Scroll Top
59/469 พระรามที่2 ซอย 52 แสมดำ บางขุนเทียน กรุงเทพฯ
buttock lift
แก้ไขก้นหย่อนยาน

ความฝันของผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องการมีหน้าตาดี  หุ่นสวย  รูปร่างและมีบุคลิกภาพที่ดี  ให้เกิดความมั่นใจ ในอาชีพหน้าที่การงานที่ทำ หรือเพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม  เพราะบางคนหน้าตาสวย แต่ไม่มีสะโพก หรือสะโพกหย่อนคล้อย เวลาแต่งตัวสวมใส่เสื้อผ้า ก็จะทำให้ดูไม่สวยงาม

ผู้ที่มีปัญหาสะโพกหย่อนคล้อย อาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ผู้ที่เคยมีน้ำหนักเกิน  เคยอ้วน  หรือผู้ที่มีอายุมากขึ้น  ทำให้เกิดการคล้อยลงของผิวหนังตามแรงโน้มถ่วงของโลก และสาเหตุอื่นๆ เช่นการนั่งนาน  นอนนานๆ  ขาดการออกกำลังกาย จึงทำให้มีไขมันสะสม บริเวณสะโพก หรือผู้ที่เคยมีบุตรมาก่อน อาจจะมีการแตกลายของสะโพก ทำให้มองเห็นได้ชัด จึงทำให้มีรูปร่างที่ไม่สวยงาม  การผ่าตัดยกกระชับสะโพก จึงเหมาะกับบุคคลที่ต้องการสะโพกที่คล้อยมีรูปร่างดีขึ้นและสวยงาม

การผ่าตัดยกกระชับสะโพกมีข้อดีคือ จะช่วยให้บริเวณสะโพกตึง และกระชับขึ้น เพิ่มส่วนโค้งเว้าให้ร่างกายดูสมบูรณ์ มีรูปร่างที่สวยสมดุล ได้สัดส่วน  ช่วยให้มีบุคลิกภาพดีเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการสวมใส่เสื้อผ้า และไม่สวมใส่เสื้อผ้า แต่มีข้อเสียคือ การผ่าตัดจะเห็นแผลชัดเจนประมาณ 2-3 เดือน  หลังจากนั้นแผลจะค่อยๆจางลงและดีขึ้น โดยแผลมีรูปร่างตามขอบบน  ขอบล่างหรือส่วนโค้งของสะโพก

  1. มีการหย่อนคล้อยของสะโพก
  2. มีการหย่อนคล้อยเล็กน้อยบริเวณด้านข้างของสะโพก
  3. มีความแตกต่างระหว่างสะโพก 2 ข้าง
  4. แก้ไขสะโพกที่มีรูปร่างยาว
  5. ขอบล่างของสะโพกห้อยเป็น  2 ชั้น
  6. การหย่อนคล้อยเกิดจากการลดน้ำหนักมากๆ  อาจจะลดเองหรือการผ่าตัดกระเพาะอาหาร

จุดมุ่งหมายของการผ่าตัดยกกระชับก้นประกอบด้วย

  1. แก้ปัญหาก้นมีรูปร่างยาว
  2. แก้ปัญหาการหย่อนคล้อยของสะโพก
  3. แก้ปัญหาการไม่เท่ากันของก้น 2 ข้าง

เมื่ออายุมากขึ้น ผิวหนังที่บริเวณก้น จะเลื่อนลดตำแหน่งลงมา แต่ถ้าผิวหนังไม่หย่อนเกินขอบล่างของก้นก็ยังไม่นับว่ามีการหย่อยคล้อย การจะเรียกว่ามีการหย่อยคล้อย [ PTOSIS ] ของก้นจะใช้เมื่อมีผิวหนังหย่อนเกินหรือเท่ากับขอบล่างของก้น

โดยทั่วไปการหย่อนของก้นแบ่งตามความรุนแรงออกเป็น 3 ระดับ

ระดับที่  1
ผิวหนังที่หย่อนต่ำกว่าขอบล่างเล็กน้อยหรือการหย่อนอยู่ที่ระดับเดียวกับขอบล่าง
  • การผ่าตัดเสริมสะโพก มักจะเพียงพอ มักไม่ต้องผ่าตัดยกกระชับด้านบน
  • อาจทำการยกกระชับขอบล่างในบางรายถ้าหลังจากเสริมสะโพกใน 3 – 6 เดือนแล้ว ยังดูไม่ดี
ระดับที่ 2
การหย่อนของผิวหนังเห็นได้ชัดเจนเป็นมุมที่หย่อนเห็นได้ชัด(10 องศา–30 องศา)

ในกลุ่มนี้มักเห็นการหย่อนของส่วนล่างของสะโพกชัดเจน ผิวหนังจะมีความยืดหยุ่นลดลงชัดเจน และมีการแตกลายที่บริเวณก้น

  • การผ่าตัดในกลุ่มนี้มักใช้การเสริมสะโพกแต่ยกกระชับบริเวณขอบล่าง
  • ในรายที่มีรอยแตก บริเวณด้านข้างตำแหน่งกลางและล่างของสะโพก อาจจะทำการยกกระชับด้านบนด้วย
ระดับที่ 3
การหย่อนมาก การหย่อนเห็นเป็นมุมลงมาใต้ขอบล่างของก้นชัดเจน (เกิน 30 องศา)

จะสังเกตการหย่อนตั้งแต่กึ่งกลางของสะโพกผิวหนังมีรอยย่นในตำแหน่งล่างของสะโพก ผิวหนังมีความยืดหยุ่นลดลงมาก และเป็นรอยแตกได้บ่อย

  • ในกลุ่มนี้อาจต้องทำการผ่าตัดยกสะโพกด้านบน, ยกสะโพกด้านล่างหรืออาจต้องเสริมสะโพกร่วมด้วย
แนวทางการเลือกเทคนิคเป็นเพียงข้อเสนอคร่าวๆ การตัดสินใจอาจต้องนัดปรึกษาเป็นรายๆไปหรือต้องคำนึงถึงความต้องการและแผลเป็น

การปรึกษาก่อนผ่าตัดแก้ไขก้นหย่อนยาน

การผ่าตัดยกกระชับสะโพก  ในการผ่าตัดมีหลายเทคนิคและมีแผลเป็นแตกต่างกันออกไป จึงมีความสำคัญมากในการปรึกษาก่อนการผ่าตัด การปรึกษาคุณหมอก่อนการผ่าตัด คุณหมอจะแนะนำเทคนิคการผ่าตัดและรายละเอียดต่างๆ รวมทั้งพิจารณาและประเมินจากร่างกายทั้ง รูปร่าง ขนาดและความหย่อนคล้อยของสะโพก รวมถึงซักประวัติโรคประจำตัว ยาที่ทานประจำต่อเนื่อง  ประวัติเคยแพ้ยา และประวัติที่เคยผ่าตัดมาก่อน  ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการปรึกษาก่อนผ่าตัด

  1. วางแผนเทคนิคการผ่าตัด โดยประเมินจากร่างกาย รูปร่าง ขนาดและความหย่อนคล้อยของสะโพก
  2. แผลเป็นเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทราบเพราะแต่ละเทคนิค มีแผลเป็นที่ต่างกัน  บางครั้งอาจรับแผลเป็นบางตำแหน่งไม่ได้ เช่นแผลจากการยกกระชับด้านบน เหมาะสำหรับผู้ที่มีสะโพกหย่อนคล้อยมากๆ  การยกกระชับด้านบน เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ถ้าจะให้ได้ผลดี
  3. ระหว่างปรึกษาต้องวาดรูปผิวหนังที่จะตัดออก และแผลเป็นที่จะเกิดในที่สุด
  4. ควรบอกแพทย์เรื่องเสื้อผ้าที่ใส่บ่อยๆ รวมทั้งชุดว่ายน้ำ เนื่องจากแผลเป็น บางอย่างอาจมองเห็นชัดและแผลจะออกมานอกชุดว่ายน้ำที่เว้ามากๆ  หรือบางคนชอบใส่กางเกงในแบบ G-STING อาจไม่สามารถปกปิดแผลเป็นด้านบนได้ ถ้าไม่แน่ใจควรเตรียมชุดว่ายน้ำหรือเสื้อผ้าที่เราใส่ประจำมาลองสวม หลังจากวาดรูปเสร็จแล้ว ในวันที่ปรึกาก่อนผ่าตัด
  5. ตรวจดูจากขอบล่างของสะโพกมีผิวหนังที่เกินกว่ากันหรือไม่ ถ้าไม่เท่ากัน การผ่าตัดอาจยกกระชับแต่ละข้างไม่เท่ากันเพื่อให้หลังผ่าตัด มีความใกล้เคียงกันมากขึ้น
  6. แจ้งแพทย์เกี่ยวกับโรคประจำตัวโดย เฉพาะโรคกระดูกและข้อ หรือทางเดินหายใจเพราะบางครั้งอาจต้องนอนคว่ำหลังผ่าตัดไม่สามารถนอนหงายได้
  7. ในวันผ่าตัด ควรมาถึงโรงพยาบาลก่อนการผ่าตัด อย่างน้อย 4 ชม.เนื่องจากคุณหมอต้องทำการวาดรูปและวางแผนก่อนการผ่าตัด

เทคนิคการผ่าตัดแก้ไขก้นหย่อนยาน

การยกกระชับสะโพก อาจต้องอาศัยเทคนิคหลายเทคนิคผสมผสานกัน เช่น การยกกระชับด้านบนและด้านล่างหรือการยกกระชับด้านล่างร่วมกับการเสริมสะโพก

1. การยกกระชับด้านบน [UPPER LIFT]

  • ใช้ในกรณีที่มีการหย่อนคล้อยของสะโพกมากๆหรือในกรณีที่มีการหย่อนทางด้านข้าง

 

2. การยกสะโพกด้านล่าง [LOWER BUTTOCK LIFT]

  • การแก้ปัญหาก้นหรือสะโพกที่ยาว
  • แก้ความแตกต่างของก้นซ้ายกับขวา
  • แก้ปัญหาของส่วนสะโพกที่เป็น 2 ชั้น [DOUBLE FOLD]
  • แก้ปัญหาการหย่อนคล้อยระดับปานกลางโดยการสร้างขอบล่างของก้นใหม่

 

3. การยกสะโพกด้านใน [MEDIAL LIFT]

  • เป็นเทคนิคที่พยายามซ่อนแผลเป็นไว้ในร่องก้น
  • ใช้กับกรณีที่มีผิวหนังเกินไม่มาก
  • ทำร่วมกับเทคนิคที่ 2 ในกรณีการหย่อนยานมาก
  • ใช้กรณีที่มีการหย่อนยานน้อยแต่ไม่ต้องการมีแผลเป็นที่ขอบล่างของสะโพก

 

4. การยกสะโพกด้านข้าง [LATERAL LIFT]

  • ใช้กับก้นหย่อนด้านข้างเล็กน้อย
  • เป็นเทคนิคที่ใช้ไม่บ่อยเพราะจะเป็นแผลด้านข้างได้ชัด
  • ใช้ในกรณีที่การหย่อนของสะโพกมากและมีการหย่อนของด้านข้างด้วย

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดแก้ไขก้นหย่อนยาน

  1. งดยาต้านการอักเสบ[ NSAID ] เช่น แอสไพริน อาหารเสริมบางตัวที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด
    เช่น กระเทียม อย่างน้อย  2 สัปดาห์
  2. เตรียมลาหยุดงานประมาณ 10-14 วัน
  3. ตรวจร่างกายตามโปรแกรมที่โรงพยาบาลกำหนดก่อนผ่าตัด
  4. งดน้ำ งดอาหาร ก่อนผ่าตัดประมาณ 6 ชั่วโมง
  5. เตรียมโกนขนที่หัวเหน่าก่อนมาโรงพยาบาล
  6. ควรหลีกเลี่ยงการผ่าตัดช่วงมีประจำเดือน
  7. ถ้าความดันสูงควรควบคุมความดันให้อยู่ต่ำกว่า 140/90 mm hg ( มิลลิเมตร ปรอท ) เนื่องจากการผ่าตัดทำให้เสียเลือดบางส่วน
  8. ไม่ควรนำของมีค่าติดตัวมาในวันผ่าตัด
  9. ยาแก้ปวดกลุ่มอื่น พาราเซตามอล ไทรินอล สามารถทานได้
  10. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือโรคความดันสูง ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวว่าสามารถผ่าตัดได้หรือไม่
  11. ถ้ามีบาดแผลบริเวณแขน ข้อศอก หัวเข่า หรือบริเวณส่วนหน้าของร่างกาย เช่น หน้าอก หน้าท้อง ต้องรอให้แผลหายดีก่อน
  12. หลังผ่าตัดอย่างน้อย 14 วัน ควรมีญาติขับรถรับ-ส่ง เนื่องจากในช่วงระยะแรก อาจนั่งขับรถไม่ถนัด
  13. ในวันผ่าตัดมีอาการท้องเสีย ควรงดผ่าตัดไปก่อน เพราะหลังผ่าตัด จะนั่งถ่ายลำบาก นอกจากนั้นอาจจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อของแผลได้
  14. หลังผ่าตัดต้องนอนคว่ำ ดังนั้นการเสริมสะโพกควรทำหลังการผ่าตัดอื่นๆ เช่น การเสริมหน้าอก การตัดไขมัน ประมาณ 2 สัปดาห์ ขึ้นไป
  15. งดสูบบุหรี่  แอลกอฮอร์  วิตามิน  คอลลาเจน  อย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก่อนผ่าตัด
  16. หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟหรืออาหารที่ทำให้เสี่ยงต่อการท้องเสีย อย่างน้อย 2 วัน
  17. เตรียมของใช้ภายในบ้านเพื่อให้หยิบใช้สอยได้ง่าย ในช่วงเวลาพักฟื้น เช่น โทรศัพท์  รีโมตทีวี
  18. วันผ่าตัดอาบน้ำให้สะอาดในตอนเช้า และสวมใส่เสื้อผ้าหลวมๆ
  19. ถ้ามียาที่ต้องทานประจำให้ทานได้ในวันผ่าตัด

ขั้นตอนการผ่าตัดแก้ไขก้นหย่อนยาน

  1. การผ่าตัดอาจใช้การดมยาสลบ หรือฉีดยาชา การฉีดยาชาทำให้เฉพาะกรณี ผ่าตัดยกสะโพกด้านล่าง สำหรับการผ่าตัด วิธีอื่นต้องใช้การดมยาสลบหรือฉีดยาชาที่หลัง
  2. ใส่สายสวนปัสสาวะ เพื่อสะดวกในการดูแลหลังผ่าตัด
  3. การผ่าตัดทั่วไปนอนคว่ำ ยกเว้นการผ่าตัดยกก้นด้านข้างๆ
  4. ตัดผิวหนังและไขมันออก ตกแต่งสะโพกจนได้รูปร่างที่ต้องการโดยทั่วไป แผลเป็นจะมีที่บริเวณขอบของแก้มก้น อาจเป็นขอบล่างขอบบนหรือขอบด้านใน
  5. ใส่สายระบายน้ำเหลือง
  6. เย็บปิดแผล
  7. การผ่าตัด ใช้เวลา 2 – 5 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับเทคนิคที่เลือกใช้

การดูแลหลังการผ่าตัดแก้ไขก้นหย่อนยาน

  1. หลังผ่าตัดพักฟื้นที่โรงพยาบาล อย่างน้อย 1-2 วัน ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์
  2. แพทย์จะถอดสายสวนปัสสาวะออก หลังผ่าตัด 1 วัน
  3. วันแรกหลังผ่าตัดควรนอนพักผ่อนมากๆ ในท่านอนคว่ำ
  4. ในวันที่ 1-2 หลังผ่าตัด พยายามออกกำลังกายขา โดยยกขาขึ้นลง เป็นเวลา 10 นาที เพื่อเพิ่มการไหลเวียนโลหิตไปที่ขา
  5. ดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และกาแฟ เนี่องจากทำให้ลำไส้บีบตัวบ่อย เกิดอาการปวดท้อง หรือทำหรือทำให้ท้องเสียได้
  6. วันที่ 2 จะสามารถเดินได้ปกติ และสามารถกลับบ้านได้
  7. วันที่ 3 สามารถอาบน้ำได้และซับแผลให้แห้ง
  8. พยายามนอนคว่ำประมาณ 7 วัน เพื่อไม่ให้กดทับบริเวณแผลผ่าตัด อาจนอนตะแคงได้บ้าง
  9. แผลผ่าตัดจะเห็นชัดในช่วงแรก และจะดีขึ้นตามลำดับภายใน 2-3 เดือน
  10. แผลเป็นอาจนูนได้ อาจต้องช่วยนวดบริเวณแผลผ่าตัด
  11. งดกิจกรรมที่ต้องมีการก้มตัวมากๆ และงดการยกของหนักประมาณ 10 วัน
  12. ถ้าใส่ผ้ารัดสะโพก ควรรัดให้อยู่ในท่าที่สบาย ผ้ารัดควรจะแน่น แต่ไม่ตึงมาก ขณะที่นอนพักหรือนั่งสามารถ คลายผ้าให้หลวมได้ ผ้ารัดสะโพก อาจจะต้องใช้ต่อ 2-3สัปดาห์ หรือประมาณ 1 สัปดาห์ หลังถอดสายระบายน้ำเหลืองออก
  13. หลีกเลี่ยงการทำงานหนักหรือออกกำลังกายรุนแรง 4 สัปดาห์
  14. ถ้าคันบริเวณสะโพก สามารถทาแป้งแก้คันได้ แต่ห้ามทาที่แผล
  15. รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ถ้ามีความผิดปกติดังนี้ ติดต่อแพทย์ทันที
    A. ปวดแผลมากหรือคลื่นไส้มาก ทานยาแล้วไม่ดีขึ้น
    B. เลือดหรือน้ำเหลืองออกมากผิดปกติ
    C. ไม่สามารถปัสสาวะได้
  16. ถ้ามีน้ำเหลืองออกมาก สามารถทำแผลเปลี่ยนผ้าก๊อสปิดแผลได้
  17. วันที่ 3 หลังผ่าตัด อาการปวดมักจะดีขึ้น
  18. ในการผ่าตัดบางเทคนิคจะมีน้ำเหลืองออกมากหลังการผ่าตัด จำเป็นต้องใส่สายระบายน้ำเหลืองต่อ อาจจำเป็นต้องใส่สายระบายน้ำเหลืองกลับบ้านแล้วมาถอดออกในวันหลัง
  19. รับประทานอาหารได้ตามปกติ ควรงดอาหารที่เกี่ยวกับนมทุกชนิด
  20. หลังผ่าตัด 10-14 วัน คุณหมอจะนัดตัดไหม และให้ปิดซิลิโคน ประมาณ 4 สัปดาห์
  21. งดขับรถประมาณ 1 อาทิตย์ และงดการขับรถถ้ายังต้องทานยาแก้ปวด ที่ทำให้มีอาการง่วงซึม
  22. หลังการผ่าตัดจะนัดดูแผลที่สะโพก ถ้ามีปัญหาเรื่องแผลเป็นนูน แนะนำให้ใช้แผ่นปิดแผลเป็น สามารถช่วยให้ดีขึ้นได้ แต่อาจต้องฉีดยารักษาแผล อาจจะช่วยได้ดียิ่งขึ้น
Privacy Preferences
When you visit our website, it may store information through your browser from specific services, usually in form of cookies. Here you can change your privacy preferences. Please note that blocking some types of cookies may impact your experience on our website and the services we offer.