการเลื่อนของถุงซิลิโคนในปัจจุบันสามารถลดปัญหา โดยการเสริมในระดับใต้กล้ามเนื้อสะโพก
- ใส่สายระบายน้ำเหลือง
- เย็บปิดกล้ามเนื้อและชั้นใต้ผิวหนัง
- ถ้าต้องดูดไขมันหรือฉีดไขมันร่วมด้วยก็จะทำหลังเย็บแผลผิวหนังแล้วโดยจะเปิกแผลแยกแพทย์จะไม่ดูดไขมันผ่านทางแผลผ่าตัดเสริมสะโพก
- ในบางรายที่สะโพกมีการคล้อยมากอาจต้องยกกระชับสะโพกร่วมด้วย หรือในบางคนที่มีผิวหนังย้อยที่ขอบล่างของก้น ก็อาจต้องตัดผิวหนังส่วนเกินออกแล้วเย็บปิดแผล
- ปิดแผลด้วยผ้ายืดปิดแผล ในกรณีที่มีการดูดไขมันอาจต้องใส่ชุดสำหรับการดูดไขมัน
- หลังการผ่าตัดมักต้องใส่สายสวนปัสสาวะไว้เพื่อความสะดวกไม่ต้องลุกเดินไปปัสสาวะ
- เทปที่ปิดไว้มักปิดไว้ 2 – 3 วัน หลังผ่าตัด
- การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 2 – 3 ชม.
การดูแลหลังการผ่าตัดเสริมสะโพก
ผลของการผ่าตัดจะเห็นผลได้ชัดเจนตั้งแต่วันแรกแต่จะยังมีอาการบวมมากหลัง ผ่า ตัดก้นจะดูนิ่มและเป็นธรรมชาติประมาณ 2 – 3 เดือน หลังผ่าตัดหลังจากกล้ามเนื้อยืดขึ้น
- นอนพักที่โรงพยาบาลประมาณ 2 – 3 วัน
- โดยทั่วไปใส่สายระบายน้ำเหลืองประมาณ 2 – 3 วันเพื่อป้องกันน้ำเหลืองหรือเลือดคั่ง
- โดยทั่วไปจะตัดไหมประมาณ 10 -14 วันแล้วแต่ความตึงของแผล
- วันแรกหลังผ่าตัดสามารถนั่งแบบไม่เต็มก้นหรือนั่งในท่าก้มๆตัวได้ และสามารถเดินช้าๆได้หรือเข้าห้องน้ำชำระร่างกายได้
- 7 วันแรกขณะที่นอนหลับควรนอนในท่าคว่ำหรือตะแคงข้างเท่านั้น ห้ามนอนหงายเพราะจะกดถุงซิลิโคน
- หลังจากเปิดแผล ควรทำแผลทุกวันจนถึงวันตัดไหม
- เปิดผ้าพันแผลวันที่ 2 หรือ 3
- ระวังพลาสเตอร์เปียกน้ำ
- อาทิตย์ที่ 2 นั่งบนหมอนนิ่มๆ ได้
- 1 อาทิตย์แรกควรพักผ่อนมากๆแต่ไม่จำเป็นต้องนอนบนเตียงตลอดเวลาโดยทั่วไปหลัง วันที่ 3 สามารถเดินหรือนั่งได้ช้าๆโดยที่จะรู้สึกเจ็บปวดอยู่บ้าง
- ประมาณ 10 วัน สามารถทำงานประจำวันได้สามารถขับรถได้
- 6 – 8 อาทิตย์ สามารถออกกำลังกายหนักๆเช่น เล่นสกี ,ขี่ม้า ,มวยปล้ำ ,จักรยานได้
- ห้ามฉีดยา ที่สะโพกเด็ดขาด โดยทั่วไปมักจะสงสัยว่ากรณี ฉุกเฉินถ้าไม่รู้สึกตัวอาจถูกฉีดยาที่สะโพกได้แต่โดยทั่วไปถ้ามีเหตุฉุกเฉิน หรือประสบอุบัติเหตุทำให้สลบเข้าโรงพยาบาล การฉีดยาส่วนใหญ่มักจะฉีดเข้าเส้นเลือดมากกว่าการฉีดยาที่ตำแหน่งอื่นๆ
- งดขับรถยนต์ 10 วัน เนื่องจากในช่วงแรกอาจนั่งไม่ถนัด
- สามารถออกกำลังกายตามปกติหลัง 4 อาทิตย์
- จะไม่รู้สึกมีสิ่งแปลกปลอมที่สะโพก 6 – 8 เดือน
- อาการปวดบริเวณสะโพกอาจมีได้ 1 – 3 เดือนแรก
หมายเหตุ
- ระยะแรกก้นที่เสริมจะดูใหญ่บวมและลอยอยู่สูง แต่หลังจาก 2 – 3 เดือนอาการบวมจะยุบลงก็จะเข้าที่มีรูปร่างที่สวยงามมากขึ้น
- หลังผ่าตัด อาจมีอาการชาบริเวณแก้มก้นอาการนี้จะดีขึ้น หลังจาก 2 – 3 เดือน
- การนั่งครั้งแรกจะตึงและรู้สึกนั่งไม่ถนัด แต่หลังจาก 2 – 3 อาทิตย์จะรู้สึกเคยชิน
- ในช่วงพักฟื้นจะรู้สึกไม่สบายเวลาเดิน ยืน หรือนั่ง ในช่วงนี้ควรทานยาแก้ปวดสม่ำเสมอและเพียงพอจะช่วยให้อาการดีขึ้น
- การเสริมสะโพกด้วยถุงซิลิโคนจะทำการเสริมระดับบนของสะโพกซึ่งไม่เป็น ตำแหน่งที่ใช้นั่ง ดังนั้นไม่ควรกังวลในเวลานั่งในครั้งแรกๆว่าจะนั่งทับถุงซิลิโคน
- ระยะเวลาพักฟื้นประมาณ 3 – 4 อาทิตย์
- ใน 48 ชม. แรกอาจช่วยลดอาการบวมโดยการประคบเย็น (บางราย)
- ในบางคนถ้าต้องการฟื้นตัวเร็วอาจทำการออกกำลังกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อ โดยการงอหัวเข่าขึ้นประมาณ 4 – 5 ครั้งต่อวันก็จะช่วยให้เดินได้ปกติเร็วขึ้น
- หลังผ่าตัดอาจทานยาคลายกล้ามเนื้อร่วมกับยาแก้ปวดก็จะช่วยให้สบายขึ้น
- ถ้ามีการดูดไขมันด้วยต้องใส่ชุดสำหรับดูดไขมันประมาณ 3 – 4 อาทิตย์
- ในวันแรกหลังผ่าตัดสามารถนั่งได้เลย แต่การนั่งนานๆเช่น นั่งดู TV ,อ่านหนังสือ ควรรอประมาณ 1 อาทิตย์
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นหลังการผ่าตัดเสริมสะโพก
- เลือดออก โดยทั่วไปหลังการผ่าตัดจะใส่สายระบายน้ำเหลืองไว้ 2 – 3 วัน ดังนั้น การเกิดเลือดคั่งจึงเกิดได้น้อย
- การติดเชื้อพบได้น้อยมาก แต่ถ้าเกิดขึ้นทั่วไปควรเอาออกแล้วถ้าต้องการทำใหม่ให้รอ 3 เดือน
- พังพืดหดรัด พบน้อยกว่าการเสริมหน้าอกมากเพราะกล้ามเนื้อสะโพกมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลาจึงมักทำให้พังพืดนิ่มเสมอ
- เส้น ประสาท การกระทบกระเทือนเส้นประสาทพบได้น้อยเพราะเส้นประสาทอยู่ในตำแหน่งที่ลึก มากๆ โดยทั่วไป อาการที่พบบ่อยคือรู้สึกร้อนหรือเย็นบริเวณแก้มก้นหรืออาจจะชาโดยทั่วไปมัก จะดีขึ้นในเวลา 2-3 เดือน