ไขข้อสงสัย ทำไม! ศัลยกรรมผ่าตัด ต้องมี วิสัญญีแพทย์
หลายๆคนอาจจะเคยเห็นข่าวการเสียชีวิตจากการได้รับยาสลบที่ไม่ได้มาตรฐาน จนทำให้เกิดความรู้สึกกลัวในการทำศัลยกรรมและการดมยาหรืออาจจะกลัวการผ่าตัดไปเลย แต่ในความเป็นจริงสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่ไม่มีการตรวจสภาพร่างกายและตรวจความพร้อมของคนไข้ รวมถึงคนไข้มีอาการอื่นๆร่วมด้วยเช่น มีการเสียเลือดมาก หรือมีโรคประจำตัวร้ายแรง เครื่องมือแพทย์ไม่พร้อม แพทย์ไม่มีความเชี่ยวชาญ และไม่มีวิสัญญีแพทย์ดูแลในระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัด
“เมื่อได้รับยาสลบไปแล้ว คนไข้จะหลับลึก เมื่อคนไข้หลับลึกจะไม่สามารถหายใจเองได้ ต้องหายใจผ่านเครื่องช่วยหายใจ”
ด้วยเหตุนี้เองทำให้ต้องมี “วิสัญญีแพทย์” คอยดูสัญญาณชีพขณะผ่าตัดอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่าคนไข้จะได้รับปริมาณออกซิเจนอย่างเพียงพอตลอดระยะเวลาการผ่าตัด
คนไข้ต้องปรึกษาและแจ้งประวัติทางการแพทย์ เพื่อวางแผนการผ่าตัดให้เหมาะสมโดยแพทย์อาจซักถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยและปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เพื่อลดความเสี่ยงจากผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายจากการใช้ยาสลบ
สิ่งที่ควรแจ้งกับแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดมีดังต่อไปนี้
- คนไข้เคยมีประวัติแพ้ยาสลบ หรือ มีประวัติคนในครอบครัวเคยแพ้ยาสลบหรือไม่ ประวัติการดมยาสลบในอดีต
- ตรวจร่างกายและยื่นใบรับรองแพทย์ให้แพทย์ผู้ผ่าตัด การตรวจร่างกายจะประเมินความเสี่ยงหลักๆคือ
- เจาะเลือด เพื่อตรวจสภาวะความพร้อมของเลือด และความผิดปกติต่างๆของเม็ดเลือด
- เอกซ์เรย์ปอด เพื่อเช็คภาวะผิดปกติของปอด เพราะอาจเสียชีวิตจากเรื่องปอดได้
- โรคประจำตัวต่างๆ เพราะการได้รับยาสลบอาจกระตุ้นโรคประจำตัวให้กำเริบและรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
- มีประวัติการเจ็บป่วย กำลังป่วย หรือกำลังใช้ยาชนิดใดอยู่
- กำลังตั้งครรภ์อยู่หรือไม่
- หากอายุมากกว่า 30 ควรตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เช็คความแข็งแรงของหัวใจ
- สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์หรือไม่ มากน้อยหรือบ่อยเพียงใด
การปฎิบัติตัวของคนไข้ก่อนเข้ารับการผ่าตัด เป็นส่วนนึงที่ช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดผลข้างเคียง
ก่อนเข้ารับการผ่าตัดปฎิบัติตัวอย่างไร
- คืนก่อนผ่าตัด ควรนอนหลับให้เพียงพอ
- งดน้ำ และอาหารทุกชนิด 6-8 ชั่วโมง
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด งดสูบบุหรี่ อย่างน้อย 7 วันก่อนผ่าตัด เพื่อลดเสมหะ ลดการไอ
- ถอดเครื่องประดับทุกชนิด และคอนแทคเลนส์
- ชำระร่างกายให้สะอาด อาบน้ำสระผม ไม่ทาปาก ไม่ทาเล็บ
- ถอดฟันปลอม หากฟันปลอมถอดไม่ได้ ฟันผุ ฟันโยก ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ
- หากคนไข้มีอาการไข้หวัด ไอ หรือมีน้ำมูก ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์อาจจะต้องเลื่อนการผ่าตัด เพราะอาการดังกล่าวจะเพิ่มความเสี่ยงในการได้รับยาสลบ และมีโอกาสปอดอักเสบมากขึ้น ต้องรอให้ร่างกายคนไข้แข็งแรงดี จึงจะสามารถทำการผ่าตัดได้
ขั้นตอนการวางยาสลบ
ในวันผ่าตัด วิสัญญีแพทย์จะวางยาสลบคนไข้ด้วยวิธีการดังนี้
- วิสัญญีแพทย์จะฉีดยาสลบเข้าสู่กระแสเลือดหลังได้รับยาสลบเข้าสู่ร่างกายยาจะออกฤทธิ์อย่างรวดเร็วคนไข้จะเริ่มวิงเวียนศีรษะ รู้สึกง่วง หลังจากที่คนไข้ไม่รู้สึกตัววิสัญญีแพทย์จะให้คนไข้สูดดมยาในรูปแบบก๊าซและหายใจผ่านหน้ากากครอบและจะใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อให้คนไข้หายใจสม่ำเสมอในระหว่างผ่าตัด
- แพทย์จึงจะเริ่มทำการผ่าตัด โดยในระหว่างที่แพทย์ทำการผ่าตัด วิสัญญีแพทย์จะคอยอยู่ควบคุมดูแลอาการคนไข้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่าให้คนไข้ได้รับยาสลบอย่างต่อเนื่อง และจะไม่รู้สึกตัวตื่นขึ้นมาในระหว่างการผ่าตัด จะมีการวัดสัญญาณชีพ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ และความดันป็นระยะ เพื่อให้แน่ใจว่าคนไข้มีความปลอดภัยในระหว่างการผ่าตัด
- หลังผ่าตัดเมื่อหยุดให้ยาสลบ คนไข้จะรู้สึกตัวตื่นขึ้นมาในห้องผ่าตัดเมื่อคนไข้หายใจได้เองแล้วจะย้ายไปที่ห้องพักฟื้น
- ในขณะพักฟื้นรักษาตัว คนไข้จะได้รับการดูแลและแพทย์จะติดตามดูอาการคนไข้ต้องรับประทานยาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
ผลข้างเคียงหลังผ่าตัดด้วยยาสลบ หลังผ่าตัดอาจจะมีอาการ คอแห้ง กระหายน้ำ เสียงแหบ เนื่องจากเข้ารับการดมยาสลบเป็นระยะเวลานาน อาการนี้จะหายไปเองในหลังผ่าตัด 24-48 ชั่วโมง
ฉีดยาชากับดมยาสลบ เลือกเทคนิคไหนดี?
หากจะให้แนะนำ “การดมยาสลบ” คนไข้จะไม่รู้สึกตัวในระหว่างผ่าตัดไม่ต้องรับรู้ต่อเหตุการณ์ต่างๆในห้องผ่าตัดไม่ว่าจะลงมีดกรีดหรือแพทย์ผ่าตัดกับร่างกาย และไม่รู้สึกเจ็บ เหมาะกับศัลยกรรมใหญ่ที่ใช้ระยะเวลาการผ่าตัดและต้องเสียเลือดมาก แต่การ “ฉีดยาชา” จะฉีดเฉพาะจุด เฉพาะบริเวณที่ผ่าตัดซึ่งจะเหมาะกับศัลยกรรมเล็ก เช่น ตา จมูก ปาก สุดท้ายการผ่าตัดเทคนิคไหนปัจจุบันเราสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ยาชาหรือยาสลบ ทั้งนี้ต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์พิจารณาว่าควรผ่าตัดด้วยเทคนิคใด
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
โปรโมชั่นทั้งหมด : bcsclinic.com/promotion/
Facebook : facebook.com/BCSclinic
Line : บางกอกศัลยกรรม